วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธศาสนสุภาษิต นักธรรมศึกษาชั้นตรี วิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม ๒๔ หมวด


พุทธศาสนสุภาษิต
แบ่งตามหมวดได้ดังนี้


๏ หมวดที่ ๑ อัตตวรรค – หมวดตน                                    ๏ หมวดที่ ๒ จิตตวรรค - หมวดจิต
๏ หมวดที่ ๓ บุคคลวรรค – หมวดบุคคล                             ๏ หมวดที่ ๔ กัมมวรรค - หมวดกรรม
๏ หมวดที่ ๕ มัจจุวรรค – หมวดความตาย                          ๏ หมวดที่ ๖ ธัมมวรรค - หมวดธรรม
๏ หมวดที่ ๗ อัปปมาทวรรค – หมวดไม่ประมาท               ๏ หมวดที่ ๘ ขันติวรรค - หมวดอดทน
๏ หมวดที่ ๙ วิริยวรรค – หมวดความเพียร                         ๏ หมวดที่ ๑๐ ปุญญวรรค - หมวดบุญ
๏ หมวดที่ ๑๑ สุขวรรค – หมวดสุข                                    ๏ หมวดที่ ๑๒ ชยวรรค - หมวดชนะ
๏ หมวดที่ ๑๓ กิเลสวรรค – หมวดกิเลส                            ๏ หมวดที่ ๑๔ ปาปวรรค - หมวดบาป
๏ หมวดที่ ๑๕ ทุกขวรรค – หมวดทุกข์                              ๏ หมวดที่ ๑๖ โกธวรรค - หมวดโกรธ
๏ หมวดที่ ๑๗ วาจาวรรค – หมวดวาจา                              ๏ หมวดที่ ๑๘ มิตตวรรค - หมวดมิตร
๏ หมวดที่ ๑๙ เสวนาวรรค – หมวดคบหา                          ๏ หมวดที่ ๒๐ สามัคคีวรรค - หมวดสามัคคี
๏ หมวดที่ ๒๑ ทานวรรค – หมวดทาน                               ๏ หมวดที่ ๒๒ สีลวรรค - หมวดศีล
๏ หมวดที่ ๒๓ ปัญญาวรรค – หมวดปัญญา                       ๏ หมวดที่ ๒๔ ปกิณณกวรรค – หมวดเบ็ดเตล็ด


หมวดที่ ๑ 
อัตตวรรค - หมวดตน

อตฺตา หเว ชิตํ เสยฺโย
ชนะตนนั่นแหละ เป็นดี
ขุ.ธ. ๒๕/๒๙

อตฺตา หิ กิร ทุทฺทโม
ได้ยินว่าตนแลฝึกยาก
ขุ.ธ. ๒๕/๓๖

อตฺตา สุทนฺโต ปุริสสฺส โชติ
ตนที่ฝึกดีแล้ว เป็นแสงสว่างของบุรุษ
สํ.ส. ๑๕/๒๔๘

อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ
ตนแล เป็นที่พึ่งของตน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๖, ๖๖

อตฺตา หิ อตฺตโน คติ
ตนแล เป็นคติของตน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๖ 

อตฺตนา ว กตํ ปาปํ อตฺตนา สงฺกิลิสฺสติ
ตนทำบาปเอง ย่อมเศร้าหมองเอง
ขุ.ธ. ๒๕/๓๗

อตฺตนา อกตํ ปาปํ อตฺตนา ว วิสุชฺฌติ
ตนไม่ทำบาปเอง ย่อมหมดจดเอง
ขุ.ธ. ๒๕/๓๗

อตฺตตฺถปัญฺญา อสุจี มนุสฺสา
มนุษย์ผู้เห็นแก่ประโยชน์ตน เป็นคนไม่สะอาด
ขุ.สุ. ๒๕/๒๙๖/๓๓๙

อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา
บัณฑิต ย่อมฝึกตน
ขุ.ธ. ๒๕/๒๕

อตฺตานํ ทมยนฺติ สุพฺพตา
ผู้ประพฤติดี ย่อมฝึกตน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๔


หมวดที่ ๒
๏ จิตตวรรค - หมวดจิต

จิตฺเต สงฺกิลิฏฺเฐ ทุคฺคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตเศร้าหมองแล้ว ทุคติเป็นอันหวังได้
ม.มู. ๑๒/๖๔

จิตฺเต อสงฺกิลิฏฺเฐ สุคติ ปาฏิกงฺขา
เมื่อจิตไม่เศร้าหมอง สุคติเป็นอันหวังได้
ม.มู. ๑๒/๖๔

จิตฺเตน นียติ โลโก
โลกถูกจิตนำไป
สํ.ส. ๑๕/๑๘๑

จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ
การฝึกจิตเป็นความดี
ขุ.ธ. ๒๕/๑๙

จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
จิตที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้
ขุ.ธ. ๒๕/๑๓

วิหญฺญตี จิตฺตวสานุวตฺตี
ผู้ประพฤติตามอำนาจจิตย่อมลำบาก
ขุ.ชา. ๒๗/๓๑๖


หมวดที่ ๓
๏ บุคคลวรรค - หมวดบุคคล

สาธุ โข ปณฺฑิโต นาม
ชื่อว่าบัณฑิตย่อมทำประโยชน์ให้สำเร็จได้แล
สํ.ส. ๑๕/๘๒๕

ปฌฺฑิโต สีลสมฺปนฺโน ชลํ อคฺคีว ภาสติ
บัณฑิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล ย่อมรุ่งเรืองเหมือนไฟสว่าง
ที.ปา. ๑๑/๑๙๗

อนตฺถํ ปริวชฺเชติ อตฺถํ คณฺหาติ ปณฺฑิโต
บัณฑิตย่อมเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
องฺ.จตุกฺก ๒๑/๔๒

ทนฺโต เสฎฺโฐ มนุสฺเสสุ
ในหมู่มนุษย์ ผู้ฝึกตนแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓
กุสโล จ ชหาติ ปาปกํ
คนฉลาดย่อมละบาป
ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๘

นยํ นยติ เมธาวี
คนมีปัญญา ย่อมแนะนำทางที่ควรแนะนำ
ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๑๘๑๙

ธีโร โภเค อธิคมฺม สงฺคณฺหาติ จ ญาตเก
ผู้มีปรีชาได้โภคะแล้ว ย่อมสงเคราะห์หมู่ญาติ
ขุ.ชา. ๒๗/๙๓๖
  
สนฺโต น เต เย น วทนฺติ ธมฺมํ
ผู้ใดไม่พูดเป็นธรรม ผู้นั้นไม่ใช่สัตบุรุษ
สํ.ส. ๑๕/๗๒

หมวดที่ ๔
๏ กัมมวรรค - หมวดกรรม

สานิ กมฺมานิ นยนฺติ ทุคฺคติ
กรรมชั่วของตนเอง ย่อมนำไปสู่ทุคคติ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๗

สุกรํ สาธุนา สาธุ
ความดี อันคนดีทำง่าย
ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗

สาธุ ปาเปน ทุกฺกรํ
ความดี อันคนชั่วทำยาก
ขุ.อุ. ๒๕/๑๖๗

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วไม่ร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำนั้นแลเป็นดี
ขุ.ธ. ๒๕/๒๓

น ตํ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา อนุตปฺปติ
ทำกรรมใดแล้วร้อนใจภายหลัง กรรมที่ทำแล้วนั้นไม่ดี
ขุ.ธ. ๒๕/๒๓

นิสมฺม กรณํ เสยฺโย
ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำดีกว่า
ว.ว

หมวดที่ ๕
๏ มัจจุวรรค - หมวดความตาย

สพฺพํ เภทปริยนฺติ เอวํ มจฺจาน ชีวิตํ
ชีวิตของสัตว์เหมือนภาชนะดิน ซึ่งล้วนมีความสลายเป็นที่สุด
ที.มหา. ๑๐/๑๔๑

น มิยฺยมานํ ธนมนฺเวติ กิญฺจิ
ทรัพย์สักนิดก็ติดตามคนตายไปไม่ได้
ม.ม. ๑๓/๔๑๒

อฑฺฒา เจว ทฬิทฺทา จ สพฺเพ มจฺจุ ปรายนา
ทั้งคนมีคนจน ล้วนมีแต่ความตายเป็นเบื้องหน้า
ที.มหา. ๑๐/๑๔๑

ทหรา จ มหนฺตา จ เย พาลา เย จ ปณฺฑิตา
สพฺเพ มจฺจุวสํ ยนฺติ สพฺเพ มจฺจุปรายนา
ทั้งเด็ก ทั้งผู้ใหญ่ ทั้งเขลา ทั้งฉลาด
ล้วนไปสู่อำนาจแห่งความตาย ล้วนมีความตายเป็นเบื้องหน้า
นัย ที.มหา. ๑๐/๑๔๑

ยถา ทณฺเฑน โคปาลา คาโว ปาเชติ โคจรํ
เอวํ ชรา จ มจฺจุ จ อายุ ปาเชนฺติ ปาณินํ
ผู้เลี้ยงโคย่อมต้อนฝูงโค ไปสู่ที่หากินด้วยพลองฉันใด
ความแก่และความตาย ย่อมต้อนอายุของสัตว์มีชีวิตไปฉันนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓

ยถา วาริวโห ปูโร วเห รุกฺเข ปกูลเช
เอวํ ชราย มรเณน วุยฺ หนฺเต สพฺพปาณิโน
ห้วงน้ำที่เต็มฝั่ง พึงพัดต้นไม้ซึ่งเกิดที่ตลิ่งไปฉันใด
สัตว์มีชีวิตทั้งปวง ย่อมถูกความแก่และความตายพัดไปฉันนั้น
(เตมิยโพธิสตฺต) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๑๖๔

อจฺเจนติ กาลา ตรยนฺติ รตฺติโย วโยคุณา อนุปุพฺพํ ชหนฺติ
เอตํ ภยํ มรเณ เปกฺขมาโน ปุญฺญานิ กยิราถ สุขาวหานิ
กาลย่อมล่วงไป ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป
ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำความสุขมาให้
(นนฺทเทวปุตฺต) สํ.ส. ๑๕/๘

หมวดที่ ๖
๏ ธัมมวรรค – หมวดธรรม

ธมฺโม รหโท อกทฺทโม
ธรรมเหมือนห้วงน้ำไม่มีตม
ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๒๐๒

ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ
ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้
สํ.ส. ๑๕/๕๘

ธมฺโม หเว รกฺขติ ธมฺมจารี
ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม
ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔

ธมฺมํ จเร สุจริตํ น ตํ ทุจฺจริตํ จเร
พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่ควรประพฤติให้ทุจจริต
ขุ.ธ. ๒๕/๓๘

น ทุคฺคตึ คจฺฉติ ธมฺมจารี
ผู้ประพฤติธรรม ไม่ไปสู่ทุคติ
ขุ.เถร. ๒๖/๓๑๔

ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ กิตฺติ
เกียรติ ย่อมไม่ละผู้ตั้งอยู่ในธรรม
องฺ.ปญฺจก. ๒๓/๕๑

หมวดที่ ๗
๏ อัปปมาทวรรค - หมวดไม่ประมาท

อปฺปมาโท อมตํ ปทํ
ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘

อปฺปมาทญฺจ เมธาวี ธนํ เสฏฺฐํว รกฺขติ
ปราชญ์ย่อมรักษาความไม่ประมาทไว้ เหมือนรักษาทรัพย์อันประเสริฐ
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘

อปฺปมตฺตา น มียนฺติ
ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘

อปฺปมตฺโต หิ ฌายนฺโต ปปฺโปติ วิปุลํ สุขํ
ผู้ไม่ประมาทพินิจอยู่ ย่อมถึงสุขอันไพบูลย์
ขุ.ธ. ๒๕/๑๘

อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
สุสมาหิตสงฺกปฺปา สจิตฺตมนุรกฺขถ
ภิกษุทั้งหลาย ! พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม
ตั้งความดำริไว้ให้ดี คอยรักษาจิตใจของตน
ที.มหา. ๑๐/๑๔๒

อปฺปมาทรตา โหถ สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
ท่านทั้งหลายจงยินดีในความไม่ประมาท จงตามรักษาจิตของตน
จงถอนตนขึ้นจากหล่มคือกิเลสที่ถอนได้ยาก เหมือนช้างที่ตกหล่ม ถอนตนขึ้น ฉะนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓/๕๘

อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
สญฺโญชนํ อณุ ํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๑๙

อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ ปมาเท ภยทสฺสิ วา
อภพฺโพ ปริหานาย นิพฺพานสฺเสว สนฺติเก
ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเห็นภัยในความประมาท
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อจะเสื่อม (ชื่อว่า) อยู่ใกล้พระนิพพานทีเดียว
ขุ.ธ. ๒๕/๑๙

หมวดที่ ๘
๏ ขันติวรรค - หมวดอดทน

ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
ขันติคือความอดทน เป็นตบะอย่างยิ่ง
ที.มหา. ๑๐/๕๗

ขนฺติพลา สมณพฺราหฺมณา
สมณพราหมณ์ มีความอดทนเป็นกำลัง
องฺ.อฏฺฐก. ๒๓/๒๒๗

อตฺตโนปิ ปเรสญฺจ อตฺถาวโห ว ขนฺติโก
สคฺคโมกฺขคมํ มคฺคํ อารุฬฺโห โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันติ ชื่อว่านำประโยชน์มาให้ ทั้งแก่ตนทั้งแก่ผู้อื่น
ผู้มีขันติ ชื่อว่าเป็นผู้ขึ้นสู่ทางไปสวรรค์และนิพพาน
ส.ม. ๒๒๒

เกวลานํปิ ปาปานํ ขนฺติ มูลํ นิกนฺตติ
ครหกลหาทีนํ มูลํ ขนฺติ ขนฺติโก
ขันติ ย่อมตัดรากแห่งบาปทั้งสิ้น
ผู้มีขันติชื่อว่าย่อมขุดรากแห่งความติเตียนและการทะเลาะกันได
ส.ม. ๒๒๒

ขนฺติโก เมตฺตวา ลาภี ยสสฺสี สุขสีลวา
ปิโย เทวมนุสฺสานํ มนาโป โหติ ขนฺติโก
ผู้มีขันตินับว่ามีเมตตา มีลาภ มียศ และมีสุขเสมอ
ผู้มีขันติเป็นที่รักที่ชอบใจของเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย
ส.ม. ๒๒๒ 

หมวดที่ ๙
๏ วิริยวรรค - หมวดความเพียร

กาลาคตญฺจ น หาเปติ อตฺถํ
คนขยันย่อมไม่พร่าประโยชน์ชั่วตามกาล
ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๑๙๕

วิริเยน ทุกฺขมจฺเจติ
คนล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑

ปฏิรูปการี ธุรวา อุฏฺฐาตา วินฺทเต ธนํ
คนมีธุระหมั่นทำการงานให้เหมาะเจาะ ย่อมหาทรัพย์ได้
ขุ.สุ. ๒๕/๓๖๑

น นิพฺพินฺทิยการิสฺส สมฺมทตฺโถ วิปจฺจติ
ประโยชน์ย่อมไม่สำเร็จโดยชอบแก่ผู้ทำโดยเบื่อหน่าย
ขุ.ชา.จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๓

อปฺปเกนปิ เมธาวี ปาภเฏน วิจกฺขโณ
สมุฏฺฐาเปติ อตฺตานํ อณุ อคคึว สนฺธมํ
ผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาดย่อมตั้งตนได้ด้วยต้นทุนแม้น้อย
เหมือนคนก่อไฟน้อยขึ้นฉะนั้น
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒

อฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ อบฺปมตฺโต วิธานวา
สมํ กปฺเปติ ชีวิตํ สมภตํ อนุรกฺขติ
ผู้ขยันในหน้าที่การงาน ไม่ประมาท
เข้าใจเลี้ยงชีพพอสมควร จึงรักษาทรัพย์ที่หามาได้
อง.อฏฺฐก. ๒๓/๒๙๘

หมวดที่ ๑๐
๏ ปุญญวรรค - หมวดบุญ

ปุญฺญํ โจเรหิ ทูหรํ
บุญอันโจรนำไปไม่ได้
สํ.ส. ๑๕/๕๐

ปญฺญํ สุขํ ชีวิตสงฺขยมฺหิ
บุญนำสุขมาให้ในเวลาสิ้นชีวิต
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙

สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ความสั่งสมบุญ นำสุขมาให้
ขุ.ธ. ๒๕/๓๐

ปุญฺญานิ ปรโลกสฺมึ ปติฏฺฐา โหนฺติ ปาณินํ
บุญเป็นที่พึ่งของสัตว์ในโลกหน้า
สํ.ส. ๑๕/๒๖

อิธ นนฺทติ เปจฺจ นนฺทติ กตปุญโญฺ อุภยตฺถ นนฺทติ
ปุญฺญํ เม กตนุติ นนฺทติ ภิยฺโย นนฺทุติ สุคตึ คโต
ผู้ทำบุญแล้วย่อมยินดีในโลกนี้ ตายแล้วย่อมยินดีชื่อว่ายินดีในโลกทั้งสอง
เขาย่อมยินดีว่าเราทำบุญไว้แล้ว ไปสู่สุคติย่อมยินดียิ่งขึ้น
ขุ.ธ. ๒๕/๑๗

ปญฺญญฺ ปริโส กยิรา กยิราถนํ ปุนปฺปุนํ
ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
ถ้าบุรุษจะพึ่งทำบุญ ควรทำบุญนั้นบ่อยๆ
ควรทำความพอใจในบุญนั้น การสั่งสมบุญนำความสุขมาให้
ขุ.ธ. ๒๕/๓๐

สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สยํ กตานิ ปุญฺญานิ ตํ มิตฺตํ สมฺปรายิกํ
สหายเป็นมิตรของคนผู้มีความต้องการเกิดขึ้นบ่อยๆ
บุญทั้งหลายที่ตนทำเองนั้น จะเป็นมิตรในสัมปรายภพ
สํ.ส. ๑๕/๕๑


หมวดที่ ๑๑
๏ สุขวรรค - หมวดสุข

สพฺพตถ ทุกฺขสฺส สุขํ ปหานํ
ละเหตุทุกข์ได้เป็นสุขในที่ทั้งปวง
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙

อพฺยา ปชฺฌํ สุขํ โลเก
ความไม่เบียดเบียนเป็นสุขในโลก
ขุ.ธ. ๒๕/๘๖
นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ
ความสุข (อื่น) ยิ่งกว่าความสงบไม่มี
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙
อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเมว สุขี สิยา
จะพึงมีความสุขเป็นนิตย์ ก็เพราะไม่พบเห็นคนพาล
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

สุขํ สุปติ พุทฺโธ จ เยน เมตฺตา สุภาวิตา
ผู้เจริญเมตตาดีแล้วย่อมหลับและตื่นเป็นสุข
ว.ว. 

หมวดที่ ๑๒
๏ ชยวรรค - หมวดชนะ

ชยํ เวรํ ปสวติ
ผู้ชนะย่อมก่อเวร
สํ.ส. ๑๕/๑๒๒

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ
การให้ธรรมย่อมชนะการให้ทั้งปวง
ขุ.ธ. ๒๕/๖๓

สพฺพรสํ ธมฺมรโส ชินาติ
รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง
ขุ.ธ. ๒๕/๖๓

สพฺพรตึ ธมฺมรติ ชินาติ
ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง
ขุ.ธ. ๒๕/๖๓

ตณฺหกฺขโย สพฺพทุกฺขํ ชินาติ
ความสิ้นตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ขุ.ธ. ๒๕/๖๓

น ตํ ชิตํ สาธุ ชิตํ ย ํ ชิตํ อวชิยฺยติ
ความชนะใดที่ชนะแล้วกลับแพ้ได้ ความชนะนั้นไม่ดี
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๒

อกฺโกเธน ชิเน โกธํ
พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๕

อสาธุ สาธุนา ชิเน
พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
ขุ.ธ. ๒๕/๔๕

ชิเน กทริยํ ทาเนน
พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้
ขุ.ธ. ๒๕/๔๕

สจฺเจนาลิกวาทินํ
พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
ขุ.ธ. ๒๕/๔๕

หมวดที่ ๑๓
๏ กิเลสวรรค - หมวดกิเลส

กุหา ถทฺธา ลปา สิงฺคี อุนฺนฬา จาสมาหิตา
น เต ธมฺเม วิรูหนฺติ สมฺมาสมฺพุทฺธเทสิเต
ผู้คนหลอกลวง เย่อหยิ่ง เพ้อเจ้อ ขี้โอ่ อวดดี และไม่ตั้งมั่น
ย่อมไม่งอกงามในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว
องฺ.จตุกฺก. ๒๑/๓๔


โลโภ โทโส จ โมโห จ ปุริสํ ปาปเจตสํ
หึสนฺติ อตฺตสมฺภูตา ตจสารํว สมฺผลํ
โลภะ โทสะ โมหะ เกิดจากตัวเอง
ย่อมเบียดเบียนผู้มีใจชั่ว ดุจขุยไผ่ฆ่าต้นไผ่ ฉะนั้น
ขุ.มหา. ๒๙/๑๘

โกธสฺส วิสมูลสฺส มธุรคฺคสฺส พฺราหฺมณ
วธํ อริยา ปสํสนฺติ ตญฺหิ เฉตฺวา น โสจติ
พราหมณ์ พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ
ปลายหวาน เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
สํ.ส. ๑๕/๒๓๖
เยน สลฺเลน โอติณฺโณ ทิสา สพฺพา วิธาวต
ตเมว สลฺลํ อพฺพุยฺห น ธาวติ น สีทติ
บุคคลถูกลูกศรใดแทงแล้ว ย่อมแล่นไปทั่วทิศ
ถอนลูกศรนั้นแล้ว ย่อมไม่แล่นและไม่จม
ขุ.มหา. ๒๙/๕๐๑

หมวดที่ ๑๔
๏ ปาปวรรค - หมวดบาป

อิธ โสจติ เปจฺจ โสจติ ปาปการี อุภยตฺถ โสจติ
โส โสจติ โส วิหญฺญติ ทิสฺวา กมฺมกิลิฏฺฐมตฺตโน
ผู้ทำบาป ย่อมเศร้าโศกในโลกนี้ ละไปแล้วก็เศร้าโศก ชื่อว่าเศร้าโศกในโลกทั้งสอง
เขาเห็นกรรมอันเศร้าหมองของตน จึงเศร้าโศกและเดือดร้อน
ขุ.ธ. ๒๕/๑๗

อุทพินทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ พาโล ปาปสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ
แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำฉันใด
คนเขลาสั่งสมบาปแม้ทีละน้อยๆ ก็เต็มด้วยบาปฉันนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๓๑

ปาณิมฺหิ เจ วโณ นาสฺส หเรยฺย ปาณินา วิสํ
นาพฺพณํ วิสมนฺเวติ นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต
ถ้าฝ่ามือไม่มีแผล ก็พึงนำยาพิษไปด้วยฝ่ามือได้
ยาพิษซึมเข้าฝ่ามือไม่มีแผลไม่ได้ฉันใด บาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ทำฉันนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๓๑

วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย
ควรงดเว้นบาปเสีย เหมือนพ่อค้ามีพวกน้อยมีทรัพย์มาก
เว้นหนทางที่มีภัย และเหมือนผู้รักชีวิตเว้นยาพิษเสียฉะนั้น
ขุ.ธ. ๒๕/๓๑ 

หมวดที่ ๑๕
๏ ทุกขวรรค - หมวดทุกข์

นตฺถิ ขนฺธสมา ทุกฺขา
ทุกข์เสมอด้วยขันธ์ ไม่มี
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
สังขาร เป็นทุกข์อย่างยิ่ง
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒ 

ทุราวาสา ฆรา ทุกฺขา
เหย้าเรือนที่ปกครองไม่ดี นำทุกข์มาให้
ขุ.ธ. ๒๕/๕๕
ทฬิทฺทิยํ ทุกฺขํ โลเก
ความจน เป็นทุกข์ในโลก
องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔

อิณาทานํ ทุกฺขํ โลเก
การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก
นัย องฺ.ฉกฺก. ๒๒/๓๙๔

ทุกฺขํ อนาโถ วิหรติ
คนไม่มีที่พึ่ง อยู่เป็นทุกข์
องฺ.ทสก. ๒๔/๒๗, ๓๑

ทุกฺขํ เสติ ปราชิโต
ผู้แพ้ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
สํ.ส. ๑๕/๑๒๒

อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา
ทุกข์ ย่อมไม่ตกถึงผู้หมดกังวล
สํ.ส. ๑๕/๑๒๒

ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ
การพลัดพรากจากสิ่งที่รัก เป็นทุกข์
ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓

อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ ทุกฺขํ
การพบเห็นสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์
ขุ.ธ. ๒๕/๒๖/๔๓

หมวดที่ ๑๖
๏ โกธวรรค - หมวดโกรธ

น หิ สาธุ โกโธ
ความโกรธไม่ดีเลย
ขุ.ชา.ฉกฺก. ๒๗/๑๘๘

โกโธ สตฺถมลํ โลเก
ความโกรธเป็นดังสนิมในโลก
สํ.ส. ๑๕/๖๐

อนตฺถชนโน โกโธ
ความโกรธก่อความพินาศ
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙

โกโธ จิตฺตปฺปโกปโน
ความโกรธทำจิตให้กำเริบ
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙

โกธํ ฆตฺวา สุขํ เสติ
ฆ่าความโกรธได้ อยู่เป็นสุข
สํ.ส. ๑๕/๕๗,๖๔
โกธาภิภูโต กุสลํ ชหาติ
ผู้ถูกความโกรธครอบงำ ย่อมละกุศลเสีย
นัย ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๘๖

ทุกฺขํ สยติ โกธโน
คนมักโกรธ ย่อมอยู่เป็นทุกข์
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๘

ญาติมิตฺตา สุหชฺชา จ ปริวชฺเชนฺติ โกธนํ
ญาติมิตรและสหาย ย่อมหลีกเลี่ยงคนมักโกรธ
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙

กุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
ผู้โกรธ ย่อมไม่เห็นธรรม
องฺ.สตฺตก. ๒๓/๙๙

โกธํ ทเมน อุจฺฉินฺเท
พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
นัย องฺ.สตฺตก. ๒๓/๑๐๐

หมวดที่ ๑๗
๏ วาจาวรรค - หมวดวาจา

หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๑๓๘

โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ
เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘

มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘

ทุฏฺฐสฺส ผรุสา วาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบ
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๗๓

สจฺ จํ เว อมตา วาจา
คำสัตย์แลเป็นวาจาไม่ตาย
สํ.ส. ๑๕/๗๔๐/๒๗๘

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความสะอาดพึงรู้ได้ด้วยถ้อยคำ
นัย ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน
สํ.ส. ๑๕/๒๗๘

กลฺยาณิเมว มุญฺเจยฺย น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
บุคคลพึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย
การเปล่งวาจางาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ ผู้เปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ปเร จ น วิหึเสยฺย สา เว วาจา สุภาสิตา
บุคคลพึงกล่าวแต่วาจาที่ไม่เป็นเหตุยังตนให้เดือดร้อน
และไม่เป็นเหตุเบียดเบียนผู้อื่น วาจานั้นแลเป็นสุภาษิต
(วงฺคีสเถร) ขุ.สุ. ๒๕/๔๑๑

หมวดที่ ๑๘
๏ มิตตวรรค - หมวดมิตร

มาตา มิตฺตํ สเก ฆเร
มารดาเป็นมิตรในเรือนของตน
สํ.ส. ๑๕/๕๐

สหาโย อตฺถชาตสฺส โหติ มิตฺตํ ปุนปฺปุนํ
สหายเป็นมิตรของผู้มีความต้องการเกิดขึ้นเนืองๆ
สํ.ส. ๑๕/๕๑

สเจ ลเภถ นิปกํ สหายํ จเรยฺย เตนตฺตมโน สติมา
โน เจ ลเภถ นิปกํ สหายํ เอโก จเร น จ ปาปานิ กยิรา
ถ้าได้สหายผู้รอบคอบ พึงพอใจมีสติเที่ยวไปกับเขา
ถ้าไม่ได้สหายผู้รอบคอบ พึงเที่ยวไปคนเดียว และไม่พึงทำความชั่ว
วิ.มหา. ๕/๓๓๖, ม.อุป. ๑๔/๒๙๗ 

สพพตฺถ ปูชิโต โหติ โย มิตฺตานํ น ทุพฺภติ
ผู้ไม่ประทุษร้ายมิตร ย่อมมีผู้บูชาในที่ทั้งปวง
ขุ.ชา.นวก. ๒๗/๕๔

มิตฺตทุพโภ หิ ปาปโก
ผู้ประทุษร้ายมิตรเป็นคนเลวแท้
ขุ.ชา.ทสก. ๒๗/๒๙๗

ภริยา ปรมา สขา
ภรรยาเป็นเพื่อนสนิท
สํ.ส. ๑๕/๕๑

นตฺถ พาเล สหายตา
ความเป็นสหายไม่มีในคนพาล
วิ.มหา. ๕/๓๓๖, ขุ.ธ. ๒๕/๒๓

หมวดที่ ๑๙
๏ เสวนาวรรค - หมวดคบหา

วิสฺสาสา ภยมนฺเวติ
เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๓๐

อติจิรํ นิวาเสน ปิโย ภวติ อปฺปิโย
เพราะอยู่ด้วยกันนานเกินไป คนที่รักกันก็มักหน่าย
ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๔๗

ยํ เว เสวติ ตาทิโส
คบคนใดก็เป็นเช่นคนนั้น
ว.ว.

น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๔๖

ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
อยู่ร่วมกับปราชญ์นำสุขมาให้ เหมือนสมาคมกับญาติ
ขุ.ธ. ๒๕/๔๒

นิหียติ ปุริโส นิหีนเสวี
ผู้คบคนเลวย่อมเลวลง
องฺ.ติก. ๒๐/๑๕๘

ทุกฺโข พาเลหิ สงฺคโม
สมาคมกับคนพาลนำทุกข์มาให้
ขุ.ชา.นวก. ๒๗/๒๖๕

สุโข หเว สปฺปุริเสน สงฺคโม
สมาคมกับสัตบุรุษนำสุขมาให้
ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕๕

น ปาปชนสํเสวี อจฺจนฺตสุขเมธติ
ผู้ไม่คบคนชั่ว ย่อมได้รับสุขส่วนเดียว
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๔๖

สงฺเกเถว อมิตฺตสฺมึ มิตฺตสฺมิมฺปิ น วิสฺสเส
ควรระแวงในศัตรู แม้ในมิตรก็ไม่ควรไว้ใจ
ขุ.ชา.ทุก. ๒๗/๕

หมวดที่ ๒๐
๏ สามัคคีวรรค - หมวดสามัคคี

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี
ความพร้อมเพรียงของหมู่ ให้เกิดสุข
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘

สมคฺคานํ ตโป สุโข
ความพร้อมเพรียงของผู้พร้อมเพรียงกัน ให้เกิดสุข
ขุ.ธ. ๒๕/๔๑

วิวาทํ ภยโต ทิสฺวา อวิวาทญฺจ เขมโต
สมคฺคา สขิลา โหถ เอสา พุทฺธานุสาสนี
ท่านทั้งหลายจงเห็นความวิวาทโดยความเป็นภัย และความไม่วิวาทโดยความปลอดภัยแล้ว
เป็นผู้พร้อมเพรียง มีความรประนีประนอมกันเถิด นี้เป็นพระพุทธานุศาสนี
ขุ.จริยา. ๓๓/๕๙๕

สามคฺยเมวา สิกฺเขถ พุทฺเธเหตํ ปสํสิตํ.
สามคฺยรโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ
พึงศึกษาความสามัคคี, ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายสรรเสริญแล้ว,
ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ขุ.ชา.เตรส. ๒๗/๓๔๖

สุขา สงฺฆสฺส สามคฺคี สมคฺคานญฺจนุคฺคโห
สมคฺครโต ธมฺมฏฺโฐ โยคกฺเขมา น ธํสติ
ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันเป็นสุข,
ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรมย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘

หมวดที่ ๒๑
๏ ทานวรรค - หมวดทาน

นตฺถิ จิตฺเต ปสนฺนมฺห อปฺปกา นาม ทกฺขิณา
เมื่อจิตเลื่อมใสแล้ว ทักขิณาทานชื่อว่าน้อยย่อมไม่มี
ขุ.วิมาน. ๒๖/๘๒

วิเจยฺย ทานํ สุคตปฺปสตฺถํ
การเลือกให้ อันพระสุคตทรงสรรเสริญ
สํ.ส. ๑๕/๓๐

พาลา หเว นปฺปสํสนฺติ ทานํ
คนพาลเท่านั้น ย่อมไม่สรรเสริญทาน
ขุ.ธ. ๒๕/๓๘

สุขสฺส ทาตา เมธาวี สุขํ โส อธิคจฺฉติ
ปราชญ์ผู้ให้ความสุข ย่อมได้รับความสุข
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๕

ททมาโน ปิโย โหติ
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๔๔

อคฺคสฺมึ ทานํ ททตํ อคฺคํ ปุญฺญํ ปวทฺฒติ
อคฺคํ อายุ จ วณฺโณ จ ยโส กิตฺติ สุขํ พลํ
เมื่อให้ทานในวัตถุอันเลิศ บุญอันเลิศ อายุ
วรรณะ ยศ เกียรติ สุข และ กำลังอันเลิศ ก็เจริญ
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๙

อคฺคทายี วรทายี เสฏฺฐทายี จ โย นโร
ทีฆายุ ยสวา โหติ ยตฺถ ยตฺถูปปชฺชติ
ผู้ให้สิ่งที่เลิศ ให้สิ่งที่ดี ให้สิ่งที่ประเสริฐ
ย่อมเป็นผู้มีอายุยืน มียศ ในภพที่ตนเกิด
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖

ททํ มิตฺตานิ คนฺถต
ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้
สํ.ส. ๑๕/๓๑๖

เสฏฐนฺทโท เสฏฐมุเปติ ฐานํ
ผู้ให้สิ่งประเสริฐ ย่อมถึงฐานะที่ประเสริฐ
องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕

หมวดที่ ๒๒
๏ สีลวรรค - หมวดศีล

สีลํ ยาว ชรา สาธุ
ศีลยังประโยชน์ให้สำเร็จตราบเท่าชรา
สํ.ส. ๑๕/๕๐

สีลํ กิเรว กลฺยาณํ
ท่านว่าศีลนั้นเทียวเป็นความดี
ขุ.ชา.เอก. ๒๗/๒๘
สํวาเสน สีลํ เวทิตพฺพํ
ศีลพึงรู้ได้เพราะอยู่ร่วมกัน
นัย ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๘

สาธุ สพฺพตฺถ สํวโร
ความสำรวมในที่ทั้งปวงเป็นดี
สํ.ส. ๑๕/๑๐๖
สีลํ รกฺเขยฺย เมธาวี
ปราชญ์พึงรักษาศีล
ขุ.อิติ. ๒๕/๒๘๒

อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
สฺขํ ยาว ชรา สีลํ
ศีลนำสุขมาให้ตราบเท่าชรา
ขุ.ธ. ๒๕/๕๙

อวณฺณญฺจ อกิตฺติญฺจ ทุสฺสีโล ลภเต นโร
วณฺณํ กิตฺตึ ปสํสญฺจ สทา ลภติ สีลวา
คนผู้ทุศีลย่อมได้รับความติเตียน และความเสียชื่อเสียง
ส่วนผู้มีศีลย่อมได้รับชื่อเสียงและความยกย่องสรรเสริญทุกเมื่อ
(สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๗


หมวดที่ ๒๓
๏ ปัญญาวรรค - หมวดปัญญา

นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา
แสงสว่างเสมอด้วยปัญญา ไม่มี
สํ.ส. ๑๕/๕

ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
สํ.ส. ๑๕/๖๑

สุโข ปญฺญาย ปฏิลาโภ
การได้เฉพาะซึ่งปัญญานำมาซึ่งความสุข
ขุ.ธ. ๒๕/๓๓/๕๙

ปญฺญา นรานํ รตนํ
ปัญญาเป็นรัตนะของนรชน
สํ.ส. ๑๕/๕๐

ปญฺญาว ธเนน เสยฺโย
ปัญญาเทียวประเสริฐกว่าทรัพย์
ขุ.เถร. ๒๖/๓๘๘/๓๗๙

นตฺถิ ฌานํ อปญฺญสฺส
ความพินิจไม่มีแก่คนไร้ปัญญา (ฌานไม่มีแก่ผู้ไม่มีปัญญา)
ขุ.ธ. ๒๕/๖๕
นตฺถิ ปญฺญา อฌายโต
ปัญญาไม่มีแก่ผู้ไม่พินิจ
ขุ.ธ. ๒๕/๖๕

ปญฺญา เจนํ ปสาสติ
ปัญญาย่อมปกครองคนนั้น
สํ.ส. ๑๕/๑๗๕/๕๒

หมวดที่ ๒๔
๏ ปกิณณกวรรค - หมวดเบ็ดเตล็ด

อจินฺติตมฺปิ ภวติ จินฺติตมฺปิ วินสฺสติ
น หิ จินฺตามยา โภคา อิตฺถิยา ปุริสสฺส วา
สิ่งที่ไม่ได้คิดไว้ ย่อมมีได้, สิ่งที่คิดไว้ ก็เสียหายได้,
โภคะของสตรีหรือบุรุษที่สำเร็จได้ด้วยนึกเอาไม่มีเลย
(มหาชนกโพธิสตฺต) ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๑๖๗

อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา นตฺถิ กามา ปรํ ทุกฺขํ
เย กาเม ปฏิเสวนฺติ นิรยนฺเต อุปปชฺชเร
กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี
ผู้ใดส้องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕

อพฺยาปชฺโฌ สิยา เอวํ สจฺจวาที จ มาณโว
อสฺมา โลกา ปรํ โลกํ เอวํ เปจฺจ น โสจติ
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้
ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
ขุ.ชา.มหา. ๒๘/๓๓๒

อลโส คิหี กามโภคี น สาธุ อสญฺญโต ปพฺพชิโต น สาธุ
ราชา น สาธุ อนิสมฺมการี โย ปณฺฑิโต โกธโน ตํ น สาธุ
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี,
พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๔๖

อสาเร สารมติโน สาเร จาสารทสฺสิโน
เต สารํ นาธิคจฺฉนฺติ มิจฺฉาสงฺกปฺปโคจรา
ผู้เข้าใจสิ่งที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ และเห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ
เขามีความดำริผิดเป็นโคจร จึงไม่ประสบสิ่งที่เป็นสาระ
ขุ.ธ. ๒๕/๑๖

อตีตํ นานุโสจนฺติ นปฺปชปฺปนฺติ นาคตํ
ปจฺจุปฺปนฺเนน ยาเปนฺติ เตน วณฺโณ ปสีทติ
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง,
ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้น ผิวพรรณย่อมผ่องใส
สํ.ส. 














ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น