วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นตรี เนื้อหาวิชาศาสนพิธี (แบบสรุป ฉบับเตรียมสอบ)

นักธรรมศึกษาชั้นตรี   เนื้อหาวิชาศาสนพิธี  


พิธี คือ แบบอย่าง, แบบแผนที่พึงปฏิบัติ 
ศาสนา คือคำสั่งสอน ในที่นี้หมายถึงพระพุทธศาสนา
ศาสนพิธีเกิดขึ้นหลังประกาศศาสนาแล้ว มีที่มาจากหลักการสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ อันได้แก่ การไม่ทำบาปทั้งปวง การกระทำความดี  การทำจิตให้ผ่องใส
บุญกิริยาวัตถุ คือ หลักการทำบุญ ๓ ประการ คือ ทาน, ศีล, ภาวนา
ศาสนพิธี มี ๔ หมวด คือ  
๑. กุศลพิธี  ได้แก่  พิธีบำเพ็ญกุศล                ๒. บุญพิธี  ได้แก่  พิธีทำบุญ
๓. ทานพิธี  ได้แก่  พิธีถวายทาน                  ๔. ปกิณกพิธี   ได้แก่  พิธีเบ็ดเตล็ด
หมวดที่ ๑ กุศลพิธี
   กุศล แปลว่า ฉลาด, สิ่งที่ตัดความชั่ว หมายถึง สิ่งที่ดีงาม ถูกต้อง 
กุศลพิธี  หมายถึง  พิธีกรรมที่ฉลาด และดีงาม มี ๓ เรื่องคือ
      ๑.พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พุทธมามกะ คือ ผู้ที่รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งของตนเอง
      ๒. พิธีเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
เวียนเทียน หมายถึง การเดินเวียนขวาเพื่อแสดงความเคารพต่อปูชณียวัตถุ, ปูชณียสถาน  วันสำคัญมี ๔ วัน ดังนี้   
วันมาฆบูชา   วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๓  พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์ วันจาตุรงคสันติบาต
วันวิสาขบูชา   วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน๖  วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ของพระพุทธองค์  เป็นวันสำคัญสากลของโลก
วันอัฎฐมีบูชา  วันแรม ๘ ค่ำเดือน ๖  วันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ   ไม่เป็นวัดหยุดราชการ
วันอาสาฬหบูชา  วันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๘    พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
พระรัตนตรัย พระพุทธ  พระธรรม พระสงฆ์เกิดครบองค์ ๓
         ๓. พิธีรักษาอุโบสถศีล
     อุโบสถ แปลว่า การเข้าจำ หมายถึง การเข้าไปอยู่รักษาศีล ๘ อย่างเคร่งครัด มี ๓ อย่างคือ
ปกติอุโบสถ  การรักษาเพียงหนึ่งวัน หนึ่งคืน
ปฏิชาครอุโบสถ  การรักษาครั้งละ ๓ วัน คือ วันรับ  วันรักษา วันส่ง
ปาฏิหาริกปักขอุโบสถ  การอยู่จำเป็นเวลา ๓ เดือน ปัจจุบันไม่ค่อยมีแล้ว
วาจาอธิษฐานอุโบสถ  อิมัง  อัฏฐังคสมันนาคะตัง  พุทธะปัญญัตตัง  อุโปสะถัง....ฯ
หมวดที่ ๒ บุญพิธี
บุญพิธี หมายถึง พิธีกรรมเกี่ยวกับการทำบุญในพระพุทธศาสนา มี ๒ ประเภท คือ
งานมงคล   ปรารภเหตุมงคล เช่น ขึ้นบ้านใหม่  มงคลสมรส ทำบุญวันเกิด-อายุ 
นิยมนิมนต์พระ ๕,,๙ รูป   ใช้คำนิมนต์ว่า อาราธนาเจริญพระพุทธมนต์ 
เตรียมขันน้ำมนต์+สายสิญจน์
งานอวมงคล    ปรารภเหตุอวมงคล เช่น ทำบุญหน้าศพ  บุญอัฐิ
นิยมนิมนต์พระ ๖,,๑๐ รูป
ใช้ว่า อาราธนาสวดพระพุทธมนต์
เตรียม ภูษาโยง ไม่ทำน้ำมนต์
หมวดที่ ๓ ทานพิธี
ทานพิธี คือ พิธีถวายทาน ต่าง ๆ , ทายก  ทายิกา  คือผู้ถวายทานปฏิคาหก  คือ ผู้รับทาน
ทานวัตถุ คือ วัตถุที่ควรให้เป็นทาน มี ๑๐ อย่าง เช่น ภัตตาหาร  น้ำดื่ม  เครื่องนุ่งห่ม  ดอกไม้ เป็นต้น  
ทาน มี ๒ ประเภท คือ
ปาฏิปุคลิกทาน การถวายเจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง
สังฆทาน  การถวายแก่สงฆ์ให้เป็นของกลาง ไม่เจาะจง
ทานแบ่งตามกาลเวลาที่ถวาย มี ๒ คือ
กาลทาน  คือ ถวายตามกาล เช่น กฐิน  ผ้าจำนำพรรษา
อกาลทาน  คือ ถวายได้ทุกฤดูกาล  เช่น ผ้าป่า เสนาสนะ  เป็นต้น
คำถวายสังฆทานทั่วไป = อิมานิ  มะยัง ภันเต  ภัตตานิ  สะปริวารานิ....ฯ
หมวดที่ ๔ ปกิณกะ
ปกิณกะ คือ หมวดเบ็ดเตล็ด ได้แก่ พิธีกรรมเล็กๆ น้อยๆ มี ๕ เรื่อง
๑.วิธีแสดงความเคารพพระ มี ๓ ลักษณะคือ
              ๑.๑อัญชลี การประนมมือ
๑.๒ วันทา หรือ นมัสการ คือ การไหว้
              ๑.๓ อภิวาท การกราบ นิยมกราบด้วยองค์ ๕ ที่เรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ คือ หน้าผาก๑ ฝ่ามือ ๒ เข่า ๒  กราบให้องค์ ๕ จรดพื้น
๒.วิธีประเคนของพระ  
การประเคน คือ  การถวายของโดยส่งให้ถึงมือพระ มีองค์ ๕ ได้แก่
- ของที่ประเคนไม่ใหญ่หรือหนักเกินไป ยกคนเดียวได้
ผู้ประเคนอยู่ห่างจากพระประมาณ ศอกหนึ่ง (อยู่ในหัตถบาส)
น้อมสิ่งของเข้าไปถวายด้วยความเคารพ (ใช้ทั้ง ๒ มือ)
น้อมส่งให้ด้วยกาย หรือของที่เนื่องด้วยกาย เช่น ใช้ทัพพีตักข้าวใส่บาตร
พระภิกษุรับด้วยมือ หรือของที่เนื่องด้วยกายเช่น บาตร ผ้ารับประเคน
๓.วิธีทำหนังสืออาราธนา และใบปวารณาบัตรถวายปัจจัย ๔
๔.วิธีอาราธนาศีล อาราธนาพระปริตร อาราธนาธรรม
อาราธนา    คือ การเชื้อเชิญพระสงฆ์ บางครั้งใช้ว่า นิมนต์
อาราธนาศีล   คือ การนิมนต์พระให้ศีล (เบญจศีล,ศีล ๕,ปัญจะสีลานิ)
อาราธนาพระปริตร คือ นิมนต์พระสงฆ์สวดมนต์,เจริญพระพุทธมนต์
อาราธนาธรรม คือ นิมนต์พระแสดงธรรม
หลักการอาราธนา
พิธีเจริญพระพุทธมนต์   อาราธนาศีล,อาราธนาพระปริตร
พิธีเลี้ยงพระ    อาราธนาศีล
พิธีถวายทาน   อาราธนาศีล
พิธีเทศน์                   อาราธนาศีล,อาราธนาธรรม
พิธีสวดศพ                อาราธนาศีล,อาราธนาธรรม
วิธีกรวดน้ำ
                การกรวดน้ำ ในที่นี้หมายถึง การอุทิศส่วนบุญให้ผู้ตาย หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว พระสงฆ์ อนุโมทนา ด้วยบทว่า ยะถา  วาริวหา....ฯ ให้เริ่มรินน้ำ พระสงฆ์สวดถึงบทว่า.........มณิโชติระโส  ยะถา ให้เทน้ำจนหมด ประนมมือรับพร นำน้ำที่กรวดไปเทที่พื้นดินสะอาด(ปัจจุบัน นิยมรดโคนต้นไม้)
คำกรวดน้ำแบบสั้น : อิทัง  เม  ญาตีนัง  โหตุ  สุขิตา  โหนตุ  ญาตะโย
 คำแสดงตนเป็นพุทธมามกะ
เอสาหัง  ภันเต สุจิระปรินิพพุตัมปิ  ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ  ธัมมัญจะ  สังฆัญจะ  พุทธมามะโกติ  มัง สังโฆ  ธาเรตุ.
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  ข้าพเจ้าขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น  แม้ปรินิพพานนานแล้ว  ทั้งพระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกที่นับถือ  ขอพระสงฆ์จงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นพุทธมามกะ  ผู้รับเอาพระพุทธเจ้าเป็นที่พึงของตน
หมายเหตุ.  ผู้หญิง ว่า ...พุทธมามะกาติ  มัง..  หลายคนว่า เอเต มะยัง...คัจฉาะ ..พุทธมามะกาติ  โน..
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง  ภันเต  วิสุง วิสุง รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ  มะยัง  ภันเต วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ ติสะระเณนะ  สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ตติยัมปิ มะยัง  ภันเต วิสุง วิสุง  รักขะณัตถายะ  ติสะระเณนะ  สะหะ ปัญจะสีลานิ ยาจามะ.
คำสมาทานศีล  ๕
  ปาณาติปาตา เวระมะณีสิกขาปะทัง สะมาทิยามิ
  อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
  กาเมสุมิจฉาจารา  เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
  มุสาวาทา เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
  สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา  เวระมะณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ 
คำอาราธนาธรรม
พรหมา  จะ โลกาธิปะติ  สะหัมปะติ  กัตอัญชะลี  อันธิวะรัง  อายาจะถะ 
             สันตีธะ  สันตาปปะระชักขะชาติกา  เทเสตุ ธัมมัง อะนุกัมปิมัง  ปะชัง
คำอาราธนาพระปริตร
    วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา  สัพพะทุกขะวินาสายะ ปริตตัง พรูถะ  มังคะลัง 
    วิปัตติปะฏิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา  สัพพะภะยะวินาสายะ  ปริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง
    วิปัตติปะฏิพาหายะ  สัพพะสัมปัตติสิทธิยา  สัพพะโรคะวินาสายะ  ปริตตัง  พรูถะ  มังคะลัง
คำถวายสังฆทาน
อิมานิ  มะยัง  ภันเต  ภัตตานิ สะปริวารานิ  ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ  สาธุ โน ภันเต  ภิกขุสังโฆ  อิมานิ  ภัตตานิ  สะปริวารานิ ปฏิคคัณหาตุ อัมหากัง  ทีฆะรัตตัง  หิตายะ สุขายะ..

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย  ขอน้อมถวายภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้  แก่ภิกษุสงฆ์  ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระภิกษุสงฆ์  จงรับภัตตาหารกับทั้งบริวารทั้งหลายเหล่านี้ เพื่อประโยชน์  เพื่อความสุข  แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนานเทอญ.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น