วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

รวมคำศัพท์น่ารู้ ธรรมศึกษา ชั้นตรี สื่อสาระสำคัญการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา วิชา ธรรมวิภาค

รวมคำศัพท์น่ารู้ ธรรมศึกษา ชั้นตรี

สื่อสาระสำคัญการเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนา


วิชา ธรรมวิภาค

คำศัพท์ คำแปล ความหมายอื่นๆ
ธรรมวิภาค การจำแนกธรรม, การแยกแยะธรรม,
การแจกแจงธรรม,ส่วนแห่งธรรม
การจัดหัวข้อธรรมออกเป็นหมวดๆ
นวโกวาท คำสอนสำหรับผู้บวชใหม่ คำสั่งสอนสำหรับภิกษุบวชใหม่
พหุปการธรรม ธรรมมีอุปการะมาก ธรรมเป็นเครื่องอุปการะมิให้เผลอขาดสติ
โลกปาลธรรม ธรรมคุ้มครองโลก ธรรมคุ้มครองมนุษยโลกให้คงเป็นมนุษย์
กุศลธรรม ธรรมอันเป็นกุศล ธรรมข้างฝ่ายดีงาม
เทวธรรม ธรรมแห่งเทวดา ธรรมอันทำคนให้เป็นเทวดา
โสภณธรรม ธรรมอันทำให้งาม ธรรมที่สร้างคนให้มีอัธยาศัยดีงาม
ทุลลภบุคคล บุคคลอันหาได้ยาก บุคคลที่มีคุณความดีอยู่ในโลกและหาได้ยาก
บุพพการี บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน คนที่มีบุญคุณกับเรามาก่อน
กตัญญู บุคคลผู้รู้อุปการะที่คนอื่นทำแล้ว คนที่รู้จักบุญคุณคน
กตเวที บุคคลผู้กระทำคุณตอบแทนผู้มีพระคุณ คนที่รู้จักบุญคุณคนแล้วทำดีตอบแทน
รัตนตรัย แก้ว 3 ประการ แก้ว 3 ดวง คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พุทธโอวาท โอวาทของพระพุทธเจ้า โอวาทที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
โอวาทปาฏิโมกข์ การประกาศโอวาทของพระพุทธเจ้า หลักหัวใจทางพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์
อกุศลมูล รากเหง้าแห่งอกุศล สิ่งที่ไม่ดี
กุศลมูล รากเหง้าแห่งกุศล สื่งที่ดีงาม
สัปปุริสบัญญัติ ข้อบัญญัติของสัตบุรุษ ข้อที่บัณฑิตหรือคนดีตั้งไว้
อปัณณกปฏิปทา ข้อปฏิบัติไม่ผิด ข้อที่เมื่อปฏฺิบัติแล้วไม่เป็นความผิด
อินทรียสังวร สำรวมอินทรีย์ สำรวมระวังตนเองด้านตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
โภชเน มัตตัญญุตา รู้จักประมาณในการบริโภค รู้จักประมาณตนในการกิน
ชาคริยานุโยค หมั่นประกอบความเพียรไม่เห็นแก่นอน  
บุญกิริยาวัตถุ วัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ วิธีหรือหลักการทำบุญ
วุฑฒิธรรม ธรรมเป็นเหตุแห่งความเจริญ  
สัปปุริสสังเสวะ การคบสัตบุรุษ  
สัทธัมมัสสวนะ การฟังพระสัทธรรม  
โยนิโสมนสิการ การตริตรองโดยอุบายแยบคาย  
จักรธรรม ธรรมเป็นดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ  
ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นดี  
สัปปุริสูปัสสยะ คบคนดี  
อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ  
ปุพเพกตปุญญตา มีบุญบารมีมาแต่ปางก่อน  
อคติ ทางที่ไม่ควรถึง หรือ ความลำเอียง  
ปธาน ความเพียร บางแห่งเรียก สัมมัปปธาน ก็ได้
สังวรปธาน เพียรระวังบาปมิให้เกิดขึ้นในสันดาน  
ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว  
ภาวนาปธาน เพียรให้กุศลเกิดขึ้นในสันดาน  
อนุรักขณาปธาน เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม  
อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ  
อิทธิบาทธรรม ธรรมคุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์  
ปาริสุทธิศีล ข้อปฏฺิบัติทำให้ศีลบริสุทธิ์  
อเนสนา การไม่เลี้ยงชีพในทางที่ผิด  
กุลทูสกะ การไม่เลี้ยงชีวิตด้วยการประพฤติชั่ว  
อารักขกัมมัฏฐาน การเจริญธรรมเป็นเครื่องรักษาใจ  
มรณัสสติ การระลึกนึกถึงความตายของตน  
พรหมวิหารธรรม ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพรหม คุณธรรมสำหรับผู้เป็นใหญ่ หรือดำรงตำแหน่งใหญ่ๆ
สติปัฏฐาน การตั้งสติพิจารณากาย เวทนา จิต ธรรม เป็นอารมณ์  
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน การพิจารณาผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นว่าไม่สวยไม่งาม  
อริยสัจ ความจริงอันประเสริฐ  
ตัณหา ความทะยานอยาก  
กามตัณหา ความอยากในสิ่งที่น่ารัก น่าใคร่  
ภวตัณหา ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่  
วิภวตัณหา ความอยากไม่เป็นนั่นเป็นนี่  
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์  
อนันตริยกรรม กรรมอันให้ผลในลำดับไป กรรมหนัก
อภิณหปัจจเวกขณะ หัวข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ หรือ ทุกวันๆ  


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น