วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นโท เนื้อหาวิชาศาสนพิธี

นักธรรมศึกษาชั้นโท เนื้อหาวิชาศาสนพิธี  

วิชา ศาสนพิธี 



บทนิเทศ

พิธี คือ แบบอย่างหรือแบบแผนต่าง ๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนาโดยเฉพาะพระพุทธศาสนา เรียกว่า
ศาสนพิธี  ความจริงเรื่องพิธีเป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนาและเกิดขึ้นทีหลังศาสนา คือ ศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่าง ๆ เกิดตามมาภายหลัง เหตุที่เกิดศาสนาพิธีในพระพุทธศาสนา ก็เนื่องมาจากหลักการของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงวางไว้ตั้งแต่ปีที่พระองค์ตรัสรู้ เพื่อให้พุทธสาวกถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา มีหลักทั่ว ๆ ไปว่า ()สอนไม่ให้ทำความชั่ว  ()สอนให้ทำความดี ()สอนให้ทำจิตใจให้ผ่องใส
เพราะหลักการทั้ง ๓ อย่างนี้ จึงเป็นเหตุให้พุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่างจนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะทำได้ พร้อมกับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ ด้วยการพยายามทำตามคำสอนดังกล่าวนี้ เป็นการพยายามทำความดี เรียกว่าทำบุญ พระพุทธองค์ทรงแสดงทางไว้เป็นหลักเรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มี ๓ ประการ คือ ()ทาน  ()ศีล  ()ภาวนา
บุญกิริยาวัตถุนี้เองเป็นแนวทางให้พุทธบริษัทได้บำเพ็ญบุญตามหลักการที่กล่าวข้างต้น และเป็นมูลเหตุให้เกิดศาสนพิธีต่าง ๆ ขึ้นเป็นประเพณีนิยม คือ ในเวลาต่อ ๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญกัน ไม่ว่าจะปรารภเหตุใด ๆ ก็ทำให้เข้าหลักของบุญกิริยาวัตถุ ๓ ประการนี้ โดยเริ่มต้นด้วยการรับศีล ต่อไปก็ภาวนาด้วยการสวดมนต์เอง หรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควรแก่ศรัทธา เพราะพุทธบริษัทนิยมการทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดี และทำตามในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงได้เกิดพิธีกรรมขึ้นมามากมาย เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบ ๆ กันมาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็ได้กลายมาเป็นศาสนพิธีขึ้น
ดังนั้นนักเรียนจึงจำเป็นต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจในเรื่องพิธีกรรมให้ลึกซึ้งและถี่ถ้วน ยิ่งศึกษาให้รู้กว้างขวางและละเอียดเพียงใด  ก็จะเป็นประโยชน์แก่พระศาสนาเพียงนั้น เพราะพิธีการแต่ละอย่างที่เกิดเป็นความนิยมในพระพุทธศาสนานี้ ย่อมเกิดโดยอาศัยเหตุผลและมีจุดหมาย.
ในศาสนพิธีเล่ม ๒ นี้ ท่านได้แสดงพิธีไว้ ๔ หมวด คือ
หมวดกุศลพิธี                               ว่าด้วยวิธีบำเพ็ญกุศล
หมวดบุญพิธี                              ว่าด้วยพิธีทำบุญ
หมวดทานพิธี                             ว่าด้วยพิธีถวายทาน
      ๔หมวดปกิณกะ                              ว่าด้วยพิธีเบ็ดเตล็ด คือ เรื่องทั่ว ๆ ไป


หมวดที่ ๑ กุศลพิธี

                กุศลพิธี คือ พิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวเนื่องด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา ในหมวดนี้พิธีกรรมส่วนใหญ่เป็นของสงฆ์ที่จะปฏิบัติตามวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งวันธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อความดีงามตามพระวินัยทั้งตัวพระสงฆ์ผู้ปฏิบัติเอง และหมู่คณะรวมทั้งพระพุทธศาสนาด้วย บางอย่างก็เป็นจารีตประเพณี ที่พระสงฆ์ได้ถือปฏิบัติสืบ ๆ กันมาโดยความเห็นชอบร่วมกัน จนได้กลายมาเป็นประเพณีนิยมของสงฆ์ในปัจจุบันโดยแยกออกเป็นประเภทได้ดังต่อไปนี้ คือ
. พิธีเข้าพรรษา                                                 . พิธีถือนิสสัย
. พิธีทำสามีจิกรรม                                          . พิธีทำวัตรสวดมนต์
. พิธีกรรมวันธรรมสวนะ                              . พิธีทำสังฆอุโบสถ
พิธีออกพรรษา

แนวคำถาม - คำตอบ

. กุศลพิธีคืออะไร ในหนังสือศาสนพิธีเล่ม ๒ มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
. กุศลพิธี คือ พิธีกรรมอันเกี่ยวเนื่องด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา มี ๗ ประเภท คือ
. พิธีเข้าพรรษา                                                 . พิธีถือนิสสัย
. พิธีทำสามีจิกรรม                                          . พิธีทำวัตรสวดมนต์
. พิธีกรรมวันธรรมสวนะ                              . พิธีทำสังฆอุโบสถ
พิธีออกพรรษา
.พิธีเข้าพรรษา พิธีทำอุโบสถสังฆกรรมและพิธีออกพรรษามีความหมายและกำหนดกาลไว้อย่างไร ?
.พิธีเข้าพรรษา หมายถึง พิธีที่พระสงฆ์ประชุมพร้อมกัน  เพื่อประกอบพิธีอธิษฐานจิตเข้าอยู่จำพรรษาตลอด ๓ เดือน ปกติกำหนดวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘  พิธีทำอุโบสถสังฆกรรม  หมายถึง พิธีที่พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในเขตสีมา  แล้วประกอบพิธีทำอุโบสถสวดพระปาติโมกข์ กำหนดวันอุโบสถทุกกึ่งเดือน  พิธีออกพรรษา  หมายถึงพิธีที่พระสงฆ์ประชุมพร้อมกันในเขตสีมา  แล้วประกอบพิธีทำปวารณากรรม ตามพระวินัยกำหนดวันเพ็ญเดือน ๑๑ ซึ่งปวารณาแล้วต้องรออยู่รับอรุณในวันนั้นอีก ๑ ราตรี
. สามีจิกรรมมีกี่แบบ นิยมทำในโอกาสไหนบ้าง ?
. สามีจิกรรมมี ๒ แบบ คือ แบบขอขมาโทษ และแบบถวายสักการะ
แบบขอขมาโทษนิยมทำในโอกาสต่อไปนี้คือ
) ในวันเข้าพรรษา ภิกษุสามเณรที่อยู่วัดเดียวกัน ควรทำสามีจิกรรมต่อกันตามลำดับตั้งแต่ผู้มีพรรษามากที่สุด ถึงสามเณร ไม่ควรเว้น เพื่อความสามัคคีภายในวัด
) ในระยะเข้าพรรษา เริ่มตั้งแต่วันเข้าพรรษา ไปจนถึงหลังวันเข้าพรรษาประมาณ ๗ วัน ควรทำสามีจิกรรมต่อท่านที่เคารพนับถือ ซึ่งอยู่ต่างวัด
) ในโอกาสจะลาจากกันไปอยู่วัดอื่นหรือถิ่นอื่น นิยมทำต่อท่านผู้มีพรรษามากกว่าตนในวัด และต่อท่านที่เคารพนับถือทั่วไป เป็นการลาจากกัน
ส่วนแบบถวายสักการะเป็นการแสดงมุทิตาจิต นิยมทำต่อท่านที่ตนเคารพนับถือ ในโอกาสที่ท่านได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ เป็นการแสดงจิตใจที่พลอยยินดีให้ปรากฏ.
. การทำวัตรสวดมนต์ ถือเป็นกุศลสมาทานที่นิยมทำกันอยู่ในหมู่พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไปทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์นั้น มีความมุ่งหมายอย่างไร ?
. มีความมุ่งหมายเพื่อจะให้จิตใจเบิกบานแจ่มใส  ด้วยคุณของพระรัตนตรัย และยังเป็นอุบายสงบจิตใจมิให้คิดฟุ้งซ่านในอารมณ์ต่าง ๆ ได้ชั่วขณะ ทำให้จิตใจสุขุมเยือกเย็น สำหรับบรรชิตยังมีผลทางพระวินัยที่สามารถปลดเปลื้องมลทินบางอย่างในการบริโภคปัจจัยโดยไม่ทันได้พิจารณา และมีผลในการอนุโมทนาปัจจัยทานของทายกและเป็นโอกาสให้ได้แผ่ส่วนกุศลของตนแก่ผู้อื่นด้วยจิตอันบริสุทธิ์
วันธรรมสวนะคืออะไร สืบเนื่องมาแต่ครั้งไหน ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างไร ?
คือ วันกำหนดประชุมฟังธรรม ที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า วันพระ พุทธบริษัทปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดประโยชน์คือ เป็นสิริมงคลเกิดสติปัญญา มีคุณค่าเพราะเป็นเหตุให้ได้รับอานิสงฆ์จากการฟังธรรม.
. การออกพรรษาหมายถึงอะไร ?
. การออกพรรษาเป็นการเรียกโดยทั่วไป  หมายถึงวันสิ้นสุดกำหนดจำพรรษาตามพระวินัยเรียกตามภาษาพระวินัยว่า ปวารณากรรม คือ การปวารณารวมกันของสงฆ์ที่อยู่รวมกันมาตลอด ๓ เดือน การทำปวารณากรรมนั้น คือยินยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนกันได้ทุกกรณี ทำในวันครบ ๓ เดือนตามจันทรคติ ตรงกับวันเพ็ญเดือน ๑๑ ของทุก ๆ ปี ในวันทรงอนุญาตให้ทำปวารณากรรมแทนอุโบสถกรรม
. กุศลพิธีในศาสนพิธีเล่ม ๑ และ เล่ม ๒ มีความมุ่งหมายต่างกันอย่างไร ขอฟังความเห็น ?
. มีความหมายต่างกันคือ กุศลพิธีของคฤหัสถ์ผู้ครองเรือนจะพึงกระทำคือ ประพฤติปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผน แต่ในศาสนพิธีเล่ม ๒ เน้นหนักไปในพิธีบรรพชิต.

หมวดที่ ๒ บุญพิธี

                บุญพิธีในศาสนพิธีเล่ม ๑ เป็นหลักทั่วไป ๒ ประการคือ งานมงคล งานอมงคล แต่ในที่นี้จะกล่าวถึงพิธีในส่วนของพระสงฆ์ เพราะงานนั้นจะสำเร็จด้วยดีก็ต้องอาศัยพระภิกษุสงฆ์ ถ้าภิกษุสงฆ์ผู้ประกอบพิธีปฏิบัติไม่ถูกหลักหรือขาดเหตุผลโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์แล้วอาจเป็นเหตุให้บุญพิธีทั้งหมดคลายความศักดิ์ หรือผิดวัตถุประสงฆ์ของฝ่ายเจ้าภาพได้ ฉะนั้นเรื่องบุญพิธีที่ควรศึกษาต่อไปในที่นี้จะนำพิธีสงฆ์ในงานทำบุญต่าง ๆ มาชี้แจง โดยประมวลเป็นหัวข้อเรื่อง ๙ เรื่อง คือ
. พิธีทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ                  . พิธีเจริญพระพุทธมนต์
. พิธีสวดพระพุทธมนต์                                 . พิธีสวดพระอภิธรรม
. พิธีสวดมาติกา                                               . พิธีสวดแจง
. พิธีสวดถวายพรพระ                                    . พิธีอนุโมทนากรณีต่าง ๆ
. พิธีธรรมเทศนา

แนวคำถาม - คำตอบ

. วันเทโวโรหณะ เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้าอย่างไร ?
. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากเทวโลก หลังจากเสด็จขึ้นไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์และได้ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา เป็นเวลา ๓ เดือน จึงเสด็จลงมาจากเทวโลกมาสู่มนุษย์โลก ที่สังกัสสนคร และตรงกับวันมหาปวารณาเพ็ญเดือน ๑๑
.การเจริญพระพุทธมนต์กับการสวดพระพุทธมนต์ต่างกันอย่างไรงานขึ้นบ้านใหม่งานบุพการีใช้เรียกอย่างไร
. การเจริญพระพุทธมนต์ หมายถึง การที่พระสงฆ์สาธยายมนต์ในงานมงคล การสวดพระพุทธมนต์ หมายถึง การที่พระสงฆ์สาธยายมนต์ในงานอวมงคล งานขึ้นบ้านใหม่ ใช้คำว่าเจริญพระพุทธมนต์ ส่วนงานบุพการี ใช้คำว่า สวดพระพุทธมนต์.
. คำว่าสวดมาติกา และสดับปกรณ์ มีความหมายต่างกันอย่างไร ?
. การสวดมาติกา ก็คือ การสวดบทมาติกาของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซึ่งมีพิธีบังสุกุลเป็น พิธีสุดท้ายเป็นประ เพณีให้พระสงฆ์สวดในงานทำบุญศพอย่างหนึ่ง เรียกโดยโวหารทางราชการ   งานหลวงว่า สดัปกรณ์ แต่ราษฎรทั่วไป เรียก สวดมาติกา.
. พิธีสวดพระอภิธรรม มีกี่อย่าง อะไรบ้าง ทำบุญ ๗ วัน ๕๐ วัน เป็นต้น จัดเข้าในอย่างไหน ?
. มี ๒ อย่าง คือ สวดพระอภิธรรมหน้าศพอย่างหนึ่ง สวดหน้าไฟในขณะฌาปนกิจอย่างหนึ่ง ทำบุญ ๗ วัน ๕๐วันเป็นต้นจัดเข้าในพิธีสวดอภิธรรมหน้าศพ
. พิธีสวดถวายพรพระ มีกี่วิธี อะไรบ้าง มีพิธีสวดในงานเช่นไร ?
. มีอยู่ ๒ วิธี คือ สวดถวายพรพระในกรณีสามัญ ๑ สวดถวายพรพระในกรณีพิเศษ ๑ ในงานทำบุญถวายภัตตาหารพระ เป็นต้น
. การจัดให้มีพระธรรมเทศนาอย่างที่จัดให้มีอยู่ในปัจจุบันเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาอย่างไรเพราะเหตุไร ?
. เป็นประเพณีที่สืบเนื่องมานานตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เพราะถือกันว่า พระพุทธศาสนาจะตั้งอยู่ได้ยังยืนก็เพราะอาศัยการประกาศเผยแพร่พระพุทธรรม คำสั้งสอนของพระพุทธเจ้านี้แหละคือการจัดให้มีพระธรรมเทศนาในโอกาสอันสมควร

 หมวดที่ ๓ ทานพิธี
การถวายทานในศาสนพิธีเล่ม ๒ นี้ มี ๑๖ อย่าง คือ
. พิธีถวายสังฆทาน                                          .   พิธีถวายผ้าอัจเจกจีวร
. พิธีถวายสลากภัตต์                                       ๑๐. พิธีทอดผ้าป่า
. พิธีตักบาตรน้ำผึ้ง                                          ๑๑. พิธีถวายผ้ากฐิน
. พิธีตักบาตรข้าวสาร                                      ๑๒. พิธีถวายธูป เทียน ดอกไม้
. พิธีถวายเสนาสนะ กุฏิ วิหาร                     ๑๓. พิธีลอยกระทงตามประทีป
. พิธีถวายศาลาโรงธรรม                                ๑๔. พิธีถวายธงเพื่อบูชา
. พิธีถวายผ้าวัสสิกสาฏก                                ๑๕. พิธีถวายเวจกุฎี
. พิธีถวายผ้าจำนำพรรษา                               ๑๖. พิธีถวายสะพาน
ยังมีทานพิธีพิเศษอีกหลายพิธี แต่ในที่นี้จะนำเฉพาะทานพิเศษมาแสดงเพิ่มเติมอีก ๕ พิธี คือ
. พิธีถวายปราสาทน้ำผึ้ง
. พิธีถวายโรงอุโบสถ
. พิธีถวายยานพาหนะ
. พิธีถวายคัมภีร์พระไตรปิฎก
. พิธีถวายคัมภีร์พระธรรม

แนวคำถาม - คำตอบ

. สังฆทาน  ได้แก่ทานเช่นไร ในครั้งพระพุทธกาลท่านแบ่งสังฆทานไว้กี่ประเภท ?
. สังฆทาน คือ ทานที่อุทิศแก่สงฆ์ มิได้เฉพาะเจาะจงแก่บุคคล ในครั้งพุทธกาล ท่านแบ่งสังฆทานไว้ ๗ ประเภท คือ  ๑) ถวายแก่ภิกษุและภิกษุณี มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  ๒) ถวายแก่หมู่ภิกษุ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข       ๓) ถวายแก่หมู่ภิกษุณี   มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๔) ถวายแก่หมู่ภิกษุและภิกษุณี  ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข   ๕) ถวายแก่หมู่ภิกษุ ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ๖)ถวายแก่หมู่ภิกษุณี ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข  ๗) ร้องขอต่อสงฆ์ให้ส่งใคร ๆ ไปรับ แล้วถวายแก่ผู้นั้น.
. ในการถวายสังฆทาน นิยมประดิษฐานพระพุทธปฏิมาเป็นประธานประหนึ่งว่าถวายแก่สงฆ์มีพระพุทธปฏิมาเป็นประมุข หากเป็นเวลารีบด่วนจัดไม่ทัน จึงไม่ประดิษฐานพระพุทธปฏิมาในพิธีนั้น และถวายสังฆทานดังนี้ ทานนั้นก็ไม่เป็นสังฆทานละซี หรือท่านเห็นอย่างไร จงตอบอ้างหลัก ?
. ทานนั้นถือเป็นสังฆทานที่ถูกต้อง อ้างหลักการถวายสังฆทานในศาสนพิธีเล่ม ๒ ข้อที่ () ถวายแก่หมู่ภิกษุ ไม่มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข () ร้องขอต่อสงฆ์ให้ส่งใคร ๆ ไปรับ แล้วถวายแก่ผู้นั้น.
. ทานพิธี หมวดที่ ๓  ในศาสนพิธีเล่ม ๒  กล่าวเรื่องถวายทานประเภทอาหาร ท่านจำแนกไว้กี่อย่าง อะไรบ้าง ?
. ท่านจำแนกไว้ ๔ อย่าง คือ () พิธีถวายสังฆทาน  () พิธีถวายสลากภัตต์  ()พิธีตักบาตรข้าวสาร  () พิธีตักบาตรน้ำผึ้ง.
. ผ้าป่าคือผ้าอะไร ประเพณีการทอดผ้าป่ามีกำหนดการทอดหรือไม่ ?
. ผ้าบังสุกุลคือผ้าป่าที่เปื้อนฝุ่น ไม่มีเจ้าของหวงแหน เรียกว่าผ้าป่า ไม่มีกำหนดเวลาการทอด.
. ผ้าวัสสิกสาฎก คือผ้าเช่นไร  ใครเป็นผู้ถวาย ใครเป็นผู้รับ และผ้านี้ใครเป็นผู้ถวายเป็นคนแรก ?
. คือผ้าสำหรับใช้ในเวลาอาบน้ำฝน หรืออาบน้ำทั่วไป ทายกทายิกาเป็นผู้ถวาย พระภิกษุสงฆ์เป็นผู้รับ นางวิสาขาทูลขอต่อพระพุทธเจ้าเพื่อจะถวายแก่ภิกษุเป็นครั้งแรก.
. สลากภัตต์ ได้แก่ภัตต์เช่นไร ท่านนิยมทำกันในเดือนไหน และมีวิธีทำอย่างไร ?
. ได้แก่ภัตตาหารที่ทายกทายิกาจัดถวายตามสลาก ในครั้งพุทธกาลโดยไม่มีกำหนดกาล แล้วแต่ศรัทธาแต่ในปัจจุบันนิยมทำกันในเดือนที่ผลไม้ต่างๆ บริบูรณ์ โดยให้หัวหน้าทายกรับหน้าที่ประกาศบอกบุญ หรือ แจกฎีกา เพื่อให้รู้กำหนดเวลาและสถานที่ เมื่อถึงวันกำหนดก็จัดภัตตาหาร พร้อมทั้งไทยธรรม ซึ่งมักประกอบด้วยผลไม้ฤดูนั้น ๆ ตามกำลังของตน นำไปสู่สถานที่ ที่กำหนดไว้ แล้วทำสลากเป็น ๒ ชุด โดยจะเขียนชื่อของพระภิกษุสามเณรในวัดนั้นทั้งหมด หรือจะเขียนเป็นหมายเลข ให้ครบตามจำนวนของพระภิกษุสามเณรทั้งหมดก็ได้ ชุดที่ ๑ ให้ทายกทายิกาจับแล้วนำไปติดไว้ที่ไทยธรรมของตน ๆ อีกชุดหนึ่งให้ภิกษุสามเณรจับ รูปใดจับได้หมายเลขของใคร ก็ให้ผู้นั้นถวายแก่รูปนั้น ดังนี้ ได้ชื่อว่าถวายสลากภัต.
. เรื่องการตักบาตรข้าวสาร เป็นประเพณีนิยมทำในยุคไหน ในสมัยนั้นมีพระมหากษัตริย์องค์ใดเป็นผู้ริเริ่มและการตักบาตรข้าวสารนี้ จะสงเคราะห์ลงในบุญกิริยาวัตถุข้อใด ขอฟังเหตุผล ?
. การตักบาตรข้าวสารนี้ เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในเมืองไทยเรานี่เอง คือสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่ ๕ เพราะมีพระบรมราชาธิบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ พระราชพิธี ๑๒ เดือน เป็นต้นมาแต่อย่างไรก็ตาม การตักบาตรข้าวสารก็นับเข้าเป็นบุญกิริยาวัตถุ คือ ทานมัย โดยทำเป็นสังฆทานบ้าง ปาฏิบุคคลิกทานบ้าง ตามเจตนาของผู้ถวาย.
. ผ้าจำนำพรรษากับผ้าอัจเจกจีวร ต่างกันหรือเหมือนกันอย่างไร จงชี้แจงพอเข้าใจ ?
. ต่างกัน เพราะผ้าจำนำพรรษา เป็นผ้าที่อยู่ในเขตกาลที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ภิกษุรับได้ภายในเวลากำหนด ส่วนผ้าอัจเจกจีวร คือ ผ้าจำนำพรรษาที่ทายกถวายก่อนกำหนดกาล.
. นักเรียนคงทราบดีแล้วว่าประเพณีลอยกระทง ที่เมืองไทยเราได้นับถือกันมาแต่ครั้งโบราณกาล มีประเพณีที่บัณฑิตได้กล่าวไว้ในพระสูตรไหนบ้าง ขอทราบรายละเอียดพอได้ความ ?
. สมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปยังแม่น้ำนัมมทานที พญานัมมทานาคราชอาราธนาให้เสด็จไปสู่นาคพิภพด้วยศรัทธาเลื่อมใส เพื่อจะถวายสักการะบูชา เพระองค์จึงเสด็จไปแสดงธรรมโปรดพญานาคราชพร้อมทั้งบริวารแล้วเสด็จกลับ ขณะนั้น พญานาคได้กราบทูลขอสิ่งที่ระลึกอย่างใดอย่างหนึ่งไว้ เพื่อเป็นอนุสาวรีย์ที่กราบไหว้บูชาในกาลต่อไป พระพุทธเจ้าจึงประทานให้ตามความประสงค์ โดยประดิษฐานฝ่าพระบาทไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ให้เป็นที่บูชาของพญานาคสืบมา โดยคติที่เชื่อถือเรื่องราวตามที่กล่าวไว้ในปุณโณวาทสูตร เป็นหลักอ้าง.
                                               

หมวดที่ ๔ ปกิณณกพิธี

                ขนบธรรมเนียม บางอย่างที่ชาวพุทธจะต้องปฏิบัติ ในการประกอบศาสนพิธีดังกล่าวข้างต้น ที่ควรศึกษามีอีก ๕ อย่าง คือ
. วิธีสวดมนต์ไหว้พระของนักเรียน
. วิธีไหว้ครูสำหรับนักเรียน
. วิธีจับด้ายสายสิญจน์
. วิธีบังสุกุลเป็น
. วิธีบอกศักราช.




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น