วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นตรี วิชา เรียงความกระทู้ธรรม

วิชา เรียงความกระทู้ธรรม
นักธรรมศึกษาชั้นตรี

ความสำคัญของวิชาเรียงความ
            ส่งเสริมความเจริญทางด้านจินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของผู้เรียน
            . ทำให้ผู้เรียนรู้จักลำดับความคิด สามารถถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดของตนออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจตามต้องการได้
            . รู้จักเลือกถ้อยคำสำนวนโวหารสำนวนได้ถูกต้องตามหลักภาษา
          . ส่งเสริมให้ผู้เรียนเขียนได้ถูกต้องตามแบบที่นิยม
ประโยชน์ของการเรียนกระทู้ธรรม
            . ทำให้ผู้เรียนเกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของธรรม
            . ทำให้ผู้ เรียนได้เข้าใจถึงผลเสีย  กล่าวคือคุณและโทษของการปฏิบัติตามและไม่ ปฏิบัติตามธรรมะ
            . ให้เข้าใจในชีวิตและรู้จักแสวงหาความสุขโดยมีธรรมะเป็นเครื่องชี้แนวทาง
            . ช่วยพัฒนาด้านจิตใจของมนุษย์ให้รู้จักผิดชอบชั่วดี ละความชั่วประกอบความดี โดยพยายามงดเว้นความชั่วโดยเด็ดขาด

หลักเกณฑ์ในการแต่งกระทู้ธรรม
            มีหลักสำคัญในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม อยู่ ๓ ประการด้วยกัน คือ
            . ตีความหมาย
            . ขยายความให้ชัดเจน
            . ตั้งเกณฑ์อธิบาย
            ตีความหมาย ได้แก่การให้คำจำกัดความของธรรมนั้น ว่ามีความหมายอย่างไรเช่นพุทธภาษิตที่ว่า กลฺ- ยาณการี  กลฺยาณํ  ปาปการี  จ  ปาปกํ  ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่วดังนี้ ก็ให้คำจำกัดความคำว่า กรรมดี คืออะไร กรรมชั่วคืออะไร ในที่นี้กรรมดีหมายเอากุศลกรรมบถ  กรรมชั่วหมายถึง อกุศลกรรมบถ ฯลฯ
            ขยายความให้ชัดเจน ได้แก่การขยายเนื้อความของคำซึ่งได้ให้ความหมายไว้แล้ว คือกุศลกรรมบถ และ อกุศลกรรมบถ ว่ามีอย่างเท่าไร (อย่างละ ๑๐ ประการ) เป็นต้น
            ตั้งเกณฑ์อธิบาย  ได้แก่การวางโครงร่างที่จะอธิบายเนื้อความของเนื้อหาว่ามีอะไรบ้าง มีผลดีผลเสียอย่างไร มีข้อเปรียบเทียบหรือมีตัวอย่างมาประกอบให้เห็นเด่นชัดได้หรือไม่ และควรจะนับถึงผลกรรมนั้น ๆ อย่างไร จึงจะทำให้ผู้อ่านผู้ฟังคล้อยตาม โดยเรียงเป็นลำดับขั้นตอนก่อนหลัง ไม่สับสนวกไปวนมา
หลักเกณฑ์สำคัญในการอธิบาย ๓ ประการ คือ
            . คำนำ 
            . เนื้อเรื่อง
            . คำลงท้าย (สรุป)
            คำนำ   เป็นการอารัมภบทพจนคาถาที่เป็นบทตั้ง (กระทู้ หรือที่เรียกว่า อุเทศ) เพื่อเป็นบทนำในการเรียงความ (คำนำของการเรียงความแก้กระทู้ธรรม  ควรเขียนประมาณ 2-3 บรรทัด)
            เนื้อเรื่อง  เป็นการขยายเนื้อความของกระทู้ที่ตั้งไว้  เรียกว่าแก้  หรือเรียกว่า นิเทศ การนิเทศ หรือขยายความเนื้อเรื่องนั้นจะต้องให้รสชาติเนื้อหาสาระแก่ผู้ อ่าน ให้ผู้อ่านเข้าใจในสิ่งที่เราจะอธิบาย ไม่ทำให้ผู้อ่านสับสนไขว้เขว (ควรเขียนอธิบายให้ได้ประมาณ 10 - 15 บรรทัด) แล้วจึงนำเอาภาษิตมาเชื่อม หรืออ้างภาษิตมาเพื่อสนับสนุน เรียกว่า กระทู้รับ  โดยนักธรรมศึกษาชั้นตรี   มีข้อกำหนดให้นำ ภาษิตมาเสื่อมรับได้อย่างน้อย ๑ ภาษิต  ภาษิตที่นำมาอ้างสนับสนุนห้ามไม่ให้ซ้ำกัน แต่จะซ้ำที่มาได้  แล้วอธิบายภาษิตที่ยกมาสนับสนุนให้เนื้อความกลมกลืนกัน (เขียนอธิบายประมาณ 5 - 7 บรรทัด  กำลังพอดี)
            คำลงท้าย หรือ บทสรุป หรือ เรียกว่าปฏินิเทศ หมายถึงการรวบรวมใจความที่สำคัญของเนื้อหาที่ได้อธิบายมาแล้ว   สรุปลงอย่างย่อ ๆ ให้ได้ใจความ ให้ผู้อ่านเกิดความซาบซึ้งและรู้สึกว่าเรียงความที่อ่านมีคุณค่าน่าเชื่อถือ น่าปฏิบัติตาม เกิดศรัทธาในความคิดของผู้เขียน (สรุปความ ควรเขียนประมาณ 5 -7 บรรทัด)

วิธีการแต่งกระทู้ธรรม
มีการแต่งกระทู้ธรรมอยู่ ๒ แบบ คือ
            . แบบตั้งวง คืออธิบายความหมายของธรรมข้อนั้น ๆ เสียก่อนแล้วจึงขยายความออกไป
            .แบบตีวง คือบรรยายเนื้อความไปก่อนแล้ว จึงวกเข้าหาความหมายของกระทู้ธรรมนั้น ส่วนมากผู้แต่งกระทู้ธรรม มักจะนิยมแต่งแบบที่๑ คือ แบบตั้งวง อธิบายความหมายภาษิตนั้นก่อนแล้วจึงขยายความให้ชัดเจนต่อไป.
ภาษาในการใช้
            . ใช้ภาษาเขียนที่ถูกต้อง  มีประธาน มีกริยา มีกรรม
            . ไม่ใช้ภาษาตลาด ภาษาแสลง
            . ไม่ใช้ภาษาพื้นเมือง หรือภาษาท้องถิ่น
            . ไม่ใช้ภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
สำนวนในการพรรณนา
            ใช้สำนวนแบบเทศนาโวหาร มีหลักการเขียน ดังนี้
            . ข้อความที่เขียนนั้นจะต้องมีเหตุผลใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงได้
            . มีอุทาหรณ์และหลักคติธรรม
            . ผู้เขียนจะต้องแสดงให้เห็นว่า ตนมีลักษณะและคุณสมบัติพอเป็นที่เชื่อถือได้
หมายเหตุ : โวหารมี ๔ คือ
. พรรณนาโวหาร  ได้แก่ การพรรณนาความ คือ เล่าเรื่องที่ได้เห็นมาแล้วด้วยความมุ่งหวังให้ไพเราะ  เพลิดเพลินบันเทิง 
. บรรยายโวหาร  ได้แก่  การอธิบายข้อความที่ย่อซึ่งยังเคลือบแคลงอยู่ให้แจ่มแจ้งหรือพิสดาร 
. เทศนาโวหาร  ได้แก่  การแต่งทำนองการสอน คือ ชี้แจงหลักธรรมนั้น 
. สาธกโวหาร  ได้แก่ การบรรยายข้อเปรียบเทียบ คือ  นำข้ออุปมาอุปไมยมาเทียบเคียง
หลักย่อ ๆ ที่ควรจำ เป็นเกณฑ์อธิบายในการแต่งกระทู้
            . วิเคราะห์ศัพท์  คือ  การแสดงความหมายของกระทู้ตั้งแล้ววางเค้าโครงที่จะแต่งต่อไป
            . ขยายความ  คือ  การอธิบายให้กว้างออกไปตามแนวกระทู้ตามเหตุและผล
            . เปรียบเทียบ  คือ  ยกข้อความที่ตรงข้ามกันมาเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นได้ชัดในสิ่งที่พูดไป
            . ยกสุภาษิตรับ  คือ การนำกระทู้สุภาษิตมารับมาอ้าง
            . ยกตัวอย่าง  คือ  ยกตัวอย่างธรรมะ หรือบุคคล สถานที่มาเป็นตัวอย่าง
            . สรุปความ  คือ  ย่อความที่กล่าวมาแล้วนั้นให้เข้าใจง่าย ก่อนที่จะจบกระทู้
  

ตัวอย่างการวางรูปแบบเรียงความแก้กระทู้ธรรม

            ........................................................ (ภาษิตภาษาบาลี)
              ........................................................ (คำแปลภาษาไทย)
            (คำนำ)   บัดนี้   จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ เป็นลำดับไป
            (อธิบายเนื้อความ)..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................……………………………
สมด้วยธรรมสุภาษิตที่มาใน............................................................................ ความว่า
..............................................................(ภาษิตที่ยกมาอ้าง)
.............................................................. (คำแปล)
            (อธิบายเนื้อความ)..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
            (สรุปความ) .............................................................................................................................
........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................ สมดังประพันธ์ธรรมสุภาษิตที่ได้ยกมาเป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้น ว่า(ยกภาษิตที่กล่าวเบื้องต้นมากล่าวอีกครั้ง).................................. ............................................................................  ดังมีอรรถาธิบายมา  ด้วยประการฉะนี้.



ตัวอย่าง เรียงความแก้กระทู้ธรรม
นักธรรมศึกษาชั้นตรี

วิริเยน  ทุกฺขมจฺเจติ
คนจะล่วงทุกข์ได้       เพราะความเพียร
            บัดนี้   จักได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้  ณ  เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและปฏิบัติ เป็นลำดับไป
            คำว่า  ทุกข์  คือสภาพที่บีบคั้นเบียดเบียน มีความลำบาก ไม่สบายกาย ไม่สบายใจ มีความคับบแคบใจ  อันมีเหตุมาจากความไม่สมปรารถนา ไม่ได้ดังใจ ได้สิ่งของบางอย่างมาแล้วไม่ถูกใจ ตลอดถึงการพลัดพรากจากของรักของชอบใจ  เป็นเหตุแห่งความทุกข์เป็นความลำบาก   กล่าวโดยที่สุดพระพุทธเจ้าตรัสว่า สังขารร่างกายนี้ก็เป็นทุกข์  ฉะนั้น พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า    ความทุกข์เป็นความจริง  เป็นทุกข์อริสัจ  ความทุกข์นี้มีมาประจำกับตัวเราแล้วตั้งแต่เกิด มีความลำบากในการที่จะหาเลี้ยงชีพ ทั้งตัวเองและคนอื่น แม้การศึกษาเล่าเรียนของเรานี้ ก็เหมือนกัน  เป็นความทุกข์ เป็นความลำบาก แต่พระพุทธเจ้าได้ทรงเทศนาสั่งสอนให้พวกเรามองให้เห็นความทุกข์  และก็ให้ยอมรับว่ามันมีอยู่จริง  ไม่ให้จมปรักอยู่มัน   ไม่ให้เศร้าโศกและเสียใจกับสิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์   พระพุทธองค์ทรงสอน  หาทางหนีจากความทุกข์  หาทางแก้ทุกข์  เพื่อที่จะให้มีความทุกข์น้อยลง ให้มีความสุขตามปกติที่ใจมุ่งหวัง ในการที่จะหนี้จากความทุกข์ หาทางแก้ทุกข์นั้นพระองค์ก็ทรงสอนให้มีความเพียรก็คือ    ประการแรก เพียรพยายามไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่เรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่เป็นอุปสรรคแก่ความสุขของเรา  ประการที่สามเพียรพยายามทำสิ่งที่ดีเป็นประโยชน์แก่เรา และประการที่สี่เพียรพยายามความดีสิ่งที่ดีทีมีอยู่ในตัวของเราแล้วให้คงอยู่ต่อไป  นี้คือทางที่จะแก้ความทุกข์   ทางที่จะพ้นจากความทุกข์  ความเพียรสี่ประการนี้เป็นสิ่งที่คนเรามนุษย์สามารถที่จะทำได้ เพราะว่ามนุษย์เป็นผู้มีความคิดมีสติปัญญาเฉลียวฉลาดกว่าสัตว์เหล่าอื่น    สมดังพระพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย ธัมมปทคาถาว่า
ทนฺโต     เสฏฺโฐ    มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์  ผู้ฝึกตนได้แล้ว  เป็นผู้ประเสริฐ
            แสดงว่า มนุษย์เรานี้  เป็นผู้ฝึกฝนตนเองได้ ด้วยความเพียรพยายามของตัวเขาเองในการศึกษาเล่าเรียนของเรานี้ก็เช่นกัน  กว่าที่เราจะจบมาได้แต่ละชั้นก็มีความยากลำบาก และยิ่งในการที่เราจบมีเกรดที่ดีแล้วไม่ใช่เรื่องง่าย  เราต้องใช้ความเพียรพยายามฝึกฝนต้นเองหมั่นศึกษาค้นคว้า  ละสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเรา  เอาใจใส่ในงานที่ครูอาจารย์มอบหมายให้  ไม่เกียจคร้าน  เมื่อเราหมั่นขยันอดทนฝึกฝนอยู่อย่างนี้   ก็จะเห็นได้ว่าความยากลำบากเหล่านั้นไม่ใช่เรื่องยาก  เราก็จะได้รับผลสำเร็จในการศึกษา  และภาคภูมิใจในตัวของเรา  ไม่เฉพาะตัวเราแม้คนอื่นก็จะยกย่องสรรเสริญว่าเป็นเด็กดี หรือเป็นผู้ประเสริฐ  ถ้าหากขาดการฝึกฝนแล้วไซร้ จะกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลผู้ประเสริฐก็หาไม่ จะเป็นคนดีได้อย่างไร

            สรุปความว่า  ความทุกข์ ความลำบากของมนุษย์ต่าง  ๆ นานา ของคนเรานั้นเป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถจะเอาชนะได้ สามารถบรรลุความสุข ผ่านความทุกข์นั้นได้  ก็เพราะความเพียร ดังที่กล่าวมาว่า ประการแรกเพียรสังวรระวังไม่ให้สิ่งที่ไม่ดีเกิดขึ้นแก่ตัวเรา ประการที่สองเพียรละสิ่งที่ไม่ดีนั้น ประการที่สามเพียรสั่งสมความดีหรือสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ตัวเรา  และประการที่สี่เพียรรักษาความดีนั้นไว้ให้อยู่กับตัวเรานาน ๆ เมื่อฝึกตนเองได้แล้วก็จะเป็นคนที่มีแต่สวัสดีภาพ เป็นผู้ประเสริฐ สมดังนัยพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้  ณ เบื้องต้นนั้นว่า   วิริเยน  ทุกฺขมจฺ เจติ คนจะล่วงทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร ดังมีอรรถาธิบายมาแล้ว  เอวํ  ก็มีด้วยประการ ฉะนี้.








18 ความคิดเห็น:

  1. เข้าใจง่ายดีครับ

    ตอบลบ
  2. อันนี่ใช่ ขุ.ธ.ไหมค่ะ

    ตอบลบ
  3. ขอบพระคุณค่ะ กระจ่างมากค่ะ

    ตอบลบ
  4. ขอบมากๆครับตอนผมกำลังจะเรียนพระธรรมชั้นตรีผมก็เลยศึกษาเอาความรุ้เป็นแนวทางต่อไปครับท้ายนี้ผมไม่มีอะไรนอกจากคำว่าขอบคุณ

    ตอบลบ
  5. อ่านง่ายเข้าใจง่ายไม่ยากอย่างที่คิด สาธุ สาธุ .......เอวัง

    ตอบลบ
  6. อายุ วัณโณ สุขัง พลัง

    ตอบลบ
  7. สุภาษิตที่2ต้องให้ความหมายเกี่ยวข้องกับสุภาษิตแรกใช่่่่่มั้ยคะ

    ตอบลบ
  8. ผมเคยสอบอะแก้กระทู้มันมี4วิชาแก้กระทู้ผมได้98/100ที่เหลือรวมแล้วผมควรจะได้230กว่าๆอะมันควรผ่านแต่ตอนนี้ซ้ำตรีมา2ปีละครับ

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. 4ปีคับลืมไม่รวมตอนนี้ที่ผมเรียนม.2

      ลบ
  9. Your internet site is in fact cool and this is a pleasant challenging article 검증사이트

    ตอบลบ