วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นตรี เนื้อหาวิชาธรรมวิภาค (แบบสรุป ฉบับเตรียมสอบ)

เนื้อหาวิชาธรรม  นักธรรมศึกษาชั้นตรี


ทุกะ คือ หมวด  ๒
ธรรมมีอุปการะมาก  ๒  อย่าง
 ๑.  สติ  ความระลึกได้                                    ๒ . สัมปชัญญะ  ความรู้ตัว

ธรรมเป็นโลกบาล  คือ คุ้มครองโลก  ๒  อย่าง
             ๑.  หิริ  ความละอายแก่ใจ              ๒.  โอตตัปปะ  ความเกรงกลัว

ธรรมอันทำให้งาม  ๒  อย่าง
๑.  ขันติ  ความอดทน                      ๒.  โสรัจจะ   ความเสงี่ยม

บุคคลหาได้ยาก  ๒  อย่าง
๑.      บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ๒. กตัญญูกตเวทีบุคคลผู้รู้อุปการะที่ท่านทำแล้วและตอบแทน


ติกะ  คือ  หมวด  ๓
รตนะ  ๓  อย่าง
พระพุทธ  ๑  พระธรรม  ๑  พระสงฆ์  ๑

โอวาทของพระพุทธเจ้า  ๓  อย่าง
           ๑.  เว้นจากทุจริต  คือประพฤติชั่วด้วยกาย  วาจา  ใจ 
๒.  ประกอบสุจริต  คือประพฤติชอบ  ด้วยกาย  วาจา  ใจ   
๓.  ทำใจของตนให้หมดจดจากเครื่องเศร้าหมองใจ  มีโลภ โกรธ หลง เป็นต้น

ทุจริต  ๓  อย่าง
                ๑.  ประพฤติชั่วด้วยกาย      เรียก  กายทุจริต   
๒.  ประพฤติชั่วด้วยวาจา    เรียก  วจีทุจริต 
๓.  ประพฤติชั่วด้วยใจ        เรียก  มโนทุจริต

กายทุจริต  ๓  อย่าง
ฆ่าสัตว์  ๑            ลักฉ้อ  ๑               ประพฤติผิดในกาม  ๑

วจีทุจริต  ๔  อย่าง
พูดเท็จ  ๑             พูดส่อเสียด  ๑     พูดคำหยาบ  ๑    พูดเพ้อเจ้อ  ๑

มโนทุจริต  ๓  อย่าง
โลภอยากได้ของเขา  ๑    พยาบาทปองร้ายเขา  ๑     เห็นผิดจากคลองธรรม  ๑   
          ทุจริต  (ความประพฤติชั่ว)  ๓  อย่างนี้ เป็นสิ่งไม่ควรทำ  ควรละเสีย    

สุจริต  ๓  อย่าง
             ๑  ประพฤติชอบด้วยกาย  เรียก  กายสุจริต                 
๒.  ประพฤติชอบด้วยวาจา เรียก  วจีสุจริต  
๓.  ประพฤติชอบด้วยใจ   เรียก  มโนสุจริต

กายสุจริต   ๓  อย่าง
เว้นจากฆ่าสัตว์  ๑  เว้นจากลักฉ้อ  ๑  เว้นจากประพฤติผิดในกาม  ๑

วจีสุจริต  ๔  อย่าง
เว้นจากพูดเท็จ ๑   เว้นจากพูดส่อเสียด ๑   เว้นจากพูดคำหยาบ ๑   เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ  ๑

มโนสุจริต  ๓  อย่าง
ไม่โลภอยากได้ของเขา  ๑  ไม่พยาบาทปองร้ายเขา  ๑  เห็นชอบตามคลองธรรม  ๑
สุจริต  (ความประพฤติชอบ)  ๓  อย่างนี้  เป็นกิจควรทำ  ควรประพฤติ

อกุศลมูล  ๓  อย่าง
         รากเหง้าของอกุศล  เรียกอกุศลมูล  มี ๓  อย่าง คือ  
โลภะ อยากได้๑  โทสะ คิดประทุษร้ายเขา  ๑              โมหะ หลงไม่รู้จริง  ๑

กุศลมูล  ๓  อย่าง
         รากเหง้าของกุศล   เรียกกุศลมูล    มี    ๓   อย่าง   คือ    
อโลภะ    ไม่อยากได้  ๑   อโทสะ    ไม่คิดประทุษร้ายเขา  ๑    อโมหะ  ไม่หลง  ๑           
          
สัปปุริสบัญญัติ   คือข้อที่ท่านสัตบุรุษตั้งไว้  ๓  อย่าง
                ๑.  ทาน  สละสิ่งของของตน  เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น  
๒.  ปัพพัชชา   ถือบวช   เป็นอุบายเว้นจากการเบียดเบียนกันและกัน  
๓.  มาตาปิตุอุปัฏฐาน  ปฏิบัติมารดา  บิดาของตนให้เป็นสุข

บุญกิริยาวัตถุ  ๓  อย่าง
         สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ  เรียกบุญกิริยาวัตถุ   โดยย่อมี  ๓  อย่าง
                ๑.  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน  
๒.  สีลมัย   บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 
๓.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
      
  บุญ  มีความหมาย  ๒  ประการ  คือ 
๑.  เครื่องชำระสิ่งที่ไม่ดีที่นอนเนื่องอยู่ในใจ              ๒.  สภาพที่ก่อให้เกิดความน่าบูชา


จตุกกะ  คือ  หมวด  ๔
วุฑฒิ  คือ  ธรรมเป็นเครื่องเจริญ  ๔  อย่าง
          ๑.  สัปปุริสูปสังเสวะ  คบท่านผู้ประพฤติชอบด้วยกาย  วาจา  ใจ  ที่เรียกว่า  สัตบุรุษ
          ๒.  สัทธัมมัสสวนะ  ฟังคำสอนของท่านโดยเคารพ
          ๓.  โยนิโสมนสิการ  ตริตรองให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือชั่วโดยอุบายที่ชอบ
          ๔.  ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ  ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว    
   
จักร  ๔
             ๑.  ปฏิรูปเทสวาสะ  อยู่ในประเทศอันสมควร           
  ๒.  สัปปุริสูปัสสยะ  คบสัตบุรุษ
๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ  
๔. ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้กระทำความดีไว้ในปางก่อน

อคติ  ๔
                ๑.  ลำเอียง เพราะรักใคร่กัน เรียกฉันทาคติ 
๒.  ลำเอียง  เพราะไม่ชอบกัน  เรียกโทสาคติ
                ๓.  ลำเอียง  เพราะเขลา  เรียกโมหาคติ   
๔.  ลำเอียง  เพราะกลัว  เรียกภยาคติ
               อคติ  ๔  ประการนี้  ไม่ควรประพฤติ

ปธาน  คือความเพียร  ๔  อย่าง
                ๑.  สังวรปธาน  เพียรระวังบาปไม่ให้เกิดขึ้นในสันดาน 
๒.  ปหานปธาน  เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
                ๓.  ภาวนาปธาน  เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน   
๔.  อนุรักขนาปธาน  เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

อธิษฐานธรรม    ๔   คือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ  ๔  อย่าง
                            ๑.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่ควรรู้   
           ๒.  สัจจะ  ความจริงใจ  คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
           ๓.  จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ  สละกิเลส  
          ๔.  อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ

อิทธิบาท   คือ  คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์  ๔  อย่าง
                ๑.  ฉันทะ  พอใจรักใคร่ ในสิ่งนั้น 
๒.  วิริยะ  เพียรประกอบสิ่งนั้น
                ๓.  จิตตะเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
๔. วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น
          คุณ  ๔  อย่างนี้  มีบริบูรณ์แล้วอาจชักนำบุคคลให้ถึงสิ่งที่ต้องประสงค์  ซึ่งไม่เหลือวิสัย

ควรทำความไม่ประมาทในที่  ๔  สถาน
             ๑.  ในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต                
๒.  ในการละวจีทุจริต  ประพฤติวจีสุจริต
             ๓. ในการละมโนทุจริต ประพฤติมโนสุจริต   
๔. ในการละความเห็นผิด ทำความเห็นให้ถูก
อีกอย่างหนึ่ง
             ๑.  ระวังใจไม่ให้กำหนัด  ในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
             ๒.  ระวังใจไม่ให้ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง
             ๓.  ระวังใจไม่ให้หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง
             ๔.  ระวังใจไม่ให้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา

ความประมาท  คือความขาดสติอันก่อให้เกิดผลเสีย  ๓  ประการ  คือ
             ๑.  ให้เกิดการทำความชั่ว     ๒.  ให้หลงลืมทำความดี   ๓.  ไม่ทำความดีอย่างต่อเนื่อง
ความไม่ประมาท  คือความมีสติกำกับใจอยู่เสมอ ให้เกิดความคิดเป็นกุศล  ดังนี้
            ๑.  ไม่ทำความชั่ว  ๒.  ไม่ลืมทำความดี  ๓.  ทำความดีให้ดียิ่งขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง
เมื่อสรุปคำสอนทั้ง  ๒  นัย  นี้  ย่อมได้ความไม่ประมาท  ๓  ประการ  คือ
            ๑. ระวังอย่าไปทำความชั่ว  ๒. อย่าลืมทำความดี  ๓.อย่าปล่อยใจให้ไปคิดเรื่องบาปเรื่องอกุศล

พรหมวิหาร  ๔
               ๑. เมตตา ความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข 
๒. กรุณา ความสงสาร คิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
                ๓.  มุทิตา ความพลอยยินดี  เมื่อผู้อื่นได้ดี      
๔. อุเบกขา ความวางเฉย ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นถึงความวิบัติ

อริยสัจ  ๔
                 ๑.  ทุกข์  ความไม่สบายกาย  ไม่สบายใจ 
๒.  สมุทัย  คือเหตุให้ทุกข์เกิด
                ๓.  นิโรธ  คือความดับทุกข์   
                ๔.  มรรค  คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์


ปัญจกะ คือ  หมวด  ๕
อนันตริยกรรม  ๕
                            ๑.  มาตุฆาต  ฆ่ามารดา   
           ๒.  ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา 
            ๓.  อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์ 
                            ๔.  โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป
                            ๕.  สังฆเภท  ยังสงฆ์ให้เแตกจากกัน

อภิณหปัจจเวกขณะ  ๕
            ๑.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความแก่เป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
            ๒.  ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้
            ๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เรามีความตายเป็นธรรมดา  ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
            ๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า  เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
            ๕.   ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า    เรามีกรรมเป็นของตัว   เราทำดีจักได้ดี   ทำชั่วจักได้ชั่ว

ธัมมัสสวนานิสงส์   คือ  อานิสงส์แห่งการฟังธรรม  ๕  อย่าง
                ๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง   
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด      
๓.  บรรเทาความสงสัยเสียได้  
                ๔.  ทำความเห็นให้ถูกต้องได้ 
๕.  จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส

พละ  คือธรรมเป็นกำลัง  ๕  อย่าง
             ๑.  สัทธา  ความเชื่อ                          
             ๒.  วิริยะ ความเพียร                        
             ๓. สติ ความระลึกได้ 
              ๔.  สมาธิ ความตั้งใจมั่น              
               ๕.  ปัญญา   ความรอบรู้      
อินทรีย์  ๕  ก็เรียก   เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน

ขันธ์   ๕
             กายกับใจนี้แบ่งออกเป็น  ๕   กอง  เรียกว่า  ขันธ์  ๕   คือ   
๑.  รูป                   
๒.  เวทนา          
๓. สัญญา           
  ๔. สังขาร          
 ๕.  วิญญาณ



ฉักกะ   คือ หมวด  ๖
คารวะ  ๖  อย่าง
             ความเอื้อเฟื้อ      
ในพระพุทธเจ้า  ๑  
ในพระธรรม  ๑  
ในพระสงฆ์  ๑  
ในความศึกษา  ๑   
ในความไม่ประมาท    
ในปฏิสันถารคือต้อนรับปราศรัย 

สาราณิยธรรม  ๖  อย่าง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง  เรียก  สาราณิยธรรม มี  ๖  อย่าง  คือ

            ๑.  เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตา  ในเพื่อนภิกษุสามเณร  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยกายมีพยาบาลภิกษุไข้     เป็นต้น  ด้วยจิตเมตตา
            ๒.  เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร     ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือช่วยขวนขวายในกิจธุระของเพื่อนด้วยวาจา  เช่นกล่าวสั่งสอน  เป็นต้น
           ๓.  เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในเพื่อนภิกษุสามเณร  ทั้งต่อหน้าและลับหลัง  คือคิดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เพื่อนกัน
           ๔.  แบ่งปันลาภที่ตนได้มาโดยชอบธรรม  ให้แก่เพื่อนภิกษุสามเณร  ไม่หวงไว้บริโภคจำเพาะผู้เดียว
           ๕. รักษาศีลให้บริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนภิกษุสามเณรอื่น ๆ ไม่ทำตนให้เป็นที่รังเกียจของผู้อื่น
           ๖.  มีความเห็นร่วมกันกับภิกษุสามเณรอื่น ๆ  ไม่วิวาทกับใคร ๆ  เพราะมีความเห็นผิดกัน


สัตตกะ  คือ  หมวด  ๗
อริยทรัพย์  ๗   ทรัพย์ คือ  คุณความดีที่มีในสันดานอย่างประเสริฐ  เรียกอริยทรัพย์  มี ๗ อย่าง  คือ

           ๑.  สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ 
                ๒.  ศีล  รักษากาย วาจา  ให้เรียบร้อย 
๓.  หิริ   ความละอายต่อบาปทุจริต
           ๔.  โอตตัปปะ   สะดุ้งกลัวต่อบาป 
๕.  พาหุสัจจะ   ความเป็นคนเคยได้ยินได้ฟังมามาก  คือทรงจำธรรม และรู้ศิลปวิทยามาก    
๖.  จาคะ   สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน 
๗.  ปัญญา  รอบรู้สิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์
อริยทรัพย์  ๗  ประการนี้  ดีกว่าทรัพย์ภายนอก  มีเงินทอง  เป็นต้น  ควรแสวงหาไว้ให้มีในสันดาน
สัปปุริสธรรม  ๗  อย่าง  ธรรมของสัตบุรุษ  เรียกว่า  สัปปุริสธรรม  มี  ๗  อย่าง  คือ
           ๑.  ธัมมัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักเหตุ  เช่นรู้จักว่า  สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุขสิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์
           ๒.  อัตถัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักผล  เช่นรู้จักว่าสุขเป็นผลแห่งเหตุอันนี้  ทุกข์เป็นผลแห่งเหตุอันนี้
           ๓.   อัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักตนว่า  เราว่าโดยชาติ  ตระกูล  ยศศักดิ์  สมบัติ  บริวาร  ความรู้  และคุณธรรมเพียงเท่านี้   แล้วประพฤติตนให้สมควรแก่ที่เป็นอยู่   อย่างไร
           ๔.   มัตตัญญุตา  ความเป็นผู้รู้ประมาณในการแสวงหาเครื่องเลี้ยง ชีวิตแต่โดยทางที่ชอบ  และรู้จักประมาณในการ บริโภคแต่พอสมควร
           ๕.   กาลัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักกาลเวลาอันสมควรในอันประกอบกิจนั้น ๆ
           ๖.   ปริสัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน  และกิริยาที่จะต้องประพฤติต่อประชุมชนนั้น ๆ  ว่า  หมู่นี้เมื่อเข้าไปหา   จะต้องทำกิริยาอย่างนี้  จะต้องพูดอย่างนี้  เป็นต้น
           ๗.   ปุคคลปโรปรัญญุตา  ความเป็นผู้รู้จักเลือกบุคคลว่า  ผู้นี้เป็นคนดีควรคบ  ผู้นี้เป็นคนไม่ดีไม่ควรคบ  เป็นต้น


อัฏฐกะ  คือ  หมวด  ๘
โลกธรรม  ๘  ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่  และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น  เรียกว่า  โลกธรรม

โลกธรรมนั้น  มี  ๘  อย่าง  คือ
มีลาภ ๑ 
ไม่มีลาภ ๑  
มียศ ๑  
ไม่มียศ ๑  
นินทา  ๑  
สรรเสริญ  ๑  
สุข  ๑  
ทุกข์  ๑

โลกธรรม  ๘  นี้  ท่านแบ่งออกเป็น  ๒  ฝ่าย 
ที่ดี  คือ  มีลาภ  มียศ  สรรเสริญ  สุข  เรียกว่า   อิฏฐารมณ์  แปลว่า  อารมณ์ที่น่าปรารถนา  ๑ 
ที่ไม่ดี  คือ  ไม่มีลาภ  ไม่มียศ  นินทา  ทุกข์  เรียกว่า  อนิฏฐารมณ์    แปลว่า  อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา  ๑


ทสกะ  คือ  หมวด  ๑๐
บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  อย่าง
            ๑.   ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน                 
๒.  สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓.   ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา          
๔.   อปจายนมัย  บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่    
๕.    เวยยาวัจจมัย  บุญสำเร็จด้วยการช่วยขวนขวายในกิจที่ชอบ   
๖.   ปัตติทานมัย   บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ 
๗.   ปัตตานุโมทนามัย  บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ      
๘.     ธัมมัสสวนมัย     บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม          
๙.   ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม 
๑๐.   ทิฏฐุชุกัมมะ    การทำความเห็นให้ตรง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น