วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นโท วิชา เรียงความแก้กระทู้

เนื้อหาวิชากระทู้ธรรม  นักธรรมศึกษาชั้นโท

วิชา เรียงความแก้กระทู้


 
 


                วิชา การแต่งกระทู้นี้  ก็คือการแต่งเรียงความธรรมนั่นเอง  โดยอธิบายหัวข้อธรรม(สุภาษิตที่กำหนดให้  และหาสุภาษิตอื่นมารับรองกับเนื้อความที่ตนได้อธิบายมานั้น  ให้สัมพันธ์กัน  โดยในชั้นนี้กำหนดให้หาสุภาษิตอื่นมาเชื่อม    สุภาษิต  และให้แต่งตั้งแต่    หน้ากระดาษ (เว้นบรรทัด)ขึ้นไป
                ในการแต่งกระทู้นั้น  ให้นักเรียนตีความหมายของสุภาษิตเสียก่อน  ว่าหมายถึงอะไร  สรุปใจความโดยย่อว่าอย่างไร  ต่อมาให้วางแนวทางว่าจะอธิบายไปในทำนองใด  จะสามารถเชื่อมกับสุภาษิตที่เตรียมไว้ได้หรือไม่  และคำสรุปลงท้ายจะเน้นตรงจุดไหน  เมื่อหาข้อสรุปได้ดังนี้แล้ว  จึงค่อยลงมือแต่ง  การแต่งนั้นควรบรรยายในทำนองที่จะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ฟังมองเห็นภาพพจน์และเชื่อมตามนั้น  โดยการเอาสุภาษิตมารับรองคำพูดที่ได้อธิบายมานั้น  ให้มีหลักฐานน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  และอย่าลืมใส่ที่มาของสุภาษิตนั้นด้วย
                การแต่งที่ถูกต้องตามลักษณะนั้น    สนามหลวงได้กำหนดไว้ในระเบียบการตรวจมี    ลักษณะด้วยกัน นักเรียนจะต้องแต่งให้ถูกต้องตามข้อระเบียบนี้มากที่สุด  คือ
                  . แต่งให้ได้ตามกำหนด  (  หน้ากระดาษ(เว้นบรรทัด)ขึ้นไป)
                  . อ้างสุภาษิตได้ตามกฎ (คือ  นำมาเชื่อม    สุภาษิตขึ้นไป) และบอกที่มาได้ถูกต้อง
                  . เชื่อมกระทู้ได้ดี
                  . อธิบายความสมกับกระทู้ที่ได้ตั้งเอาไว้
                  . ใช้สำนวนเรียบง่าย  ภาษาสละสลวย
                  . ใช้ตัวสะกดการันต์ได้ถูกต้องเป็นส่วนมาก
                  . สะอาด  ไม่เปรอะเปื้อน

               ขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ขั้นตอนก่อนลงมือเขียน
- ต้องท่องจำพุทธศาสนสุภาษิตเล่ม ๑ และเขียนให้ถูกต้องให้ได้อย่างน้อย ๒ สุภาษิต พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้นด้วย เพื่อนำไปเป็นสุภาษิตเชื่อม (เวลาสอบใช้สุภาษิตเดียว)
- เมื่อท่องจำสุภาษิตได้แล้ว ฝึกหัดเขียนอธิบายสุภาษิตบทนั้นสัก ๒-๓ ครั้ง ประมาณ ๑-๒ หน้ากระดาษ จนเกิดความชำนาญ เมื่อนำไปเชื่อมในสนามหลวงจะได้ง่ายขึ้น
ขั้นตอนลงมือเขียน (ดูแผนการเขียน หน้า ๕ ประกอบ)
ขั้นตอนที่ ๑ การเขียนสุภาษิตสนามหลวง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี โดยเฉพาะคำบาลีนั้นต้องเขียนให้ถูก ระวังจุดพินทุ (จุดใต้พยัญชนะ) นิคคหิต (จุดวงกลมบนพยัญชนะ) อย่าให้หาย และต้องเขียนให้ตรงตัวพยัญชนะ อย่าให้คลาดเคลื่อน ส่วนคำแปลนั้นพึงเขียนจัดวางให้ได้กึ่งกลางของคำบาลี อย่าให้ล้น ไปข้างหน้า หรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งาม
ขั้นตอนที่ ๒ การเขียนอารัมภบท คือ ณ บัดนี้...... ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ ย่อหน้าประมาณ ๕-๖ ตัวอักษร
ขั้นตอนที่ ๓ ขั้นอธิบายเนื้อความ ให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้ากระดาษ ต้องให้ตรงกับ ณ บัดนี้
ขั้นตอนที่ ๔ การเขียนสุภาษิตเชื่อม ต้องเชื่อมเนื้่อความของสุภาษิตแรกกับสุภาษิตที่สองให้ถึงกัน เช่น สุภาษิตแรกพูดถึงเรื่องกรรม เราจะยกสุภาษิตเรื่องศีลมาเชื่อม ก็ต้องพูดเรื่องกรรมกับศีลให้เกี่ยวข้องกันว่า ศีลนั้นมีประโยชน์ให้คนทำกรรมอย่างไรหรือเพราะเหตุใด คนต้องอาศัยศีลในการสร้างกรรม เสร็จแล้วให้บอกที่มาของสุภาษิตที่ยกมาอ้างก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน..............ว่า แล้วจึงเขียนสุภาษิตที่ยกมาเชื่อมไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ
ขั้นตอนที่ ๕ เสร็จแล้ว ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตบทเชื่อม ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่
ขั้นตอนที่ ๖ ขั้นตอนการสรุป ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ เขียนคำว่า สรุปความว่า...... การสรุปความนั้น ควรสรุปประมาณ ๕-๖ บรรทัดจึงจะพอดี เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ให้นำสุภาษิตสนามหลวงมาเขียน ปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๗ ก่อนเขียนสุภาษิตปิดท้าย ให้เขียนคำว่า สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า แล้วนำสุภาษิตสนามหลวง หรือ สุภาษิตบทตั้งมาเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษปิดท้าย
ขั้นตอนที่ ๘ บรรทัดสุดท้าย นิยมเติมคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้" หรือ "เอวํ ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ" Ž โดยไม่ต้องย่อหน้า
ส่วนการย่อหน้าและจัดวรรคตอนในที่ อื่นนอกจากนี้นั้น ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้องฝึกเขียนให้ได้ ๔-๕ ครั้งขึ้นไป ยิ่งเขียนได้มากครั้งยิ่งดี แต่ละครั้งที่ฝึกเขียน ให้ดูแผนการเขียนและตัวอย่างการเรียงความแก้กระทู้ธรรมประกอบด้วยว่าถูกต้อง หรือไม่
ในการเขียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ ธรรมนั้น ถ้าหากมีการฝึกเขียนบ่อย ๆ โดยยกหัวข้อธรรมขึ้นมาแต่งอธิบายด้วยตนเอง ตามแผนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมและขั้นตอนทั้ง ๘ ประการที่กล่าวแล้ว จนเกิดความชำนาญในการเขียน การอธิบาย ไม่ว่าสนามหลวงจะออกมาในแนวไหนก็จะสามารถอธิบายขยายความได้อย่างคล่องแคล่ว และถือเป็นการฝึกหัดเขียนตัวหนังสือให้สวยขึ้นด้วย
การเขียนวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม นั้น ส่วนสำคัญที่จะทำให้ได้คะแนนดี คือการวางรูปแบบ เช่น การเขียนสุภาษิต ได้กึ่งกลางหน้ากระดาษหรือไม่ วรรคตอน การย่อหน้า ตรงกันหรือไม่ และการอธิบายเนื้อความก็มีส่วนสำคัญเช่นเดียวกัน ต้อง อธิบายขยายความเนื้อหาธรรม ให้กระชับต่อเนื่องสมเหตุสมผล ยกข้ออุปมาอุปไมยมาเปรียบเทียบให้เข้าใจง่าย การเขียนให้เขียนด้วยตัวบรรจงครึ่งบรรทัดอ่านง่าย ดูสะอาดตา ไม่เปรอะเปื้อนด้วยรอยลบและขีดฆ่า ทำได้ดังนี้จะได้คะแนนสูง วิชานี้ถือเป็นวิชาช่วย ถ้าได้คะแนนวิชาอื่นน้อย วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรมจะช่วยได้มากเลยทีเดียว
วิธีการในการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมตามที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เวลาสอบ ผู้สอบจะทำได้ดีเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการใส่ใจฝึกฝน กำหนดจดจำรูปแบบให้ได้ หมั่นทบทวนทำความเข้าใจบ่อย ๆ ก็ยิ่งดี และยังเป็นเบื้องต้นแห่งทักษะในการพูดหรือสอน และเป็นนักเขียน นักปราชญ์ นักเทศน์ นักบรรยาย และครูบาอาจารย์ เป็นต้น ฯลฯ  


โครงสร้างแบบอย่างการแต่งกระทู้

                                       (สุภาษิต)................................           ...................................
                                             ......................................           ...................................                                   
                (คำแปล)....................................................                           .............................................................

                                บัดนี้  จะได้อธิบายขยายเนื้อความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้    เบื้องต้น  พอเป็นแนวทางการปฏิบัติและศึกษา  สำหรับผู้สนใจ  เป็นลำดับไป

                ..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................... ................................................สมกับสุภาษิตที่มาใน .................................................................ว่า


                                       (สุภาษิต)................................           ...................................
                                             ......................................           ...................................                                   
                (คำแปล)....................................................                           .............................................................


ความว่า..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................………………..สมกับสุภาษิตที่มาใน(ที่มา).................................................................ว่า


                                       (สุภาษิต)................................           ...................................
                                             ......................................           ...................................                                   
                (คำแปล)....................................................                           .............................................................

ความว่า..............................................................................................................................................
..............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................…………

สรุปความว่า..........................................................................................................................................
............................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................……..................


ตัวอย่างการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมะ ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.
บัดนี้ จักได้อธิบายขยายความแห่งกระทู้ธรรมภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น เพื่อเป็นเครื่องประดับสติปัญญา ส่งเสริมสัมมาปฏิบัติ แก่สาธุชนพุทธบริษัทตามสมควรแก่เวลาต่อไป
คำว่า ทาน หมายถึง การให้ กล่าวคือ เจตนาเป็นเครื่องบริจาค ทาน การให้นั้นแยกโดยประเภทมี ๒ คือ อามิสทาน และธรรมทาน การให้วัตถุอันก่อให้เกิดความสุขแก่ผู้รับ ชื่อว่าอามิสทาน การให้วิชาความรู้อันหาโทษมิได้ ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์ ชื่อว่า ธรรมทาน และการให้นั้นกล่าวโดยลักษณะแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ ให้ด้วยความอนุเคราะห์สำเร็จด้วยเมตตากรุณา และให้ด้วยความปรารถนาจะบูชาสำเร็จด้วยความเคารพนับถือ การให้ด้วยความอนุเคราะห์นั้น เช่น บิดามารดาให้อาหาร เครื่องนุ่งห่มหรือเครื่องเล่นต่าง ๆ แก่บุตรธิดาในเวลายังเป็นเด็ก ให้ทรัพย์สินเงินทองเพื่อเป็นทุนรอน ให้ถิ่นฐานบ้านเรือนเมื่อเจริญวัยขึ้นแล้ว เจ้านายให้โภคทรัพย์แก่บริวาร ญาติมิตรแบ่งปันข้าวของให้กัน นี้เป็นการให้อนุเคราะห์เจาะจง บุตรธิดาผู้มีเหย้าเรือนแล้วให้ทรัพย์เป็นเครื่องเลี้ยงชีพให้ผ้าผ่อนท่อน สไบ และเครื่องใช้สอยแก่บิดามารดา บริวารมอบสิ่งของ ให้แก่เจ้านาย เป็นการแสดงความจงรักภักดี นี้เป็นการให้เพื่อเป็นการบูชาคุณท่าน ผู้ที่มั่งมีทรัพย์สิน มีจิตเมตตาเอื้อเฟื้อต่อมหาชนทั่วไป หรือทำการกุศลสาธารณประโยชน์ การให้ประเภทนี้ย่อมเป็นที่สรรเสริญของมหาชนเป็นอันมาก และในการให้นั้น ต้องให้แต่พอดี ไม่มากหรือน้อยเกินไปอันเป็นเหตุให้ตนขัดสน การให้ทานนั้นย่อมเป็นที่ชอบใจของผู้ได้รับทาน คนเป็นอันมากย่อมสมาคมคบหากับผู้บำเพ็ญทานนั้น สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่มาในอังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาตว่า
ททํ ปิโย โหติ ภชนฺติ นํ พหู
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก คนหมู่มากย่อมคบเขา.
การให้จะด้วยเพื่อ การอนุเคราะห์หรือเพื่อบูชาคุณก็ตามแต่ ผู้มีจิตคิดบริจาค ย่อมได้รับอานิสงส์มากมายหลายสถาน ที่เห็นได้ง่าย ๆ ย่อมเป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป และชนทั้งหลายย่อมยกย่องนับถือ แม้นักปราชญ์ราชบัณฑิตก็สรรเสริญ การให้นั้น มี ๒ อย่างตามที่กล่าวแล้วและต้องประกอบไปด้วยเจตนา คือ ความตรึกนึกคิดประโยชน์แก่ผู้อื่น ด้วยน้ำใจอันบริสุทธิ์ มิได้มุ่งหวังอามิสสิ่งอื่นใด รวมถึงการชี้แจงบาปบุญคุณโทษ สิ่งที่ควรทำและควรละ แนะนำทางไปสู่สวรรค์นิพพาน ชื่อว่าธรรมทาน ๆ พระพุทธเจ้าทรงตรัสสรรเสริญไว้ในทานสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทานมี ๒ ชนิด คือ อามิสทาน และธรรมทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บรรดาทานทั้ง ๒ อย่างนี้ ธรรมทานเป็นเยี่ยมกว่าทานทั้งปวง ดังนี้ จะเห็นได้ว่าการบำเพ็ญทานทุกอย่างล้วนมีคุณ และมีอานิสงส์มาก ดังที่กล่าวแล้ว
สรุปความได้ว่า การให้นั้นไม่ว่าจะเป็นการให้ธรรมทาน กล่าวคือ ให้โอวาท สั่งสอนศิลปวิทยาความรู้อันปราศจากโทษ เป็นคุณประโยชน์แก่บุคคลทั่วไป อีกอย่างการให้ที่เป็นการสงเคราะห์ แก่ผู้อื่นด้วยความบริสุทธิ์ใจ หรือเป็นการบูชาตอบแทนพระคุณ ต่อผู้ที่มีอุปการคุณแก่ตน เมื่อบำเพ็ญประพฤติได้ดังนี้แล้ว ก็ย่อมเป็นเหตุให้มีแต่มิตรสหายบริวารที่ดีแวดล้อม ไปที่ไหน ๆ ก็ไม่ตกอับขัดสน และย่อมได้รับสิ่งที่ดีตอบแทน เช่นกัน ดังนั้น จึงควรหัดเป็นผู้มีจิตใจมีเมตตากรุณาเห็นอกเห็นใจกัน อันจะทำให้สังคมโดยรวมมีแต่ความสุขตลอดไป สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ได้ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า
สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมะ ย่อมชนะการให้ทั้งปวง.

มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ

ความหมายของการแต่งกระทู้

 การที่จะเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรมได้ดีเพียงพอให้สอบผ่านได้นั้น ต้องเข้าใจความหมาย ดังต่อไปนี้
1. เรียงความ หมายถึง การเก็บถ้อยคำสำนวน เรียบเรียงให้ถูกต้องตามหลักภาษา กระชับเข้าใจง่าย มีอรรถรสทางภาษา และสมเหตุสมผลตามสุภาษิตนั้น

2. แก้ หมาย ถึง การอธิบายหัวข้อธรรมหรือพุทธศาสนสุภาษิตที่กำหนดให้นั้น ให้ได้เนื้อความ สำนวนโวหารและมีเหตุผลสอดคล้องตามพุทธศาสนสุภาษิตนั้น

3. กระทู้ธรรม หมายถึง พุทธศาสนสุภาษิต ที่สนามหลวงกำหนดให้
สำหรับนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี หัวข้อธรรมนั้นมีอยู่ในหนังสือพุทธศาสนสุภาษิต เล่ม 1 เป็นหลักสำหรับออกเป็นข้อสอบให้นักเรียนเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

ความหมายของการแต่งกระทู้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น