วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

พุทธศาสนสุภาษิต


พุทธศาสนสุภาษิต
. อัตตวรรค คือหมวดตน
                                 .           อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ                         โก หิ นาโถ ปโร สิยา
อตฺตนา หิ สทนฺเตน                               นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ  (ขุ..๒๕/๒๖)
                ตนแล เป็นที่พึ่งของตน คนอื่น ใครเล่าจะเป็นที่พึ่งได้ ก็บุคคลมีตนฝึกดีแล้ว
ย่อมได้ที่พึ่งที่ได้ยาก. (พุทฺธ) ขุ..๒๕/๒๖
.           นตฺถิ อตฺตสมํ เปมํ                  นตฺถิ ธญฺญสมํ ธนํ
                                                นตฺถิ ปญฺญาสมา อาภา                           วุฏฺฐิ เว ปรมา สรา
                                สิ่งที่รัก (อื่น) เสมอด้วยตนไม่มี, ทรัพย์ (อื่น) เสมอด้วยข้าวเปลือก ไม่มี,
แสงสว่าง (อื่น) เสมอด้วยปัญญา ไม่มี, ฝนแล เป็นสระอย่างยิ่ง. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/
.           ยสฺส อจฺจนฺตทุสฺสีลฺยํ                             มาลุวา สาลมิโวตฺถตํ
                                                                กโรติ โส ตถตฺตานํ                                ยถา นํ อิจฺฉตี ทิโส
                                ผู้ใดมีความไร้ศีลธรรมครอบคลุม เหมือนย่านทรายคลุมไม้สาละ
ผู้นั้นชื่อว่าทำตนเหมือนถูกผู้ร้ายคุมตัว (พุทฺธ) ขุ..๒๕/๓๗
. อัปปมาทวรรค  คือ หมวดไม่ประมาท
.           อปฺปมตฺตา สตีมนฺโต                             สุสีลา โหถ ภิกฺขโว
                                                                สุสมาหิตสงฺกปฺปา                  สจิตฺตมนุรกฺขถ
                                ภิกฺษุทั้งหลาย พวกเธอจงเป็นผู้ไม่ประมาท มีสติ มีศีลดีงาม ตั้งความดำริไว้ให้ดี
คอยรักษาจิตใจของตน. (พุทฺธ) ที.มหา. ๑๐/๑๔๒
.           อปฺปมาทรตา โหถ                สจิตฺตมนุรกฺขถ
                                                                ทุคฺคา อุทฺธรถตฺตานํ              ปงฺเก สนฺโนว กุญฺชโร
                ท่านทั้งหลาย จงยินดีในความไม่ประมาท คอยรักษาจิตของตน จงถอนตนขึ้นจากหล่ม
เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๕๘
.            อปฺปมาทรโต ภิกฺขุ                ปมาเท ภยทสฺสิ วา
                                                                สญฺโญชนํ อณุํ ถูลํ ฑหํ อคฺคีว คจฺฉติ
                                ภิกษุยินดีในความไม่ประมาท หรือเป็นภัยในความไม่ประมาท ย่อมเผาสังโยชน์น้อยใหญ่ไป
เหมือนไฟไหม้เชื้อน้อยใหญ่ไป ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๑๙
.           อุฏฺฐาเนนปฺปมาเทน              สญฺญเมน ทเมน จ
                                                                ทีปํ กยิราถ เมธาวี  ยํ โอโฆ นาภิกีรติ
                คนมีปัญญา พึงสร้างเกาะ ที่น้ำหลากมาท่วมไม่ได้ ด้วยความหมั่น
ความไม่ประมาท ความสำรวม และความข่มใจ. (พุทฺธ) ขุ.. มหา. ๒๕/๑๘

. กัมมวรรค คือหมวดกรรม
๑๐           อุฏฺฐาตา กมฺมเธยฺเยสุ              อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ
                                สุสํวิหิตกมฺมนฺโต                   ส ราชวสตี วเส
                ผู้หมั่นในการงาน ไม่ประมาท เป็นผู้รอบคอบ จัดการงานเรียบร้อย,
จึงควรอยู่ในราชการ. (พุทฺธ) ขุ.ชา มหา. ๒๘/๓๓๙
๑๑.         ปาปญฺเจ ปุริโส กยิรา            น นํ กยิรา ปุนปฺปุนํ
                                                                น ตมฺหิ ฉนฺทํ กยิราถ             ทุกฺโข ปาปสฺส อุจจโย
                                ถ้าคนพึงทำบาป ก็ไม่ควรทำบาปนั้นบ่อยๆ ไม่ควรทำความพอใจในบาปนั้น
เพราะการสั่งสมบาป นำทุกข์มาให้. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๓๐
๑๒.        โยปุพฺเพ กตกลฺยาโณ            กตตฺโถ นาวพุชฺฌติ
                                                                ปจฺฉา กิจฺเจ สมุปฺปนฺเน          กตฺตารํ นาธิคจฺฉติ
                                ผู้อื่นทำความดีให้ ทำประโยชน์ให้ก่อน แต่ไม่สำนึกถึง(บุญคุณ) เมื่อมีกิจเกิดขึ้นภายหลัง
จะหาผู้ช่วยทำไม่ได้. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. เอก. ๒๗/๒๙
๑๓.         สพฺเพ ตสนฺติ ทณฺฑสฺส          สพฺเพ ภายนฺติ มจฺจุโน
                                                                อตฺตานํ อุปมํ กตฺวา                น หเนยฺย น ฆาตเย
                                สัตว์ทั้งปวง หวาดต่ออาญา ล้วนกลัวต่อความตาย ควรทำตนให้เป็นอุปมาแล้ว ไม่ฆ่าเขาเอง
ไม่พึงให้ผู้อื่นฆ่า (ผู้อื่น) (พุทฺธขุ.. ๒๕/๓๒
. กิเลสวรรค คือหมวดกิเลส
๑๔.        อนิจฺจา อทฺธุวา กามา             พหุทุกฺขา มหาวิสา
                                                                อโยคุโฬว สนฺตตฺโต             อฆมูลา ทุกฺขปฺผลา
กามทั้งหลาย ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน มีทุกข์มาก ดังก้อนเหล็กที่ร้อนจัด เป็นต้นเค้าแห่งความคับแค้น มีทุกข์เป็นผล. (สุเมธาเถรี) ขู.เถรี. ๒๖/๕๐๓
๑๕.         อวิชฺชาย นิวุโต โลโก           เววิจฺฉา (ปมาทา) นปฺปกาสติ
                                                                ชปฺปาภิเลปนํ พฺรูมิ                ทุกฺขมสฺส มหพฺพยํ
โลกถูกอวิชชาปิดบังแล้ว ไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่ (และความประมาท) เรากล่าวความอยากว่า เป็นเครื่องฉาบทาโลก ทุกข์เป็นภัยใหญ่ของโลกนั้น. (พุทฺธ) ขุ,สุ. ๒๕/๕๓๐
๑๖.         อิจฺฉาย พชฺฌตี โลโก             อิจฺฉาวินยาย มุจฺจติ
                                                                อิจฺฉาย วิปฺปหาเนน               สพฺพํ ฉินฺทติ พนฺธนํ
                โลกถูกความอยากผูกมัดไว้ จะหลุดได้เพราะกำจัดความอยาก,
เพราะละความอยากได้เสีย จึงชื่อว่าตัดเครื่องผูกทั้งปวงได้. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๕๖
๑๗.         อิจฺฉา นรํ ปริถสฺสติ               อิจฺฉา โลกสมิ ทุชฺชหา
                                                                อิจฺฉา พทฺธา ปุถู สตฺตา          ปาเสน สกุณึ ยถา
                ความอยากย่อมชักลากนรชนไป ความอยากละได้ยากในโลกสัตว์เป็นอันมาก ถูกความอยาก
ผูกมัดไว้ ดุจนางนกถูกบ่วงรัดไว้ฉะนั้น. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๖๑
๑๘.         อุเปกฺขโก สทา สโต              น โลเก มญฺญตี สมํ
                                                                น วิสเสสี น นีเจยฺโย              ตสฺส โน สนฺติ อุสฺสทา
                                ผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ ไม่สำคัญตนว่าเสมอเขา ว่าดีกว่าเขา ว่าต่ำกว่าเขาในโลก,
ผู้นั้นชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่องฟูขึ้น. (พุทฺธ) ขุ. มหา. ๒๙/๒๘๙
๑๙.         อุจฺฉินฺนภวตณฺหสฺส               สนฺตจิตสฺส ภิกฺขุโน
                                                                วิกฺขีโณ ชาติสํสาโร               นตฺถิ ตสฺส ปนพฺภโว
                ภิกษุผู้ถอนภวตัณหาได้แล้ว มีจิตสงบแล้ว สิ้นความเวียนเกิดแล้ว
ย่อมไม่มีภพอีก. (พุทฺธ) ขุ.อุ. ๒๕/๑๔๓
๒๐.        กามา หิ จิตฺรา มธุรา มโนรมา
                                                                วิรูปรูเปน มเถนฺติ จิตฺตํ
                                                                อาทีนวํ กามคุเณสุ ทิสฺวา
                                                                เอโก จเร ขคฺควิสาณกปฺโป
กามทั้งหลาย ตระการหวานชื่นใจ ย่อย่ำยีจิตโดยรูปร่างต่างๆ กัน บุคคลพึงเห็นโทษในกามคุณแล้ว เที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๓๔
๒๑.        โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
                                                                สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
                                                                ตํ นามรูปสฺมิมสชฺชมานํ
                                                                อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ สงฺคา
                บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) เครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมไม่ติดตามผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๓๕๐
๒๒.       โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
                                                                สญฺโญชนํ สพฺพมติกฺกเมยฺย
                                                                ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ
                                                                อกิญฺจนํ นานูปตนฺติ ทุกฺขา
                บุคคลพึงละความโกรธ พึงเลิกถือตัว พึงก้าวล่วงสังโยชน์ทั้งปวง (เพราะ) ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่
ติดตามผู้ไม่ข้องอยู่ในนามรูป ไม่มีกังวลนั้น. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๔๔
๒๓.        ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
                                สตฺโต สํสารมาปาทิ               ทุกฺขา น ปริมุจฺจติ
                ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไป
จึงไม่พ้นจากทุกข์. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๕๑
๒๔.       ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
                                                                สตฺโต สํสารมาปาทิ               ทุกฺขมสฺส มหพฺภยํ
                                ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไปจึงมีทุกข์เป็นภัยใหญ่.
(พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๕๑
๒๕.        ตณฺหา ชเนติ ปุริสํ จิตฺตมสฺส วิธาวติ
                                                                สตฺโต สํสารมาปาทิ               กมฺมํ ตสฺส ปรายนํ
                                ตัณหายังคนให้เกิด จิตของเขาย่อมวิ่งพล่าน สัตว์ยังท่องเที่ยวไปจึงยังมีกรรมนำหน้า.
(พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๕๑
๒๖.        นิราสตฺตี อนาคเต อตีตํ นานุโสจติ
                                                                วิเวกทสฺสี ผสฺเสสุ   ทุฏฺฐีสุ จ น นิยฺยติ
                ผู้ไม่คำนึงถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ย่อมไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว
ผู้เห็นความสงัดในผัสสะทั้งหลาย ย่อมไม่ถูกชักนำไปในทิฏฐิทั้งหลาย. (พุทธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๐๐,
ขุ.มหา. ๒๙/๒๖๔,๒๖๗
๒๗.        ปุราณํ นาภินนฺเทยฺย               นเว ขนฺติมกุพฺพเย
                                                                หิยฺยมาเน น โสเจยฺย              อากาสํ น สีโต สิยา
                                ไม่พึงเพลิดเพลินของเก่า ไม่พึงทำความพอใจในของใหม่ เมื่อสิ่งนั้นเสื่อมไป
ก็ไม่พึงเศร้าโศก ไม่พึงอาศัยตัณหา. (พุทธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๑๘
๒๘.        มจฺจุนาพฺภาหโต โลโก          ชราย ปริวาริโต
                                ตณฺหาสลฺเลน โอติณฺโณ        อิจฺฉาธุปายิโต สทา
                สัตว์โลกถูกมฤตยูขจัดแล้ว ถูกชราล้อมไว้ ถูกลูกศร คือตัณหาเสียบแล้ว
ถูกอิจฺฉาคุกรุ่นแล้วทุกเมื่อ. (พุทธ) สํ.. ๑๕/๕๕
๒๙.        มุฬฺโห อตฺถํ น ชานาติ           มูฬฺโห ธมฺมํ น ปสฺสติ
                                                                อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โมโห สหเต นรํ
                ผู้หลงย่อมไม่รู้อรรถ ผู้หลงย่อมไม่เห็นธรรม ความหลงครอบงำคนใดเมื่อใด
ความมืดมิดย่อมมีเมื่อนั้น. (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๖
๓๐.         ลุทฺโธ อตฺถํ น ชานาติ            ลุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
                                                                อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ
ผู้โลภ ย่อมไม่รู้อรรถ ผู้โลภ ย่อมไม่เห็นธรรม, ความโลภเข้าครอบงำคนใด เมื่อใด ความมืดมิดย่อมมี เมื่อนั้น. (พุทฺโธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๙๕, ขุ.มหา. ๒๙/๑๗
๓๑.         วนํ ฉินฺทถ มา รุกฺขํ                วนโต ชายตี ภยํ
                                เฉตฺวา วนญฺจ วนถญฺจ           นิพฺพนา โหถ ภิกฺขโว
                ท่านทั้งงหลายจงตัดป่า (กิเลส) อย่าตัดต้นไม้, ภัยย่อมเกิดจากป่า ภิกษุทั้งหลาย
พวกท่านจงตัดป่า และสิ่งที่ตั้งอยู่ในป่าแล้ว เป็นผู้ไม่มีป่าเถิด. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๕๒


. ขันติวรรค คือหมวดอดทน
๓๒.        ขนฺติ ธีรสฺส ลงฺกาโร              ขนฺติ ตโป ตปสฺสิโน
                                ขนฺติ พลํ ว ยตีนํ                     ขนฺติ หิตสุขาวหา
                ขันติ เป็นเครื่องประดับของนักปราชญ์ ขันติเป็นตบะของผู้พากเพียร ขันติเป็นกำลังของนักพรต
ขันตินำประโยชน์สุขมาให้. ..๒๒
๓๓.        น สุทฺธิ เสจเนน อตฺถิ             นปิ เกวลี พฺราหฺมโณ
                                                                น เจว ขนฺติ โสรจฺจ                นปิ โส ปรินิพฺพุโต
                ความบริสุทธิ์ก็ดี ผู้ที่จะประเสริฐล้วนก็ดี  ขันติและโสรัจจะก็ดี จะเป็นผู้เย็นสนิทก็ดี
ย่อมไม่มี เพราะการชำระล้าง (ด้วยน้ำ) (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. ปกิณฺณก. ๒๗/๓๗๖
๓๔.        นเหตมตฺถํ มหตีปิ เสนา        
                                                                สราชิกา ยุชฺฌมานา ลเภถ
                ยํ ขนฺติมา สปฺปุริโส ลเภถ
                ขนฺติ ผลสฺสูปสมนฺติ เวรา
เสนาแม้หมู่ใหญ่ พร้อมด้วยพระราชา รบอยู่ ไม่พึงได้ประโยชน์ ที่สัตบุรุษผู้มีขันติพึงได้(เพราะว่า) เวรทั้งหลายของผู้มีขันติเป็นกำลังย่อมสงบระงับ (โพธิสตฺต) ขุ.ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๓๘
. จิตตวรรค  คือหมวดจิต
๓๕.        อนวสฺสุตจิตฺตสฺส                   อนนฺวาหตเจตโส
ปุญฺญปาปปหีนสฺส                นตฺถิ ชาครโต ภยํ
                ผู้มีจิตอันไม่ชุ่มด้วยราคะ  มีใจอันโทสะไม่กระทบแล้ว มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ตื่นอยู่ ย่อมไม่
มีภัย. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๒๐
๓๖.         กุมฺภูปมํ กายมิมํ วิทิตฺวา
                                                                นครูปมํ จิตฺตมิทํ ถเกตฺวา
                                                                โยเธถ มารํ ปญฺญาวุเธน
                                                                ชิตญฺจ รกฺเข อนิเวสโน สิยา
                                บุคคลรู้กายนี้ที่เปรียบด้วยหม้อ กั้นจิตที่เปรียบด้วยเมืองนี้แล้ว พึงรบมารด้วยอาวุธ
คือปัญญา และพึงรักษาแนวที่ชนะไว้ ไม่พึงยับยั้งอยู่. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๒๐
๓๗.        จิตฺเตน นียติ โลโก                จิตฺเตน ปริกสฺสติ
                จิตฺตสฺส เอกธมฺมสฺส               สพฺเพว วสมนฺวคู
                โลกถูกจิตนำไป ถูกจิตชักไป, สัตว์ทั้งปวงไปสู่อำนาจแห่งจิตอย่างเดียว. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๕๔
๓๘.        ตณฺหาธิปนฺนา วตฺตสีลพทฺธา
                ลูข ตป วสฺสสตํ จรนฺตา
                จิตฺตญฺจ เนสํ น สมฺมา วิมุตฺตํ
                หีนตฺตรูปา น ปารงฺคมา เต
                ผู้ถูกตัณหาครอบงำ ถูกศีลพรตผูกมัด ประพฤติตบะอันเศร้าหมองตั้งร้อยปี,จิตของเขาก็หลุดพ้น
ด้วยดีไม่ได้ เขามีตนเลวจะถึงฝั่งไม่ได้. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๔๐
๓๙.         ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน             ยตฺถ กามนิปาติโน
                จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ                จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ
                การฝึกจิตที่ข่มยาก ที่เบา มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ เป็นความดี (เพราะว่า) จิตทีฝึกแล้วนำ
สุขมาให้. (พุทธ) ขุ.. ๒๕/๑๙
๔๐.         ปทุฏฺฐจิตฺตสฺส น ผาติ โหติ
                น จาปิ นํ เทวตา ปูชยนฺติ
                โย ภาตรํ เปตฺติกํ สาปเตยฺยํ
                อวญฺจยี ทุกฺกฏกมฺมการี
                ผู้ใดทำกรรมชั่ว ล่อลวงเอาทรัพย์สมบัติพี่น้องพ่อแม่ ผู้นั้น มีจิตชั่วร้าย ย่อมไม่มีความเจริญ
แม้เทวดาก็ไม่บูชาเขา. (นทีเทวดา) ขุ.. ๒๗/๑๒๐
๔๑.         โย อลีเนน จิตฺเตน อลีนมนโส นโร
                                                ภาเวติ กุสลํ ธมฺมํ    โยคคฺเขมสฺส ปตฺติยา
                                                                ปาปุเณ อนุปุพฺเพน                สพฺพสํโยชนกฺขยํ
                คนใดมีจิตไม่ท้อถอย มีใจไม่หดหู่ บำเพ็ญกุศลธรรม เพื่อบรรลุธรรมที่เกษมจากโยคะ
พึงบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นสังโยชน์ทั้งปวงได้. (พุทฺธ) ขุ.ชา.เอก ๒๗/๑๘
๔๒.        สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ                     ยตฺกามนิปาตินํ
                                                                จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ
                ผู้มีปัญญา พึงรักษาจิตที่เห็นได้ยากนัก ละเอียดนัก มักตกไปในอารมณ์ที่น่าใคร่ (เพราะว่า) จิต
ที่คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้. (พุทฺธขุ.. ๒๕/๑๙
. ทานวรรค คือหมวดทาน
๔๓.        อนฺนโท พลโท โหติ             วตฺถโท โหติ วณฺณโท
                                                ยานโท สุขโท โหติ               ทีปโท โหติ จกฺขุโท
                ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ผู้ให้ผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ผู้ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสุข ผู้ให้ประทีป
โคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๔๔
๔๔.        มนาปทายี ลภเต มนาเป
อคฺคสฺส ทาตา ลภเต ปุนคฺคํ
                วรสฺส ทาตา วรลาภี จ โหติ
                เสฏฺฐนฺทโท เสฏฺฐมุเปโต ฐานํ
                ผู้ให้ของชอบใจ ย่อมได้ของชอบใจ ผู้ให้ของเลิศ ย่อมได้ของเลิศ ผู้ให้ของดี ย่อมได้ของดี ผู้ให้
ของประเสริฐ ย่อมถึงฐานะอันปะเสริฐ. (พุทฺธ) องฺ.ปญฺจก. ๒๒/๕๖

. ธัมมวรรค คือหมวดธรรม
๔๕.        อาทานตณฺหํ วินเยถ สพฺพํ
                อุทฺธํ อโธ ติริยํ วาปิ มชฺเฌ
                ยํ ยํ หิ โลกสฺมึ อุปาทิยนฺติ
                เตเนว มาโร อนฺเวติ ชนฺตุ
                พึงขจัดตัณหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูงเบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง
เพราะเขาถือมั่นสิ่งใดๆในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป
เพราะสิ่งนั้นๆ. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๔๖, ขุ.จู. ๓๐/๒๐๒
๔๖.         โอวเทยฺยานุสาเสยฺย               อสพฺภา จ นิวารเย
                สตํ หิ โส ปิโย โหติ               อสตํ โหติ อปฺปิโย
                บุคคลควรเตือนกัน ควรสอนกัน และป้องกันจากคนไม่ดี เพราะเขาย่อมเป็นที่รักของคนดี
แต่ไม่เป็นที่รักของคนไม่ดี. (พุทธ) ขุ.. ๒๕/๒๕
๔๗.        จเช ธนํ องฺควรสฺส เหตุ
                องฺคํ จเช ชีวิตํ รกฺขมาโน
                องฺคํ ธนํ ชีวิตญฺจาปิ สพฺพํ
                จเช นโร ธมฺมมนุสฺสรนฺโต
                พึงสละทรัพย์เพื่อรักษาอวัยวะ, เมื่อรักษาชีวิตพึงสละอวัยวะ, เมื่อคำนึงถึงธรรม พึงสละอวัยวะ
ทรัพย์ และแม้ชีวิต ทุกอย่าง. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.อสีติ. ๒๘/๑๔๗
๔๘.        ฉนฺทชาโต อนกฺขาเต             มนสา จ ผุโฐ สิยา
                                กาเม จ อปฏิพทฺธจิตฺโต         อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ
พึงเป็นผู้พอใจ และประทับใจในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มี
กระแสอยู่เบื้องบน. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๔๔
๔๙.        ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา               สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
                                เอตํ ฆตฺวา ยถาภูตํ  นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ
                ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารเป็นทุกข์อย่างยิ่ง รู้ข้อนั้นตามเป็นจริงแล้ว ดับเสียได้
เป็นสุขอย่างยิ่ง. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๔๒
๕๐.         ชีรนฺติ เว ราชรถา สุจิตฺตา
                อโถ สรีรมฺปิ ชรํ อุเปติ
                สตญฺจ ธมฺโม น ชรํ อุเปติ
                สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ
                ราชรถอันงาม ย่อมคร่ำคร่า แม้ร่างกายก็เข้าถึงชรา ส่วนธรรมของสัตบุรุษย่อมไม่เข้าถึงชรา
สัตบุรุษกับสัตบุรุษเท่านั้น ย่อมรู้กันได้. (พุทธ) สํ.. ๑๕/๑๐๒
                                ๕๑.         ทุกฺขเมว  หิ  สมมฺโภติ                           ทุกฺขํ  ติฏฺฐติ  เวติ  จ
                                                                นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  สมฺโภติ     นาญฺญตฺร  ทุกฺขา  นิรุชฺฌติ
ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมไป นอกจากทุกข์ไม่มีอะรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ. (วชิราภิกขุนี) สํ.. ๑๕/๑๙๙, ขุ.มหา. ๒๙/๕๓๖
                                ๕๒.       นนฺทิสญฺโญชโน  โลโก                       วิตกฺกสฺส วิจารณา
                                                                ตณฺหาย  วิปฺปหาเนน                             นิพฺพานํ  อิติ  วุจฺจติ
สัตว์โลกมีความเพลินเปแนเครื่องผูกพัน มีวิตกเป็นเครื่องเที่ยวไป ท่านเรียกว่านิพพาน เพราะละตัณหาได้. (พุทธ) ขุ.. ๒๕/๕๔๗
                                ๕๓.        ปตฺตา  เต  นิพฺพานํ  เย  ยุตฺตา                ทสพลสฺส  ปาวจเน
                                                                อปฺโปสฺสุกฺกา  ฆเฏนฺติ                          ชาติมรณปิปหานาย
                                ผู้ใดประกอบในธรรมวินัยของพระทศพล มีความขวนขวายน้อย พากเพียร ละความเกิดความ
ตาย ผู้นั้นย่อมบรรลุพระนิพพาน. (สุเมธาเถร) ขุ.เถรี ๒๖/๕๐๒
                                                ๕๔.        มคฺคานฏฺฐงฺคิโก เสฏฺโฐ                         สจฺจานํ  จตุโร  ปทา
                                                วิราโค  เสฏฺโฐ  ธมฺมานํ                         ทิปาทานญฺจ  จกฺขุมา
บรรดาทางทั้งหลาย ทางมีองค์๘ ประเสริฐ บรรดาสัจจะทั้งหลาย บท ๔ ประเสริฐสุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคธรรมประเสริฐสุด และบรรดาสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย พระพุทธเจ้าผู้มีจักษุ ประเสริฐสุด.
(พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๕๑
๕๕.        เย  สนฺตจิตฺตา  นิปกา                             สติมนฺโต  จ  ฌายิโน
                                สมฺมา  ธมฺมํ  วิปสฺสนฺติ                          กาเมสุ  อนเปกฺขิโน
ผู้มีจิตสงบ มีปัญญารักษาตัว มีสติ เป็นผู้เพ่งพินิจ ไม่เยื่อใยในกาม ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ.
(พุทฺธ) ขุ.อิติ.๒๕/๒๖๐
๕๖.         หีนํ   ธมฺมํ  น  เสเวยฺย                             ปมาเทน  น  สํวเส
                                มิจฺฉาทิฏฺฐิ  น  เสเวยฺย                            น  สิยา  โลกวพฺฒโน
ไม่ควรเสพธรรมที่เลว ไม่ควรอยู่ด้วยความไม่ประมาท ไม่ควรเสพมิจฉาทิฏฐิ ไม่ควรเป็นคนรกโลก.
(พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๓๗
๕๗.        อชฺฌตฺตญฺจ  พหิทฺธา  จ                         เวทนํ  นาภินนฺทโต
                                เวํสตสฺส  จรโต                                      วิญฺญาณํ  อุปรุชฺฌติ
บุคคลไม่เพลิดเพลินเวทนา ทั้งภายในทั้งภายนอก มีสติดำเนินอยู่อย่างนี้ วิญญาณย่อมดับ.
(พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๕๔๗
๕๘.        อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา     นตฺถิ  กามา  ปรํ  ทุกฺขํ          
                                เย  กาเม  ปกิเสวนฺติ                               นิรยนฺเต  อุปปชฺชเร
กามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก ทุกข์อันยิ่งกว่ากามไม่มี ผู้ใดซ่องเสพกาม ผู้นั้นย่อมเข้าถึงนรก. (โพธิสัตว์) ขุ.ชา.เอกาทสก. ๒๗/๓๑๕
๕๙.         อพฺยาปชฺโฌ  สิยา  เอวํ                          สจฺวาที  จ  มาณโว
                                อสฺมา  โลกา  ปรํ  โลกํ                          เอวํ  เปจฺจ  น  โสจติ
พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และกล่าวคำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก. (พุทฺธ) ขุ.ชา. มหา. ๒๘/๓๓๒
๖๐.         อลโส  คิหี  กามโภคี  น  สาธุ
                                อสญฺญโต  ปพฺพชิโต  น  สาธุ
                                ราชา  น  สาธุ  อนิสมฺมการี
                                โย  ปณฺฑิโต  โกธโน  ตํ  น  สาธุ
คฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเป็นผู้เกียจคร้าน ไม่ดี, บรรพชิตไม่สำรวม ก็ไม่ดี, พระราชาไม่ทรงใคร่ครวญก่อนแล้วทำ ไม่ดี, บัณฑิตมักโกรธ ก็ไม่ดี. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.วีส. ๒๗/๔๔๖
๖๑.         อตีตํ  นานุโสจนฺติ                 นปฺปชปฺปนฺติ  นาคตํ
                                ปจฺจุปฺปนฺเนน  ยาเปนิติ                         เตน  วณฺโณ  ปสีทติ
บุคคลไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว ไม่ใฝ่หาถึงสิ่งที่ยังมาไม่ถึง ยังชีวิตให้เป็นไปด้วยสิ่งที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า เพราะเหตุนั้นผิวพรรณย่อมผ่องใส. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/
๖๒.        อิตฺถีธตฺโต  สุราธุตฺโต                           อกฺขธุตฺโต  จ  โย  นโร
                                ลทฺธํ  ลทฺธํ  วินาเสติ                               ตํ  ปราภวโต  มุขํ
คนใดเป็นนักเลงหญิง นักเลงสุรา และนักเลงการพนัน ย่อมล้างผลาญทรัพย์ที่ตนได้แล้วๆ ข้อนั้นเห็นเหตุแห่งความฉิบหาย. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๔๗
๖๓.        ทาเนน  สมจริยาย                  สํยเมน  ทเมน  จ
                                ยํ  กตฺวา  สุขิโต  โหติ                            น  จ  ปจฺฉานุตปฺปติ
คนทำกรรมใดด้วยทาน ด้วยความประพฤติสม่ำเสมอ ด้วยความสำรวม และด้วยการฝึกตน ย่อมมีความสุข เพราะกรรมนั้น ย่อมไม่ตามเผาผลาญในภายหลัง. (โพธิสตฺต) ขุ.ชา.ปกิณฺณก. ๒๗/๓๙๘
๖๔.         นิทฺทาสีลี  สภาสีลี                  อนุฏฺฐาตา  จ  โย  นโร
                                อลโส  โกธปญฺญาโณ                           ตํ  ปราภวโต  มุขํ
คนใดมักหลับ มักคุย และไม่ขยัน เกียจคร้าน มีความมุทะลุ ข้อนั้นเป็นเหตุแห่งผู้ฉิบหาย.
(พุทฺธ) ขุ..๒๕/๓๔๖
๖๕.         นตฺถิ  โลเก  รโห  นาม                          ปาปกมฺมํ  ปกุพฺพโต
                                ปสฺสนฺติ  วนภูตานิ                 ตํ  พาโล  มญฺญเต  รโห
ชื่อว่าที่ลับของผู้ทำชั่วไม่มีอยู่ในโลก คนทั้งหลายเห็นเป็นป่า แต่คนเขลาสำคัญที่นั่นว่าเป็นที่ลับ.
(โพธิสตฺต) ขุ.ชา. จตุกฺก. ๒๗/๑๓๑
๖๖.         โย  เว  ตํ  สหตี  ชมฺมี                             ตณฺห  โลเก  ทุรจฺจยํ
                                โสกา  ตมฺหา  ปปตนฺติ                          อุทพินฺทุว  โปกขรา
ผู้ใดครอบงำตัณหาลามกอันล่วงได้ยากในโลก ความโศกทั้งหลาย ย่อมตกไปจากผู้นั้น เหมือนหยาดน้ำตกจากใบบัว ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๖๐
๖๗.         สพฺพปาปสฺส  อกรณํ                             กุสลสฺสูปสมฺปทา
                                สจิตฺตปริโยทปนํ                                   เอตํ  พุทฺธานสาสนํ
การไม่ทำบาปทั้งปวง การยังกุศลให้ถึงพร้อม การทำจิตของตนให้ผ่องแผ้ว, ๓ ข้อนี้เป็นคำสั่งสอนของท่านผู้รู้ทั้งหลาย. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๓๙

. ปัญญาวรรค คือหมวดปัญญา
๖๘          คมฺภีรปญฺหํ  มนสาภิจินฺตยํ
                                นจฺจาหิตํ  กมฺม  กโรติ  สุทฺท
                                าลาคตํ  อติถปทํ  ริญฺจติ
                ตถาวิธํ  ปญฺญวนฺตํ  วทนฺติ
ผู้ขบคิดปัญหาอันลึกซึ้งด้วยใจ ไม่ทำกรรมชั่ว  อันไม่มีประโยชน์เกื้อกูลเลย, ไม่ละทางแห่งประโยชน์ที่มาถึงตามเวลา, บัณฑิตทั้งหลายเรียกคนอย่างนั้นว่า ผู้มีปัญญา. (สรภงฺคโพธิสตฺต)
ขุ.ชา. จตฺตาฬีส. ๒๗/๕๔๐
๖๙.         ญฺญวนฺตํ  ตถาวาที                 สีเลสุ  สุสมาหิตํ
                                เจโตสมถมนุยุตฺตํ                  ตํ  เว  วิญฺญู  ปสสเร
ผู้รู้ย่อมสรรเสริญเสริญคนมีปัญญา พูดจริง ตั้งมั่นในศีล ประกอบความสงบใจนั้นแล.
(มหากสฺสปเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๑๑

๑๐. ปุคคลวรรค  คือหมวดบุคคล
                ๗๐.         กฺโกธโน  อนุปนาที                              อมกฺขี  สุทฺธตํ  คโต
                                                สมฺปนฺนทิฏฺฐิ  เมธาวี                              ตํ  ชญฺญา  อริโย  อิติ
                ผู้ใดไม่โกรธ  ไม่ผูกโกรธ  ไม่ลบหลู่  ถึงความหมดจด มีทิฏฐิสมบูรณ์ด้วยปัญญา, พึงรู้ว่าผู้นั้นเป็นอริยะ. สารีปุตฺตเถร) ขุ.ปฏิ. ๓๑/๒๔๑
                ๗๑.         อปฺปสฺสาทา  ทุกฺขา  กามา     อิติ  วิญฺญาย  ปณฺฑิโต
                                                อปิ  ทิพฺเพสุ  กาเมสุ                               รตี  โส  นาธิคจฺฉติ
                กามทั้งหลายมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก, บัณฑิตรู้ดังนี้แล้ว  ไม่ยินดีในกามแม้เป็นทิพย์.
 (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๔๐
                ๗๒.        โกธโน  อุปนาที  จ                                ปาปมกฺขี  จ  โย  นโร
                                                วิปนฺนทิฏฺฐิ  มายาวี                                ตํ  ชญฺญา  วสโล  อิติ
                ผู้ใดมักโกรธ ผูกโกรธไว้ ลบหลู่เขาด้วยความชั่ว มีความเห็นวิบัติ มีมายา พึงรู้ว่าคนนั้น เป็นคนเลว.
(พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๓๔๙
                ๗๓.        ชยํ  เวรํ  ปสวติ                                       ทุกฺขํ  เสติ  ปราชิโต
                                                อุปสนฺโต  สุขํ  เสติ                                หิตฺวา  ชยปราชยํ
                ผู้ชนะย่อมก่อเวรผู้แพ้ย่อมนอนเป็นทุกข์ คนละความชนะและความแพ้ได้แล้ว สงบใจได้ย่อมนอนเป็นสุข.(พุทฺธ) ขุ..๒๕๔๒
๑๑. มัจจุวรรค คือหมวดความตาย
๗๔.        อจิเจนติ  กาลา  ตรยนฺติ  รตฺตโย
                                วโยคุณา  อนุปุพฺพํ  ชหนฺติ
                                เอตํ  ภยํ  มรเณน  เปกฺขมาโน
                                ปุญญานิ  กยิราถ  สุขาวหานิ
กาลย่อมล่วงไป  ราตรีย่อมผ่านไป ชั้นแห่งวัยย่อมละลำดับไป ผู้เล็งเห็นภัยในมรณะนั้น พึงทำบุญอันนำสุขมาให้. นนฺทเทวปุตฺต) สํ.. ๑๕/๘๙
๗๕.        ผลานมิว  ปกฺกานํ                  ปาโต  ปตนโต  ภยํ
                                เอวํ  ชาตาน  มจฺจานํ                              นิจฺจํ  มรณโต  ภยํ
ภัยของสัตว์ผู้เกิดมาแล้ว ย่อมมีเพราะต้องตายแน่นอน เหมือนภัยของผลไม้สุก ย่อมมีเพราะต้องหล่นในเวลาเช้า ฉะนั้น. (พุทฺธ) ขุ.สุ. ๒๕/๔๔๘, ขุ.มหา. ๒๙/๑๔๕

๑๒. วาจาวรรค คือหมวดวาจา
                ๗๖.        อกกฺกสํ  วิญฺญาปนี                                คิรํ  สจฺจํ  อุทีรเย
                                                ยาย  นาภิสเช  กญฺจิ                                ตมหํ  พฺรูมิ  พฺราหฺมณํ
                ผู้ใดพึงกล่าวถ้อยคำอันไม่เป็นเหตุให้ใครๆ ขัดใจ ไม่หยาบคาย เป็นเครื่องให้รู้ความได้และคำเป็นจริง เราเรียกผู้นั้นว่าเป็นพราหมณ์. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๗๐
                ๗๗.        อกฺโกธโน  อสนฺตาสี                             อวิกตฺตี  อกุกฺกุจฺโจ
                                                มนฺตาภาณี  อนุทฺธโต                            ส  เว  วาจายโต  มุนิ
                ผู้ใด ไม่โกรธ  ไม่สะดุ้ง  ไม่โอ้อวด  ไม่รำคาญ พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้นั้นแลชื่อว่า เป็นมุนี มีวาจาสำรวมแล้ว. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๕๐๐, ขุ.มหา. ๒๙/๒๕๗
                ๗๘.        สจฺจํ  เว  อมตา  วาจา                              เอส  ธมฺโม  สนนฺตโน
                                                สจฺเจ  อตฺเถ  จ  ธมฺเม  จ                         อหุ  สนฺโต  ปติฏฺฐิตา
                คำสัตย์แล  เป็นวาจาไม่ตาย  นั่นเป็นธรรมเก่า สัตบุรุษทั้งหลาย เป็นผู้ตั้งมั่นในคำสัตย์ ที่เป็นอรรถและ
เป็นธรรม. (วงฺคีสเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๔๓๔

๑๓. วิริยวรรค คือหมวดความเพียร
                ๗๙.         ตุมฺเหหิ  กิจฺจํ  อาตปฺป                           อกฺขาตาโร  ตถาคตา
                                                ปฏิปนฺนา  ปโมกฺขนฺติ                           ฌายิโน  มารพนฺธนา
                ท่านทั้งหลายต้องทำความเพียรเอง ตถาคตเป็นแต่ผู้บอก ผู้มีปกติเพ่งพินิจดำเนินไปแล้ว จักพ้นจากเครื่องผูกของมาร. (พุทฺธ) ขุ.. ๒๕/๕๑
                ๘๐.         สพฺพทา  สีลสมฺปนฺโน                           ปญฺญวา  สุสมาหิโต
                                                อารทฺธวิริโย  ปหิตตฺโต                        โอฆํ  ตรติ  ทุตฺตรํ
                ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล มีปัญญา มีใจมั่นคงดีแล้ว ปรารภความเพียร ตั้งตนไว้ในกาลทุกเมื่อ ย่อมข้ามโอฆะที่ข้ามได้ยาก. (พุทฺธ) สํ.. ๑๕/๗๔

๑๔.สามัคคีวรรค คือหมวดสามัคคี
                ๘๑.         สุขา  สงฺฆสฺส  สามคฺคี                            สมคฺคานญจนุคฺคโห
                                                สมคฺครโต  ธมฺมฏฺโฐ                             โยคกฺเขมา  น  ธํสติ
                ความพร้อมเพรียงของหมู่เป็นสุข และการสนับสนุนคนผู้พร้อมเพรียงกันก็เป็นสุข, ผู้ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ. (พุทฺธ) ขุ.อิติ. ๒๕/๒๓๘
๑๕. สีลวรรค  คือ หมวดศีล
                ๘๒.       สีลํ  พลํ  อปฺปฏิมํ                   สีลํ  อาวุธมุตฺตมํ
                                                สีลํ  อาภรณํ  เสฏฺฐํ                 สีลํ  กวจมพฺภุตํ
                ศีลเป็นกำลังไม่มีที่เปรียบ ศีลเป็นอาวุธสูงสุด  ศีลเป้นเครื่องประดับ อย่างประเสริฐสุด ศีลเป็นเกาะอย่าง
อัศจรรย์. (สีลวเถรขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘
                ๘๓.        สีลเมว  อิธ  อคฺคํ                    ปญฺญวา  ปน  อุตตโม
                                                มนุสฺเสสุ  จ  เทเวสุ                 สีลปญฺญาณโต  ชยํ
                ศีลเท่านั้นเป็นเลิศในโลกนี้ ส่วนผู้มีปัญญาเป็นผู้สูงสุด ความชนะในหมู่มนุษย์และเทวดา ย่อมมีเพราะ

ศีลและปัญญา. (สีลวเถร) ขุ.เถร. ๒๖/๓๕๘











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น