วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นตรี เนื้อหาวิชาพุทธประวัติ (แบบสรุป ฉบับเตรียมสอบ)

นักธรรมศึกษาชั้นตรี เนื้อหาวิชาพุทธประวัติ  


สรุปบทที่ ๑
ชมพูทวีปและประชาชน
•   “พุทธประวัติ”  หมายถึง  ความเป็นมาของพระพุทธเจ้าและพระพุทธศาสนา   
•   ชมพูทวีปในปัจจุบันคือดินแดนของประเทศ อินเดีย,เนปาล,บังคลาเทศ
•   ชนชาติ มี ๒ ชนชาติในชมพูทวีป คือ
๑. มิลักขะ เป็นเจ้าของถิ่นเดิม         ๒. อริยกะ เป็นพวกที่อพยพเข้ามายึดครอง
•   การแบ่งเขตการปกครอง  แบ่งเป็น    เขต
               ๑. มัชฌิมชนบท  หรือ มัธยมประเทศ (ส่วนกลาง)  เป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ
               ๒. ปัจจันตชนบท หรือ ปัจจันตประเทศ ( ส่วนปลายแดน)  เป็นที่อยู่ของพวกมิลักขะ
•   การปกครอง  แบ่งการปกครองเป็นอาณาจักร  หรือรัฐ  หรือแคว้นมีหัวหน้าปกครองประจำแคว้น   
•   มัธยมประเทศแบ่งออกเป็น ๑๖  แคว้น
•   ระบบวรรณะ  (แบ่งแยกชนชั้น)  มี    วรรณะ คือ
๑.   กษัตริย์  คือ  ผู้นำในการปกครองบ้านเมือง  ให้ความสงบสุข ( สูง)
๒.   พราหมณ์  คือ  ผู้มีหน้าที่อบรมสั่งสอน  ประกอบพิธีกรรมต่างๆ ( สูง)
๓.   แพศย์  คือ  ผู้ที่ทำการเกษตร  กสิกรรม  ช่างฝีมือ  ค้าขาย ( กลาง )
๔.   ศูทร  คือ  ผู้รับจ้างใช้แรงงาน   ทาส   คนรับใช้ ( ต่ำสุด)
•   จัณฑาล  คือ  บุตรที่เกิดจากบิดา  มารดาต่างวรรณะกัน ถือว่าต่ำที่สุด
•   ลัทธิ และการนับถือ  ประชาชนในชมพูทวีปนับถือ  ศาสนาพราหมณ์  มีพระพรหมเป็นศาสดา  และยึดถือ  คัมภีร์ไตรเพท  เป็นหลักคำสอน
•   ความเชื่อ  ของคนในชมพูทวีป
๑.  เชื่อว่าตายแล้วเกิด   ๒.  เชื่อว่าตายแล้วสูญ  และ
๑.  เชื่อว่าการเกิด  การตายมีเหตุปัจจัย   ๒.  เชื่อว่าการเกิดการตายไม่มีเหตุปัจจัย
บทที่     สักกชนบทและศากยวงศ์

Description: D:\WatPhai\งานของวัด\พระธี\งานธรรมศึกษา\ธรรมศึกษา\vong.jpg

•   สักกชนบท  แปลว่า  ชนบทแห่งชาวสักกะ  ที่เรียกอย่างนี้เพราะว่าชนบทนี้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ในดงไม้สักกะ
•   ศากยวงศ์กับโกลิยวงศ์  เป็นพี่น้องกันมาแต่สมัยพระเจ้าโอกกากราช  เป็นพระเจ้าแผ่นดินมาจนถึงพระเจ้าสุทโธทนะ
•   สักกชนบทแบ่งเป็นเมืองใหญ่ใหญ่ ๆ ได้    เมือง  คือ
๑. เมืองเดิมของพระเจ้าโอกกากราช    ๒.เมืองกบิลพัสดุ์  (เรียกว่า  ศากยวงศ์)
๓. เมืองเทวทหะ  (เรียกว่า  โกลิยวงศ์)
•   ศากยวงศ์  มีพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระเจ้าโอกกากราชเป็นผู้ก่อตั้ง
•    โกลิยวงศ์   พระราชธิดาพระเจ้าโอกกากราชกับพระเจ้ากรุงเทวทหะเป็นผู้ก่อตั้ง
•   กบิลพัสดุ์   ที่ได้ชื่อนี้เพราะเป็นที่อยู่ของกบิลดาบสมาก่อน
•   พระเจ้าชัยเสน  ทรงมีพระโอรสชื่อว่า  สีหหนุ  มีพระราชธิดาชื่อว่า ยโสธรา
•   ศากยวงศ์   มีความหมายว่า  ผู้มีความสามารถ
•   ศากยวงศ์  เรียกตามโคตรว่า โคตมะ  หรือ  โคดมโคตร
•   กบิลพัสด์  เป็นเมืองของพระพุทธบิดา  เรียกว่า ศากยวงค์
•   กรุงเทวทหะ  เป็นเมืองของพระพุทธมารดา  เรียกว่า  โกลิยวงศ์
•   เจ้าชายสิทธัตถะก่อนจุติมายังโลกมนุษย์ประทับอยู่ในสวรรค์ชั้นดุสิต
•   พระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดาของพระพุทธเจ้า
•   พระนางสิริมหามายาเป็นพุทธมารดาของพระพุทธเจ้า
บทที่  ๓ ประสูติ  (เกิด)
•   พระโพธิสัตร์เลด็จสู่พระครรภ์  ในราตรีวันพฤหัสบดี ขึ้น  ๑๕ ค่ำ  เดือน ๘ ปีระกา         พระมารดาทรงสุบินเห็นพญาช้างเผือก
•   พระโพธิสัตว์อยู่ในครรภ์ ๑๐ เดือนพอดี
•   พระโพธิสัตว์ทรงประสูติที่สวนลุมพินีวัน  ใต้ร่มไม้สาละ (ต้นรัง) ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับกรุงเทวทหะ  ปัจจุบันเรียกว่า  “รุมมินเดประเทศเนปาล  เมื่อวันศุกร์  ขึ้น  ๑๕ ค่ำ เดือน ๖  ปีจอ (วันวิสาขบูชา)
•   พระโพธิสัตว์ เดินได้ ๗ ก้าวพร้อมกับพูดว่า เราเป็นเลิศ  เป็นผู้ประเสริฐที่สุดแห่งโลกการเกิดของเราครั้งนี้เป็นครั้งสุดท้ายบัดนี้ภพใหม่ไม่มีอีกแล้ว
•   สหชาติ คือ สิ่งที่เกิดวันเวลาเดียวกันกับพระโพธิสัตว์  มี  ๗ อย่าง ๑.พระนางพิมพา  ๒. พระอานนท์   
๓. กาฬุทายีอำมาตย์  ๔. ฉันนะอำมาตย์     ๕. ม้ากัณธกะ    ๖. ต้นพระศรีมหาโพธิ์  ๗.  ขุมทรัพย์ ทั้ง ๔
•   ประสูติ ๓  วัน มี อสิตดาบส  หรือ กาฬเทวิลดาบส  เข้าเยี่ยม  และพยากรณ์    อย่าง (ถ้าอยู่ปกครองบ้านเมืองจะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ถ้าออกบวช จะเป็นพระพุทธเจ้า)
•   ประสูติได้ ๕ วัน พระเจ้าสุทโธทนะเชิญพราหมณ์ ๑๐๘ มาทานอาหาร ,ขนานพระนาม  และ  ทำนายลักษณะ 
•   ทำนาย ๒ อย่างคือ  ๑.ถ้าอยู่เป็นฆราวาสจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๒. ถ้าบวชจะได้เป็นพระพุทธเจ้า
•   สิทธัตถะ  แปลว่า  “ผู้มีความสำเร็จสมปรารถนา
•   ประสูติได้ ๗ วัน  พระมารดาทิวงคต
•   พระเจ้าสุทโธทนะแต่งตั้งให้นางปชาบดีดูแลแทน
•   อายุ ๗  พรรษา บิดาให้ขุดสระ ๓ ฤดูถวาย  และทรงให้ศึกษาศิลปวิทยา ๑๘ ศาสตร์
•   ครูคนแรก  คือ ครูวิศวามิตร
•   อายุ    พรรษา  ทรงได้ปฐมฌานใต้ร่มชมพูพฤกษ์  (ต้นหว้า)
•   อายุ ๑๖  พรรษา  บิดาทรงให้สร้างปราสาท ๓ หลังถวาย  และทรงให้อภิเษกสมรส
•   เจ้าชายสิทธัตถะทรงอภิเษกสมรสกับ พระนางยโสธรา หรือ พิมพา
บทที่ ๔  เสด็จออกผนวช
๑.  เทวทูตคือ สิ่งที่เทวดาเนรมิตขึ้น มี ๔ ประการ  คือ คนแก่   คนเจ็บ   คนตาย  สมณะ
๒. เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวชเมื่อพระชนมายุ ๒๙  พรรษา
๓. มหาภิเนษ¬กรมณ์  หมายถึง การเสด็จออกบวชของเจ้าชายสิทธัตถะ
๔. เจ้าชายสิทธัตถะทรงออกผนวชมีใครติดตามไปด้วย นายฉันนะและม้ากัณฐกะ
๕. เจ้าชายสิทธัตถะ  ทรงผนวชด้วยวิธี อธิษฐานเพศบรรพชิต
๖. เจ้าชายสิทธัตถะทรงอธิษฐานเพศบรรพชิต ที่ไหน ณ ริมฝั่งอโนมานที
๗.  ฆฏิการพรหมเป็นผู้ถวายบาตรและเครื่องบริขาร
๘. หลังจากบรรพชาทรงประทับแรมที่  อนุปิยอัมพวัน
๙. ปัญจวัคคีย์ หมายถึง บุคคลผู้มีพวกห้า  มี  โกณฑัญญะ  วัปปะ  ภัททิยะ มหานามะ  และอัสสชิ
บทที่  ๕  ตรัสรู้
•   หลังจากเสด็จออกบรรพชาแล้ว ทรงประทับแรมที่ อนุปิยอัมพวัน
•   หลังจากออกบรรพชาแล้ว   เข้าศึกษาที่สำนักของ อาฬาดาบส  กาลามโครตและอุททกดาบส รามบุตร
•   ทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยาที่ อุรุเวลาเสนานิคม  ทุกกรกิริยา หมายถึง กิริยาที่ทำได้ยาก
•   มี  ๓  วาระ  คือ  
๑.  กัดฟันด้วยฟัน กดเพดานด้วยลิ้น  ๒.  กลั้นลมหายใจเข้า-ออก  ๓.  อดอาหารจนซูบผอบ
•   ปัญจวัคคีย์ ดูแลในระหว่างบำเพ็ญเพียร
•   ทรงเลิกบำเพ็ญเพียร   เพราะมิใช่หนทางแห่งการตรัสรู้
•   นางสุชาดา ถวายข้าวมธุปายาสก่อนตรัสรู้
•   ญาณที่ทรงได้ในระหว่างบรรลุธรรม  ตามลำดับคือ
๑.  ปฐมยาม  บรรลุปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  คือ  ระลึกชาติได้
๒.  มัชฌิมยาม  บรรลุจุตูปปาตญาณ คือ รู้การเกิดและตายของสัตว์ทั้งปวง
๓.  ปัจฉิมยาม  บรรลุอาสวักขยญาณ  คือ รู้อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์  สมุทัย  นิโรธ  มรรค
•   โสตถิยพราหมณ์  ถวายหญ้าคาก่อนวันตรัสรู้
•   พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา
•   ตรงกับวันพุธขึ้น ๑๕ค่ำ เดือน๖ ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ต.อุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ
•   ตรัสรู้หลังจากบรรพชา ๖ ปี
•   พระพุทธเจ้าตรัสรู้ อริยสัจ ๔
•   พระพุทธเจ้าทรงชนะมารและเสนามารด้วย บารมี๑๐
•   คำว่า สัมมาสัมโพธิญาณ”  หมายถึง ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้โดยชอบ
ปริเฉทที่   ๖  เสวยวิมุตติสุขและปฐมเทศนา
•   สัตตมหาสถาน  คือสถานที่สำคัญ  ๗ แห่ง  ได้แก่สถานที่เคยเสวยวิมุตติสุข  เป็นเวลา ๗ สัปดาห์ ๔๙ วัน
สัปดาห์ที่ ๑ ประทับบนรัตนบัลลังค์ใต้ต้นศรีมหาโพธิ์  ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
สัปดาห์ที่ ๒ ทรงประทับยืนจ้องพระเนตรดูต้นพระศรีมหาโพธิ์  โดยมิได้กระพริบพระเนตรตลอด ๗ วัน สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า อนิมิสเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๓  พระองค์ทรงเนรมิตที่จงกรมระหว่าง อนิมิสเจดีย์กับต้นพระศรีมหาโพธิ์แล้วเสด็จจงกรม  ณ  ที่นั้น  ตลอด ๗ วัน  สถานที่นี้เรียกว่า  รัตนจงกรมเจดีย์
สัปดาห์ที่ ๔ พระองค์ทรงนั่งขัดสมาธิในเรือนแก้วซึ่งเทวดาเนรมิตถวาย ทรงพิจารณาพระอภิธรรมตลอด ๗ วัน สถานที่นั้นได้ชื่อว่ารัตนฆรเจดีย์
 สัปดาห์ที่  ๕  ทรงประทับใต้ร่มไม้  อชปาลนิโครธ (ต้นไทร)
- พบพราหมณ์ที่ชอบตวาดว่า หึ หึ 
- ทรงขับธิดามารทั้ง ๓ คือ นางตัณหา นางราคา นางอรดี
 สัปดาห์ที่  ๖  ทรงประทับใต้ร่มไม้  มุจลินท์ (ไม้จิก)  มีฝนตกพรำเจือลมหนาวตลอด ๗ วัน  มีพญานาคชื่อว่ามุจลินท์  ขนดหางเป็น ๗ รอบ แผ่พังพานปรกพระองค์ เพื่อไม่ให้ลมและฝนถูกต้องพระองค์
 สัปดาห์ที่ ๗  ทรงประทับใต้ต้นราชายตนะ(ไม้เกด)
- พ่อค้าสองพี่น้องคือ  ตปุสสะและภัลลิกะ ถวายข้าวสัตตุผงสัตตุก้อน 
- ถึงพระพุทธและพระธรรมเป็นสรณะ เรียกว่า  เทวฺวาจิกอุบาสก
- พระองค์ทรงมอบพระเกตุธาตุ  ๘  เส้นแก่อุบาสกทั้งอง
•   ท้าวสหัมบดีพรหมอาราธนาให้แสดงธรรม
•   พระพุทธองค์ทรงพิจารณาดอกบัว ๔  เหล่า  เปรียบปัญญาคน คือ
               ๑. อุคฆฏิตัญญู มีปัญญาเฉียบแหลม (บัวพ้นน้ำ)   
๒. วิปจิตัญญู มีปัญญาปานกลาง (บัวเสมอผิวน้ำ)
              ๓. เนยยะ มีปัญญาพอแนะนำได้ (บัวในน้ำ)   
๔.ปทปรมะ ด้อยปัญญา (บัวอในโคลนตม)
O   พระพุทธองค์ทรงคิดถึงอาฬารดาบสและอุททกดาบสเป็นคนแรกที่จะแสดงธรรมให้ฟัง
O   พระองค์ได้พบอุปกาชีวกระหว่างทางไปกรุงพาราณสี
•   ปฐมเทศนา  ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร
•   แสดงแก่ปัญจวัคคีย์  เมื่อวันขึ้น ๑๕  ค่ำ  เดือน ๘  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  กรุงพาราณสี  แคว้นกาสี
•   เนื้อความธรรมโดยย่อ คือ สิ่งที่บรรพชิตไม่ควรเสพที่สุด ๒ อย่าง
  ๑. กามสุขัลลิกานุโยค  การพันพันตนในกาม           ๒.อัตตกิลมถานุโยค การทรมานตนให้ลำบาก
  ๓. สิ่งที่บรรพชิตควรเสพคือ  มัชฌิมาปฏิปทา  คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางสายกลาง อันประกอบด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘
•   โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม คือ  โสดาปัตติผล
•   เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระพุทธเจ้าทรงบวชให้โกณฑัญญะเป็นรูปแรก
•   พระอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นพระสงฆ์องค์แรกในพุทธศาสนา
•   วันนี้เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบ  คือ พระพุทธ  พระธรรม  พระสงฆ์ เรียกว่า วันอาสาฬหบูชาตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
•   ทรงแสดงธรรมชื่อว่า  อนัตตลักขณสูตร  โปรดปัญจวัคคีย์ ในวันแรม  ๕  ค่ำ  เดือน ๙  และทั้งหมดได้บรรลุพระอรหันต์
•   มีพระอรหันต์เกิดขึ้นในโลก ๖ องค์  คือ พระพุทธเจ้า ๑  พระปัญจวัคคีย์  ๕
•   ใจความย่อของอนัตตลักขณสูตร คือ  ขันธ์  ๕  คือ  รูป  เวทนา สัญญา  สังขาร  วิญญาณ  เป็นของไม่เที่ยง  เป็นทุกข์  เป็นอนัตตา  ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
บทที่  ๗  ส่งสาวกไปประกาศศาสนา
•   ยสกุลบุตร  เป็นบุตรของมหาเศรษฐี   มารดาชื่อว่าสุชาดา  ในกรุงพาราณสี  แคว้นกาสี
•   เบื่อหน่ายในชีวิตเปล่งอุทานว่า ที่นี่วุ่นวายหนอ    ที่นี่ขัดข้องหนอ
•   พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมเทศนาชื่อ  อนุปุพพิกถา”  แก่ยสะเป็นคนแรก
•   “อนุปุพพิกถา”  คือ  วาจาปรารภธรรมที่พึงพรรณนาโดยลำดับมี  ๕ ประการ
๑.  ทาน   การให้ปันสิ่งของๆ ตนแก่ผู้อื่น                   
๒.  ศีล    การรักษากาย  วาจาให้เรียบร้อย
๓.  สัคคะ  สวรรค์อันบุคคลพึงได้ด้วยทานและศีล  
๔.  กามาทีนพ    โทษของกาม  ซึ่งมีแต่ความทุกข์  ความวุ่นวายไม่สงบ                                            
๕.  เนกขัมมะ    อานิสงส์แห่งการออกบวช
•   ทรงแสดงสามุกกังสิกเทศนา  คือ  อริยสัจ ๔ ปิดท้าย   * ยสะได้ดวงตาเห็นธรรม คือ บรรลุโสดาปัตติผล
•   พ่อของยสะฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๔  บรรลุพระโสดาบันแสดงตนเป็นอุบาสกขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิตนับว่าเป็นอุบาสกคนแรกที่ถึงพระรัตนตรัย  เรียกว่า  เตวาจิกอุบาสก
•   ยสกุลบุตรสำเร็จพระอรหัตผลด้วยการฟังธรรมซ้ำเป็นครั้งที่สอง  และทูลขอบรรพชาอุปสมบท
•   พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้เป็นพระภิกษุด้วยพระดำรัสว่า “เธอจงเป็นภิกษุมาเถิด  ธรรมอันเรากล่าวดีแล้ว  เธอจงประพฤติพรหมจรรย์
•   มารดาและภรรยาเก่าของพระยสะเป็นพระโสดาบันด้วยการฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจ๔และแสดงตนเป็นอุบาสิกาขอถึงพระรัตนตรัยตลอดชีวิต เรียกว่า เตวาจิกอุบาสกา
•   เพื่อนสนิทพระยสะบวชตาม ๔ คน คือ วิมล   สุพาหุ  ปุณณชิ  ควัมปติ  และสหายพระยสะอีก  ๕๐  คน
•   ส่งสาวกออกประกาศพระศาสนา  พระพุทธองค์ส่งภิกษุทั้ง ๖๐ องค์  ไปเผยแผ่พระพุทธศาสนายังต่างถิ่น ทรงแสดงอนุปุพพิกถาและอริยสัจแก่ภัททวัคคีย์  ๓๐ คน  และส่งไปประกาศที่เมือง ปาวา
•   โปรดชฏิล  ๓  พี่น้อง  ที่ตำบลอุรุเวลา  แขวงเมืองราชคฤห์  ซึ่งอาศัยริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตามลำดับ  คือ  พี่ชายใหญ่ชื่ออุรุเวลกัสสปะมีบริวาร  ๕๐๐ ตั้งอาศรมอยู่ตำบลอุรุเวลา  น้องชายกลาง ชื่อนทีกัสสปะ มีบริวาร ๓๐๐  ตั้งอาศรมอยู่ตำบลนที  น้องชายเล็กชื่อคยากัสสปะ  มีบริวาร ๒๐๐  ตั้งอาศรมอยู่ตำบลคยา
•   แสดงอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะ
•   ใจความโดยย่อ อายตนะภายนอก กระทบกับอายตนะภายในแล้วเกิดเป็นของร้อนด้วยราคะ โทสะ โมหะ ไม่ควรยึดติดกับสิ่งนั้นๆ
•   โปรดพระเจ้าพิมพิสารที่สวนลัฏฐิวัน  หรือสวนตาลหนุ่ม  มีข้าราชบริพาร ๑๒ นหุต ( ๑๒ หมื่น) แวดล้อม
•   ทั้งหมดฟังธรรมจากพระศาสดาด้วยอนุปุพพิกถาและอริยสัจ ๑๑ นหุต ตั้งอยู่ในโสดาบัน ๑ นหุตตั้งอยู่ในไตรสรณคมน์
•   ความปรารถนาของพระเจ้าพิมพิสาร ๕ ประการและสำเร็จดังประสงค์
๑.  ขอให้ข้าพเจ้าได้เป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งแคว้นมคธนี้     
๒.  ขอให้พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ เสด็จมายังแว่นแคว้นมคธนี้
๓.  ขอให้ข้าพเจ้า ได้เข้าไปนั่งใกล้พระอรหันต์พระองค์นั้น
๔.  ขอให้พระอรหันต์  แสดงธรรมแก่ข้าพเจ้า
๕.  ขอให้ข้าพเจ้า  รู้ทั่วถึงธรรมของพระอรหันต์นั้น
•   พระเจ้าพิมพิสารถวายเวฬุวนาราม   ด้วยการหลั่งน้ำทักษิโณทกให้ตกลงบนพระหัตถ์ของพระศาสดา
•   พระเวฬุวนารามเป็นวัดแรกในพระพุทธศาสนา
บทที่ ๘  เสด็จกรุงราชคฤห์
•   อุปติสสะเป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้าน บิดาชื่อ วันคันตพราหมณ์  มารดาชื่อว่า สารีพราหมนี จึงได้นามว่า  สารีบุตร
•   โกลิตเป็นบุตรแห่งตระกูลหัวหน้าหมู่บ้านโกลิตคาม  มารดาชื่อว่าโมคคัลลี  จึงได้นามว่า โมคคัลลานะ      ทั้งสองท่าน ศึกษาในสำนักสัญชัยปริพาชก
•   ฟังธรรมจากพระอัสสชิได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยหัวข้อธรรม  (สรุปอริยสัจ ๔)
    ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ  พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมนั้น
   และความดับเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น  พระมหาสมณะตรัสสอนอย่างนี้
•   ติสสะและโกลิตะพร้อมด้วยสหาย ๒๕๐ คน เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า
•   พระพุทธองค์ตรัสอุบายแก่ง่วงแก่โมคคัลลานะ ๙ ข้อพร้อมกับข้อเตือนใจ ๓ ข้อ
 ซึ่งปฏิบัติธรรมใกล้บ้าน กัลลวาลมุตตคาม
•   พระโมคคัลละสำเร็จพระอรหันต์ในวันที่ ๗  หลังจากการบวชด้วยอุบายแก้ง่วง
     และ ตัณหักขยธรรม
•   อุบายแก้ง่วง ๘ ข้อ
๑.   เมื่อมีสัญญาอข่างไร ให้ใส่ใจถึงสัญญาอย่างนั้นให้มากๆ
๒.   ให้พิจารณาธรรมที่ได้ฟังมาแล้ว
๓.   ให้ท่องบ่นธรรมนั้นซึ่งได้เรียนได้ฟังมาแล้ว
๔.   ให้ยอน (แยง)หูทั้ง ๒ ข้างและเอามือลูบตัว
๕.   ให้ยืนขึ้น  เอาน้ำลูบตัวเหลียวมองดูทิศต่างๆ และแหงนหน้ามองดูท้องฟ้า
๖.   ให้ใส่ใจถึงแสงสว่างกลางวัน
๗.   ให้เดินจงกรม  สำรวมอินทรีย์  ทำจิตให้เป็นสมาธิ ไม่ฟุ้งซ่าน
๘.   ให้สำเร็จสีหไสยาสน์  คือ นอนตะแคงข้างขวาซ้อนเท้า มีสติตั้งใจว่าจะลุกขึ้น และเมื่อตื่นแล้วจงลุกขึ้นทันที
•   พระสารีบุตรบรรลุธรรมด้วยการฟังธรรมชื่อว่าเวทนาปริคคหสูตร หลังบวช ๑๕  วัน
•   ตรัสแก่ทีฆนขะ  เป็นหลานของพระสารีบุตร  ที่ถ่ำสุกรขาตา ที่เขาคิชกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์
•   พระพุทธเจ้าทรงแต่งตั้งพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะในตำแหน่งคู่พระอัครสาวก
•   สารีบุตร ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะว่ามีปัญญาเลิศ  เป็นพระอัครสาวกเบื้องขวา
•   พระโมคคัลลานะ ได้รับการยกย่องเป็นเอตทัคคะว่า มีฤทธิ์ล้ำเลิศ เป็นอัครสาวกเบื้องซ้าย
•   พระศาสดาเปรียบพระสารีบุตรเหมือนมารดาผู้ให้กำเนิดบุตร  เปรียบพระโมคคัลลานะเหมือนนางนมผู้เลียงบุตรที่เกิดแล้ว
บทที่ ๙  บำเพ็ญพุทธกิจในมคธและเสด็จสักกะ
•   พระมหากัสสปะมีชื่อเดิมว่า ปิปผลิมาณพ  เป็นบุตรกบิลพราหมณ์กัสสปโคตร  ในบ้านมหาติฏฐะ  จังหวัดมคธรัฐ  แต่งงานกับนางภัททกาปิลานี  บุตรีพราหมณ์โกสิยโครต  แห่งสาคลนคร  จังหวัดมคธรัฐ
•   ปิปผลิมาณพได้เดินทางไปพบพระพุทธเจ้าที่ใต้ต้นไทร มีชื่อว่าพหุปุตตกนิโครธ  กึ่งทางระหว่างกรุงราชคฤห์กับเมืองนาลันทา
•   พระพุทธเจ้าทรงบวชให้พระกัสสปะด้วยการประทานโอวาท  ๓  ข้อ
๑. กัสสปะ ท่านพึงศึกษาว่า  เราจักเข้าไปตั้งความละอายและความยำเกรงไว้ในภิกษุทั้งที่เป็นผู้เฒ่า-ผู้ใหม่-ปานกลาง
๒. ธรรมอันใดที่ประกอบด้วยกุศล เราจะตั้งใจฟังและพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมนั้น
๓. เราจักไม่ละสติออกจากกาย  คือพิจารณากายเป็นอารมณ์
•   เมื่อพระกัสสปะบวชแล้ว ภิกษุสหธรรมิกนิยมเรียกท่านว่า  พระมหากัสสปะ
•   การอุปสมบทด้วยการรับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า  โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา
•   พระมหากัสสปะได้ฟังพระพุทธโอวาท  ๓  ข้อแล้วบำเพ็ญเพียรบรรลุธรรมในวันที่ ๘  แห่งการอุปสมบท
•   พระมหากัสสปะ  ถือธุดงค์คุณ  ๓  อย่างคือ 
๑.   ถือการนุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร  
๒. ถือการเที่ยวบิณฑบาตรเป็นวัตร   
๓.  ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
•   ได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า  เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายผู้ทรงธุดงค์
•   จาตุรงคสันนิบาต      แปลว่าการประชุมพร้อมด้วยองค์  ๔  คือ
๑.   พระอรหันต์ขีณาสพ  อยู่จบพรหมจรรย์  ๑๒๕๐  องค์  มาประชุมกัน
๒.   พระสาวกเหล่านั้น  ล้วนเป็นเอหิภิกขุ  ผู้ได้อภิญญา ๖
๓.   พระสาวกเหล่านั้น  ต่างมากันเองโดยมิได้นัดหมายกันมาก่อน
๔.   เป็นวันเพ็ญ  พระจันทร์เต็มดวง  เสวยมาฆฤกษ์   พระบรมศาสดาทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ในท่ามกลางสาวกเหล่านั้น
พระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะ( ที่นอนและที่นั่ง) ๕ ชนิด คือ
๑.วิหาร คือกุฏิมีหลังคา  ๒.  อัฑฒโยค คือกระท่อม  ๓.ปราสาท คือเรือนชั้น(กุฏิหลาย ๆ ชั้น)
๔. หัมมิยะ  ได้แก่  เรือนหรือกุฏิหลังคาตัด       ๕.  คูหา  ได้แก่ ถ้ำ 
•   ราชคหกเศรษฐี เป็นผู้ถวายเสนาสนะ  ๖๐  หลังเป็นคนแรก
ทรงแสดงวิธีทำปุพพเปตพลี
•   พระเจ้าพิมพิสารทรงกระปุพพเปตพลีทำเป็นครั้งแรก   
•   ทักษิณาอุทิศคนตายทั่วไป  เรียกว่า  ทักษิณานุปทาน
•   มตกทาน  แปลว่า  การอุทิศให้ผู้ตาย
•   ทักษิณาอุทิศเฉพาะบุรพบิดา  เรียกว่าปุพพเปตพลี
•   การอุปสมบทแบบญัตติจตุตถกรรมอุปสัมปทา  พระราธะบวชเป็นองค์แรก  มีพระสารีบุตรเป็นอุปัชฌาย์  ที่เวฬุวันมหาวิหาร  กรุงราชคฤห์
•   พระราธได้รับยกย่องจากพระศาสดาว่า เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทางปฏิภาณ
•   การบวชหรืออุปสมบทกรรมมี  ๓  วิธี คือ
 ๑. เอหิภิกขุอุปสัมปทา   ๒.  ติสรณคมนูปสัมปทา    ๓.  ญัตติจตุตถกรรม 
พระพุทธองค์ ทรงแสดงทิศ  ๖  แก่สิงคาละมาณพ
บทที่ ๑๐- ๑๑  เสด็จโปรดพุทธบิดา
•   พระเจ้าสุทโธทนะส่งอำมาตย์ไปทูตเชิญพระพุทธองค์  ๑๐ คณะด้วยกัน 
•   กาฬุทายีอำมาตย์  เป็นคณะสุดท้ายและทูตเชิญพระพุทธองค์หลังจากตนบรรลุธรรม  และบวชแล้ว ๘ วัน
•   ระยะทางจากราชคฤห์สู่กรุงกบิลพัสดุ์ ๖๐ โยชน์  (๙๖๐ กิโลเมตร)
•   เดินทางวันละโยชน์ (๑๖ กิโลเมตร)  เป็นเวลา  ๖๐  วันพอดี
•   ชาวกบิลพัสดุ์สร้างนิโครธาราม ถวาย
•   ทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่อง  มหาเวสสันดรชาดกแก่ประยูรญาติ
•   พระเจ้าสุทโธทนะทรงบรรลุโสดาบันด้วยคาถาเครื่องเตือนใจสมณะว่า 
    ไม่ควรประมาทในก้อนข้าวอันจะพึงลุกขึ้นยืนรับ  ควรประพฤติธรรมให้สุจริตผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขทั้งในโลกนี้ทั้งในโลกอื่น
•   ทรงแสดงธรรมโปรดพระนางมหาปชาบดี  และเจ้าสุทโธทนะ  เมื่อจบพระธรรมเทศนา  พระนางตั้งอยู่ในโสดาบันส่วนพระพุทธบิดา ได้บรรลุสกทาคสมิผล  ในวันที่สอง
•   ในวันที่สามพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมมหาธรรมปาลชาดก  โปรดพระบิดาให้ดำรงอยู่ในพระอนาคามิผล
•   พระนางพิมพาเทวีบรรลุโสดาบันด้วยธรรมเทศนาชื่อว่าจันทกินนรีชาดก
•   พระสารีบุตรทรงบรรพชาราหุลสามเณรที่นิโครธาราม
•   พระราหุลเป็นสามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา  ด้วยไตรสรณคมน์
•   พระเจ้าสุทโธทนะทูลขอประทานพระพุทธานุญาตว่า แต่นี้ต่อไป  กุลบุตรผู้ใดประสงค์จะบรรพชา  หากมารดาบิดายังไม่ยอมพร้อมใจอนุญาตให้บวชแล้วก็ของดไว้  อย่าได้รีบให้บรรพชาอุปสมบทแก่กุลบุตรเป็นอันขาด
•   บรรลุพระอรหันต์ด้วยพระธรรมเทศนาชื่อว่า ราหุโลวาทสูตรหลังจากอุปสมบทแล้ว
•   ท่านได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้ง ในทางใคร่ต่อการศึกษา
บทที่   ๑๑-๑๒
•    อนาถบิณฑิกเศรษฐี   มีชื่อเดิมว่า   สุทัตตะ   เป็นชาวเมือง  สาวัตถี  
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐีถวาย   วัด เชตวัน
•   อนาถบิณฑิกเศรษฐี  ซื้อที่ดิน   จาก เจ้าเชตราชกุมาร  สร้างวัด
•   พระพุทธองค์ทรงจำพรรษาที่  ๔๕  ณ    เวฬุวคาม   เมืองเวสาลี แคว้นวัชชี     
•   คำว่า ปลงอายุสังขาร”  หมายถึงการ     ตั้งใจที่จะตาย   ณ  ปาวาลเจดีย์  
•   วันที่พระพุทธองค์ทรงปลงอายุสังขารตรงกับวัน    วันเพ็ญ  เดือน  ๓  
•   ผู้ที่ทูลเชิญพระพุทธองค์ให้เสด็จเข้าสู่ปรินิพพานคือ    พญามารวสวัตตี  
•   คำว่า นิมิตโอภาส”  หมายถึง    ตรัสความทางอ้อมแก่พระอานนท์
•   พระพุทธเจ้าทรงทำนิมิตโอภาส  ๑๖ ครั้ง ดังนี้   ที่กรุงราชคฤห์  ๑๐  ครั้ง  ที่เมืองไพสาลี ๖ ครั้ง   
•   ตามพุทธประวัติ  เหตุให้เกิดแผ่นดินไหว    มี  ๘  อย่าง
๑.ลมกำเริบ    
๒. ท่านผู้มีฤทธิ์บันดาล  
๓. พระโพธิสัตว์จุติจากดุสิตสู่พระครรภ์  
๔. พระโพธิสัตว์ประสุติจากครรภ์มารดา
๕. พระตถาคตเจ้าตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ  
๖.พระตถาคตเจ้าแสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร
๗.  พระตถาคตเจ้าปลงอายุสังขาร   
๘. พระตถาคตเจ้าเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   ทรงรับผ้าสิงคิวรรณ ๑ คู่   จากปุกกุสะ  ราชบุตรแห่งมัลลกษัตริย์  
•   พระฉวีวรรณผ่องใสใน  ๒  เวลา 
๑.  ในเวลาจะตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญา   ๒.ในราตรีที่จะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน
•   บิณฑบาตทาน  ๒  คราวมีผลเสมอกัน(อานิสงส์มาก)
๑.  บิณฑบาตที่นางสุชาดาถวายในวันตรัสรู้   ๒. บิณฑบาตรที่นายจุนทะถวายในวันปรินิพพาน
•   “อนุฏฐานไสยา”  คือการนอนที่ไม่ลุกขึ้นอีกเลย
•   การบูชามี  ๒  อย่าง
๑.   อามิสบูชา  คือ การบูชาวัตถุสิ่งของ    
๒.  ปฏิบัติบูชา  คือ การบูชาด้วยการปฏิบัติตาม   ทรงสรรเสริญปฏิบัติบุชา
•   ถูปารหบุคคลคือบุคคลที่ควรบรรจุใว้ในสถูปเพื่อบูชา มี ๔ จำพวกคือ
               ๑. พระสัมมาสัมพุทธเจ้า                  ๒. พระปัจเจกพระพุทธะเจ้า  
๓. พระอรหันตสาวก                         ๔. พระเจ้าจักรพรรดิ
•   สังเวชนียสถาน  คือสถานที่ควรระลึกถึง มี ๔ อย่าง คือ
               ๑. สถานที่ประสูติ (ลุมพินีวัน)    
๒. สถานที่ตรัสรู้ ( ต้นพระศรีมหาโพธิ์) 
               ๓.  สถานที่แสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร (ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน) 
               ๔.  สถานที่ปรินิพพาน คือ  สาลวโนทยาน
•   สาวกองค์สุดท้าย  มีชื่อว่า สุภัททปริพาชก  
•   ก่อนเสด็จปรินิพพานพระพุทธเจ้าตั้งพระธรรมวินัยเป็นศาสดาแทน
•   ปัจฉิมโอวาท  พระพุทธเจ้าทรงแสดงเกี่ยวกับความไม่ประมาท
•   ในเวลาจวนจะปรินิพพานของพระศาสดา  มีพระอานนท์และพระอนุรุทธะ อยู่ในที่นั้น
•   พระบรมศาสดาปรินิพพานที่ สาลวโนทยาน ใต้ต้นสาละคู่  เมืองกุสินารา วันอังคาร  ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง
•   ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ     ที่มกุฏพันธนเจดีย์  ทางทิศตะวันออกแห่งกรุงกุสินารา
บทที่   ๑๓- ๑๖
•   พระอานนท์ส่งข่าวสารการเสด็จดับขันธปรินิพพานแก่เจ้ามัลลกษัตริย์
•   สถานที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ  เรียกว่า  มกุฏพันธนเจดีย์
•   พระสุภัททะกล่าวจาบจ้วงพระธรรมวินัย  หลังจากทราบข่าวการปรินิพพาน
•   วันถวายพระเพลิง  เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันอัฏฐมีบูชา
•   พระพุทธเจ้าปรินิพพานได้  ๘ วันถึงถวายพระเพลิง
•   การจัดพุทธสรีระ  จัดตามแบบพระเจ้าจักรพรรดิ
•   สิ่งที่พระพุทธองค์อธิษฐานมิให้เพลิงไหม้ มี ๔ ประการ
๑.    ผ้าห่อพระบรมศพชั้นใน ๑ ผืน  ชั้นนอก ๑ ผืน                ๒.  พระเขี้ยวแก้ว 
๓.  พระรากขวัญทั้ง ๒ (ไหปลาร้า)                                               ๔. พระอุณหิส ( กรอบหน้า)
•   โทณพราหมณ์เป็นผู้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุ
•   พระบรมสารีริกธาตุได้รับการแบ่ง แก่ ๘ ส่วน ๆ ละ ๒ ทะนาน   ให้แก่ ๘  เมือง คือ
๑. เมืองราชคฤห์                ๒. เมืองไพสาลี                                  ๓. เมืองกบิลพัสดุ์              ๔. เมืองอัลลกัปปะ
๕. เมืองรามคาม                 ๖. เมืองเวฏฐทีปกะ           ๗. เมืองปาวา                      ๘.  เมืองกุสินารา
•   กษัตริย์เมืองรามคามได้พระอังคารธาตุ
•   พระเขี้ยวแก้วบนขวาประดิษฐานที่จุฬามณีเจดีย์
•   พระเขี้ยวแก้วบนซ้ายประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ
•   ประเภทแห่งสัมมาสัมพุทธเจดีย์ มี ๔ ประเภท
๑.   ธาตุเจดีย์ หมายถึง พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
๒.   บริโภคเจดีย์  หมายถึง  สิ่งของหรือสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงใช้สอย เช่นบาตร  จีวร กุฏิ วิหารเป็นต้น
๓.   ธรรมเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่ใช้จารึกคำสอนของพระพุทธเจ้า เช่น คัมภีร์  พระไตรปิฏก เป็นต้น
๔.   อุทเทสิกเจดีย์ หมายถึง  สิ่งที่สร้างขึ้นเป็นรูปเหมือนของพระพุทธเจ้าโดยตรง เช่น พระพุทธรูปเป็นต้น
สังคายนา  หมายถึง  การร้อยกรองพระธรรมวินัย  หรือการประชุมตรวจสอบ  ชำระสอบทานและจัดหมวดหมู่คำสอนของพระพุทธเจ้า  วางลงเป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน

สังคายนา
                สังคายนา หรือสังคีติ หรือการร้อยกรอง หรือจัดแจงพระธรรมวินัยให้เป็นหมวดหมู่ว่านี่เป็นธรรม นี่เป็นวินัย จัดเป็น ๓ หมวด เรียกว่า พระไตรปิฎก คือ
                ๑. ที่เป็นกฎระเบียบ ข้อบังคับ จัดเป็น วินัยปิฎก
                ๒. ที่เป็นพระธรรมคำสอน อันเป็นบุคลาธิษฐาน ยกบุคคลเป็นอุทาหรณ์ จัดเป็นสุตตันตปิฎก
                ๓. ที่เป็นธรรมล้วน ๆ ไม่เกี่ยวกับบุคคลเป็นธรรมที่สุขุมลึกซึ่ง จัดเป็น อภิธรรมปิฎก
                การทำสังคายนานั้น ที่พอจะนับได้มี ๕ ครั้ง    ทำในชมพูทวีป ๓ ครั้ง ในลังกาทวีป ๒ ครั้ง คือ  
                ๑. ปฐมสังคายนา ครั้งที่ ๑ กระทำที่หน้าถ้ำสัตตบรรณคูหา เชิงภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ พระเจ้าอชาตศัตรูเป็นองค์อุปถัมภก ภายหลังพุทธปรินิพพาน ๓ เดือน พระมหากัสสปะ เป็นประธาน พระอุบาลีเถระ วิสัชนาพระวินัย พระอานนท์ วิสัชนาพระสูตร และพระอภิธรรม รวมกับพระอรหันตขีณาสพจำนวน ๕๐๐ องค์ ปรารภเรื่องพระสุภัททะกล่าวจ้วงจาบศาสนา กระทำอยู่ ๗ เดือนจึงสำเร็จ
                ๒. ทุติยสังคายนา  ครั้งที่ ๒ กระทำที่วาลิการาม เมื่องเวสาลี พระเจ้ากาฬาโศกราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๑๐๐ โดยพระอรหันต์จำนวน ๗๐๐ องค์ มีพระยสกากัณฑกบุตรเถระเป็นประธานและมีพระสัพพกามีเถระ และพระเรวัตตเถระ เป็นต้น ชำระเรื่องวัตถุ ๑๐ ประการ ที่พวกภิกษุชาววัชชีบุตร ชาวเมืองเวสาลีนำมาแสดงว่าไม่ผิดธรรมวินัย กระทำอยู่  ๘ เดือน จึงสำเร็จ
                ๓. ตติยสังคายนา ครั้งที่ ๓ กระทำที่อโศการาม เมื่องปาฏลีบุตร พระเจ้าอโศกมหาราชเป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๑๘ โดยพระอรหันต์ จำนวน ๑,๐๐๐ องค์ มีพระโมคคัลลีบุตรติสส เถระเป็นประธาน เนื่องด้วยเดียรถีย์ปลอมบวชในพุทธศาสนา กระทำอยู่ ๙ เดือน จึงสำเร็จ
                ๔. จตุตถสังคายนา ครั้งที่ ๔ กระทำที่ถูปาราม เมืองอนุราชบุรี ลังกาทวีป พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๖ โดยพระมหินทเถระ และพระอริฏฐเถระ เป็นประธานชักชวนภิกษุชาวสีหล ๖๘,๐๐๐ องค์ เพื่อประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้มั่นคงในสังกาทวีป กระทำอยู่ ๑๐ เดือน จึงสำเร็จ
                ๕. ปัญจมสังคายนา ครั้งที่ ๕ กระทำที่อาโลกเลณสถาน ในมลัยชนบท ลังกาทวีป พระเจ้าวัฏฏคามินีอภัย เป็นองค์อุปถัมภก เมื่อ พ.ศ. ๔๕๐ โดยภิกษุชาวสีหลผู้พระอรหันต์ จำนวน  ๑,๐๐๐ องค์ พระติสสมหาเถระ และพระพุทธทัตตเถระเป็นต้น เห็นความเสื่อมถอยปัญญาแห่งกุลบุตรจึงได้ประชุมกันมาจารึกพระธรรมวินัย เป็นอักษรลงไว้ในใบลาน ทำอยู่ ๑ ปี จึงสำเร็จ ฯ











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น