วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธศาสนสุภาษิต นักธรรมศึกษาชั้นโท วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม (ฉบับย่อพร้อมบอกที่มาของคัมภีร์) ๕ หมวด

พุทธศาสนสุภาษิต วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ฉบับย่อพร้อมบอกที่มาของคัมภีร์

1. ทานวรรค หมวดทาน

วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
ททํ มิตฺตานิ คนฺถติ
ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ ย่อมเป็นที่รัก (ที่มา : อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต)
ททโต ปุญญํ ปวฑฺฒติ
เมื่อให้ บุญก็เพิ่มขึ้น (ที่มา : ทีฆนิกาย มหาวรรค)

2. ปาปวรรค หมวดบาป

ทุกฺโข ปาปสฺส อุจฺจโย
ความสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
ปาปานํ อกรณํ สุขํ
การไม่ทำบาป นำสุขมาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
ปาปํ ปาเปน สุกรํ
ความชั่วอันคนชั่วทำง่าย (ที่มา : วินัยปิฎก จุลวรรค)
นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
บาปไม่มีแก่ผู้ไม่ทำ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
สกมฺมุนา หญญติ ปาปธมฺโม
คนมีสันดานชั่ว ย่อมลำบาก เพราะกรรมของตน (ที่มา : มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์)

3. ปุญญวรรค หมวดบุญ

ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ -
บุญอันโจรนำไปไม่ได้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
ปุญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้ (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
ควรทำบุญอันนำสุขมาให้ (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)
ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฐฺา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

4. สติวรรค หมวดสติ

สติ โลกสฺมิ ชาคโร
สติเป็นธรรมเครื่องตื่นอยู่ในโลก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา
สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สติมโต สทา ภทฺทํ
คนผู้มีสติ มีความเจริญทุกเมื่อ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สติมา สุขเมธติ
คนมีสติ ย่อมได้รับความสุข สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
สติมโต สุเว เสยฺโย
คนมีสติ เป็นผู้ประเสริฐทุกวัน (ที่มา : สังยุตตนิกาย สคาถวรรค)

5. สีลวรรค หมวดศีล

สุขํ ยาว ชรา สีลํ
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา (ที่มา : ขุททกนิกาย ธรรมบท)
สีลํ โลเก อนุตฺตรํ
ศีลเป็นเยี่ยมในโลก (ที่มา : ขุททกนิกายชาดก เอกนิบาต)
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ
ศีลพึงรู้ได้เพราะการอยู่ร่วม (ที่มา : ขุททกนิกาย อุทาน)
สญฺญมโต เวรํ น จียติ
เมื่อคอยระวังอยู่ เวรย่อมไม่ก่อขึ้น (ที่มา : ทีฆนิกาย มหานิบาต)

สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี
ปราชญ์พึงรักษาศีล (ที่มา : ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ) 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น