วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

นักธรรมศึกษาชั้นโท เนื้อหาวิชาธรรม

 นักธรรมศึกษาชั้นโท   เนื้อหาวิชาธรรม 

วิชา ธรรมศึกษาประวัติ


 
ทุกะ  หมวด 
อริยบุคคล ๒  (บุคคลที่บรรลุธรรมวิเศษ)
                . พระเสขะ  พระผู้ยังต้องศึกษา ได้แก่พระอริยบุคคลที่ยังไม่ได้บรรลุอรหัตตผลมี  ๗ จำพวก คือ 
พระโสดาปัตติมรรค                                                           โสดาปัตติผล
พระสกทาคามิมรรค                                                          สกทาคามิผล 
พระอนาคามิมรรค                                                             อนาคามิผล 
พระอหัตตมรรค
ท่านเหล่านี้ที่ได้ชื่อว่า เสขะเพราะยังต้องปฏิบัติให้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไป คือศึกษาในอธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขาและอธิปัญญาสิกขาต่อไป เพื่อให้บรรลุมรรคผลเบื้องสูงขึ้นไปจนถึงอรหัตผล อันเป็นภูมิ ธรรมของพระอเสขะ
                . พระอเสขะ พระผู้ไม่ต้องศึกษา คือ ท่านได้บรรลุอรหัตตผลแล้วไม่ต้องศึกษาต่ออีกเพราะได้ศึกษาเสร็จสิ้นพร้อมทั้งละสังโยชน์  ๑๐  ได้ด้วย  ดังนั้นจึงได้นามว่า อเสขะ
กัมมัฏฐาน ๒  (อุบายฝึกจิต วิธีอบรมจิต)
                . สมถกรรมฐาน  คือกรรมฐานฝึกจิตใจให้ผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองหรือขุ่นมัวที่ติดข้องอยู่ในใจ  เรียกว่าปราศจากนิวรณ์  จิตที่ปราศจากนิวรณ์แล้วนี้ย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิแน่วแน่อยู่ในอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่ง จนถึงขั้นได้ฌานในระดับต่าง ๆ คือ ระดับที่กำหนดรูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า  รูปฌาน มี ๔ ขั้น และระดับที่กำหนดรูปธรรมเป็นอารมณ์  เรียกว่า  อรูปฌาน มี  ๔ ขั้นเหมือนกันรวมเรียกว่า สมาบัติ ๘
                สมถกรรมฐานนี้มีอารมณ์  ๔๐  อย่าง  คือ  กสิณ ๑๐  อนุสสติ ๑๐  อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑  จตุธาตุววัตถาน ๑  อัปปมัญญา ๔  และอรูปกรรมฐาน ๔ อารมณ์  กรรมฐานเหล่านี้ยังแบ่งบัญญัติกรรมฐาน  ๒๘  และ  ปรมัตถกรรมฐาน  ๑๒
                . วิปัสสนากรรมฐาน  คือกรรมฐานเป็นอุบายให้เกิดปัญญา  รู้เท่าทันสภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นตามเป็นจริง  จนสามารถถอนความหลงผิดที่หลงยึดในสิ่งทั้งหลายเสี9ยได้  จนยกจิตของตนเองขึ้นสู่ไตรลักษณ์  เพื่อมุ่งถึงจุดสูงสุด  คือ  วิมุตติ (ความหลุดพ้นที่แท้จริง)
                สมถะและวิปัสสนา ทั้ง ๒นี้ มีผลมุ่งหมายต่างกัน คือ  สมถะ มีผลมุ่งให้ได้ฌานวิปัสสนา มีผลมุ่งให้ได้ญาณ

กาม    (ความใคร่, ความต้องการสิ่งที่ต้องประสงค์)
                . กิเลสกาม  กิเลสกามเป็นเหตุใคร่  หมายถึงกิเลสที่ทำให้นรชนหลงใหลไปทางอันจะหมกมุ่นอยู่ด้วยความเร่าร้อนของไฟกิเลส หาทางที่จะสลัดออกจากภพได้ยาก เพราะกิเลสทำให้หลงระเริงติดอยู่ในสิ่งยั่วยวนตามแรงของกิเลสนั้นๆ มีราคะ โลภะ อิจฉา (ความอยากได้) เป็นต้น
                . วัตถุกาม วัสดุอันน่าใคร่ หมายถึงวัตถุอันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดมี  รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่พอใจ เครื่องประดับ เครื่องนุ่งห่ม เหล่านี้เป็นต้น ที่ชื่อว่าเป็นกาม เพราะเป็นอารมณ์
ของตัณหา บุคคลเมื่อหลงยึดถือสิ่งเหล่านี้แล้ว ก็ย่อมทำให้ตัวเองหลงใหลมัวเมา เพลิดเพลินอยู่ไม่รู้จักหาทางหลุดพ้นออกไปจากภพได้ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา
ทิฏฐิ ๒  (ความเห็น, ทฤษฎี)
                . สัสสตทิฏฐิ  ความเห็นว่าเที่ยง  หมายถึงความเห็นที่บัญญัติว่า อัตตาและโลกเที่ยงแท้ยั่งยืน  คือ  ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างไรก็อยู่อย่างนั้น  หาที่สุดมิได้ถึงแม้ร่างกายจะเสื่อมสลายไปก็ตาม  ส่วนดวงชีพ หรือ เจตภูต หรือ มนัส(ใจยังเป็นธรรมชาติไม่สูญสิ้น ย่อมสามารถถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นต่อไปได้อีก  ส่วนมติทางพระพุทธศาสนา ได้ปฏิเสธอัตตาว่าไม่เที่ยงแท้ถาวร แต่ยอมรับการเวียนว่ายตายเกิดของสภาวธรรมด้วยอำนาจแห่งเหตุปัจจัย  และยอมรับความสูญสิ้นของสภาวธรรมเหล่านั้นเหมือนกันเมื่อขาดเหตุปัจจัย
                . อุจเฉททิฏฐิ ความเห็นว่าขาดสูญ  หมายถึงความว่ามนุษย์และสัตว์จุติจากอัตภาพนี้แล้วขาดสูญหมด ไม่สามารถถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่น หรือภพอื่น  ต่อไปได้อีก
                ทิฏฐิทั้ง ๒ นี้เป็นความเห็นผิดที่ขัดแย้งกันเอง พร้อมทั้งขัดต่อความเห็นในทางพระพุทธศาสนาด้วยเพราะ พระพุทธศาสนาได้แสดงความเห็นไว้ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา
เทสนา ๒  (การชี้แจง, การแสดงธรรมสั่งสอน)
                . ปุคคลาธิฏฐาน มีบุคคลเป็นที่ตั้ง หมายถึง การแสดงธรรมโดยยกบุคคลขึ้นเป็นตัวอย่าง เพื่อให้ผู้ฟังเห็นภาพพจน์เพื่อความเข้าใจง่าย เช่น พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระธรรมเทศนาเรื่องการให้ทาน พระองค์ทรงยกเรื่องพระเวสสันดรชาดกมาเล่าให้ผู้ฟัง ๆ เป็นต้น
                . ธัมมาธิฏฐาน มีธรรมเป็นที่ตั้ง หมายถึงการแสดงธรรมล้วนๆ โดยยกหัวข้อธรรมขึ้นแสดงเป็นข้อๆแล้วอธิบายไปตามหัวข้อธรรมนั้นๆ เช่น แสดงธรรมเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท  เป็นต้น
                เทศนาทั้ง  ๒  นี้มีลักษณะการแสดงที่แตกต่างกัน  ปุคคลาธิฏฐาน  เป็นการแสดงธรรมในพระสูตร  ส่วนธัมมาธิฏฐาน จะเป็นการแสดงธรรมในอภิธรรม
นิพพาน ๒  (การดับกิเลศและกองทุกข์)
                . สอุปาทิเสสนิพพาน  ดับกิเลสยังมีเบญจขันธ์เหลือ หมายถึง พระอริยะผู้ละกิเลสได้สิ้นเชิงด้วยการบรรลุอรหัตตผล  เป็นพระอรหันต์ ที่ยังมีชีพอยู่
                . อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ(ขันธปรินิพพาน) หมายถึงพระอรหันต์ที่สิ้นชีพแล้วกิเลสาสวะไม่มีแล้ว กรรมที่ท่านทำมาก่อนจะบรรลุก็ตามให้ผลไม่ได้แล้ว
                นิพพานนี้  เป็นโลกุตรธรรม  และเป็นจุดหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาอีกด้วย
บูชา ๒  (การแสดงความเคารพต่อบุคคลหรือสิ่งที่นับถือด้วยเครื่องสักการะ)
                . อามิสบูชา  บูชาด้วยอามิส  คือ สิ่งของ หมายถึงการให้สิ่งของมี, ดอกไม้, ของหอม, อาหาร และวัตถุอื่นๆ ให้แก่คนที่ตนเคารพนับถือแต่ในที่นี้ ท่านหมายเอาการถวายแก่พระพุทธเจ้าและพระสงฆ์สาวก
                . ปฏิบัติบูชา บูชาด้วยปฏิบัติตาม หมายถึงการปฏิบัติตามคำสอนของท่านไม่ล่วงละเมิดข้อที่ท่านบัญ ญัติไว้ การประพฤติปฏิบัติเช่นนี้ พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญ  เพราะสามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้
                การบูชาทั้ง  ๒  นี้ อามิสบูชาแม้จะมีมากเท่าไร เช่น พระเจดีย์เป็นหมื่นเป็นแสน มีอารามทั่งประเทศ ถ้าศานิกชนไม่ปฏิบัติตามธรรมที่พระศาสดาสั่งสอนศาสนาก็ย่อมไม่ยืนยงไปได้ แต่ถ้าศาสนิกชนปฏิบัติตามธรรมที่พระศาสดาสั่งสอน แม้จะไม่มากนักก็สามารถดำรงศาสนาไว้ได้  ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงไม่สรรเสริญอามิสบูชา แต่ทรงสรรเสริญปฏิบัติบูชาแทน
ปาพจน์ ๒  (คำเป็นประธาน คือ พระพุทธพจน์)
                . ธรรม  ได้แก่  คำสอนที่มุ่งขัดเกลาจริตของบุคคลให้มีความประณีตยิ่งขึ้น  ธรรมนี้มีอยู่ก่อนแล้ว  แต่พระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วนำมาแจกแจง แยกแยะ แล้วสอนให้เวไนยสัตว์ปฏิบัติตาม ธรรมนี้ไม่ใช่บทบัญญัติที่จะไปลงโทษแก่ผู้ล่วงละเมิด  แต่ว่าเมื่อบุคคลปฏิบัติตามหรือล่วงละเมิดก็จะได้ผลด้วยตนเอง
                . วินัย ได้แก่ ข้อบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้  และอภิสมาจารถือมารยาทที่ควรประพฤติ  ทรงวางไว้เพื่อควบคุมการประพฤติปฏิบัติของพุทธบริษัท  ให้ดำเนินไปในทางที่ถูกต้อง
วิมุตติ    (ความหลุดพ้นจากกิเลส)
                . เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจใจ หมายถึงความที่จิตหลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสด้วยการฝึกจิต  เรียกว่า สมถกรรมฐาน
                . ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยอำนาจแห่งปัญญา หมายถึงความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการใช้ปัญญาพิจารณาด้วยการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
สังขาร ๒  (สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น)
                . อุปาทินนกสังขาร  สังขารมีใจครอง ได้แก่สิ่งมีชีวิตทั้งหลาย  สังขารมีใจครองสามารถเคลื่อนไหวไปไหนมาไหนได้ตามต้องการ
                . อนุปาทินนกสังขาร  สังขารไม่มีใจครอง ได้แก่สิ่งไม่มีชีวิตทั้งหลาย เช่น  กรวด  หิน  ดิน  ทรายบ้านเรือน  ตลอดถึง รถ  เรือ  ยานพาหนะต่างๆ  เป็นต้น
สมาธิ  (การทำจิตใจให้สงบแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน)
                . อุปจารสมาธิ  สมาธิแบบเฉียดๆ ได้แก่การทำจิตให้สงบชั่วขณะหนึ่งอาจเป็น ๓นาที  ๕นาที
                . อัปปานาสมาธิ  สมาธิกันแน่วแน่  ได้แก่จิตที่ตั้งมั่นสนิทแล้ว  เป็นสมาธิฌาน
สุข ๒  (ความสบายกายสบายใจ)
                . กายิกสุข  สุขทางกาย  ได้แก่การที่ร่างกายของคนเราไม่มีความทุกข์ ไม่มีโรค ไม่มีภัยเบียดเบียน
                . เจตสิกสุข สุขทางใจ  จิตที่ประสบกับอารมณ์ที่น่าปรารถนา  ทำให้เกิดความสบายใจ  แช่มชื่นใจ
ปฏิสันถาร ๒  (การต้อนรับ  การทักทายปราศัย)
                . อามิสปฏิสันถาร  ปฏิสันถารด้วยอามิส ได้แก่การต้อนรับด้วยสิ่งของ เช่น ให้น้ำดื่ม  หรือแม้กระทั่งการให้ที่พักอาศัย  การให้ข้าวปลาอาหาร  เป็นต้น  โดยสมควรแก่ฐานะของแขกผู้มาเยือน
                . ธัมมปฏิสันถาร  ปฏิสันถารโดยธรรม  ได้แก่การกล่าวแนะนำแขกในทางที่ดี เพื่อให้เขาได้ถือเอาไปปฏิบัติ  หรือได้แก่การต้อนรับโดยความสมควรแก่ฐานะของแขกผู้มา ว่าใครควรจะลุกขึ้นยืนรับ  ใครควรจะไหว้  เป็นต้น
ปริเยสนา    (การแสวงหา)
                . อริยปริเยสนา  แสวงหาอย่างประเสริฐ  หมายถึง  การประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตถูกต้องตามกฎหมายและศีลธรรม  ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น  อีกความหมายหนึ่ง หมายถึงการแสวงหาธรรมเครื่องดับกิเลสและกองทุกข์
                . อนริยปริเยสนา  แสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ  หมายถึง  การประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตในทางผิดกฎหมาย  ผิดศีลธรรม  สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้อื่น  ตรงข้ามกับอริยปริเยสนา
                อนึ่ง  สัมมาอาชีวะ  เป็นอริยปริเยสนา  มิจฉาอาชีวะ  เป็นอนริยปริเยสนา

ติกะ  หมวด 
อกุศลวิตก ๓  (ความตรึกที่เป็นอกุศล)
                . กามวิตก  ความตริในทางกาม   หมายถึงการนึกถึงรูป  รส  กลิ่น  เสียง  โผฏฐัพพะ  อันน่าใคร่  น่าปรารถนา  น่าพอใจ  ด้วยความคิดที่ไม่ถูกต้องทางศีลธรรม
                .พยาบาทวิตก ความตริในทางพยาบาท หมายถึง  ความตรึกนึกด้วยความอำนาจแห่งความพยาบาท  ซึ่งอาจจะเกิดมาจากความไม่พอใจ  หรือการกระทบกระทั่งกันบางอย่างแล้วใจยังเก็บเรื่องนั้นไว้อยู่
                . วิหิงสาวิตก  ความตริในทางเบียดเบียน  หมายถึง  ความนึกคิดในทางก่อความเดือดร้อนให้เกิดแก่ผู้อื่น ต้องการจะเห็นความวิบัติ  ความเดือดร้อนของคนอื่น  สัตว์อื่น
                อกุศลวิตก  ๓  นี้                 - กามวิตก  มีราคะ  และโลภะ         เป็นมูล
                                      - พยาบาทวิตก  มีโทสะ                     เป็นมูล
                                     - วิหิงสาวิตก  มีโมหะ                      เป็นมูล
กุศลวิตก ๓  (ความนึกคิดที่ดีงาม)
                . เนกขัมมวิตก  ความตรึกปลอดจากกาม  หมายถึง  ความนึกคิดในทางสงบ  ไม่คิดในกามารมณ์  อันเป็นเครื่องปรนเปรอ  หรือสนองความอยากของตน  คิดหาทางออกจากตัณหา
                . อพยาบาทวิตก ความนึกคิดที่ปราศจากความพยาบาท หมายถึง ความนึกติดที่ประกอบด้วยเมตตา  คิดปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข  ไม่เพ่งมองผู้อื่นในแง่ร้าย
                . อวิหิงสาวิตก ความนึกคิดในทางไม่เบียดเบียน หมายถึง ความนึกคิดที่ประกอบด้วยกรุณาปรารถนาให้คนอื่นพ้นจากความทุกข์ที่เขากำลังได้รับ  ไม่คิดร้ายหรือมุ่งทำลายเขา
อัคคิ ๓  (ไฟคือกิเลส)
                . ราคัคคิ  ไฟคือราคะ ได้แก่  ความรู้สึกนึกกำหนด  รักใคร่  ยินดีในกามคุณมี  รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  มีความมุ่งหมายปรารถนาที่จะได้ของเหล่านั้นมาเป็นของ ๆ ตน  ถ้าไม่ได้ก็กระเสือกกระสนแสวงหา  ทำให้เดือดร้อนต่าง ๆ นานา  เปรียบเสมือนไฟแผดเผาอยู่ภายใน
                . โทสัคคิ  ไฟคือโทสะ ได้แก่ ความเดือดพล่านของอารมณ์ ซึ่งเกิดขึ้นขณะประสบอารมณ์ไม่น่าปรารถนา  เกิดความโกรธ  อาฆาต  พยาบาท  เป็นต้น  เมื่อไฟกองนี้เกิดขึ้นในสันดานแล้ว  ทำให้เกิดการวิวาทประทุษร้ายกันและกัน  จนถึงกับบาดเจ็บล้มตายได้  เป็นต้น
                . โมหัคคิ  ไฟคือโมหะ  ได้แก่  ความหลงมัวเมา  ความไม่รู้  ความไม่เข้าใจ  ไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญอะไรเป็นบาป  เป็นคุณเป็นโทษ  ไฟกองนี้เปรียบเหมือนไฟสุมแกลบฉะนั้น
อัตถะ ๓  (ประโยชน์)
                . ทิฏฐธัมมิกัตถะ  ประโยชน์ในภพนี้  ได้แก่ ประโยชน์ที่บุคคลจะพึงได้รับในปัจจุบัน  ที่รู้จักกันง่ายๆ  คือ  ความสุข  เช่น  ความสุขจากการมีทรัพย์  ความสุขจากการมีสามี-ภรรยาที่ดี  เป็นต้น  นี้เรียกว่า ประโยชน์ในปัจจุบัน
                . สัมปรายิกัตถะ  ประโยชน์ในภพหน้า  ได้แก่  ประโยชน์ที่เราจะได้รับหลังจากตายไปแล้ว  ถ้าเราทำดีภายหน้าก็จะได้รับผลที่ดี  ถ้าทำชั่วภายหน้าก็จะได้รับผลไม่ดี
                . ปรมัตถะ  ประโยชน์คือพระนิพพาน   ได้แก่  การดับกิเลสมี  ราคะ  โทสะ  โมหะ  เป็นต้น  อันเป็นเหตุให้เกิดความร้อนใจทั้งปวง  การหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้
อธิปเตยยะ ๓ (ความเป็นใหญ่)
                . อัตตาธิปเตยยะ  ความมีตนเป็นใหญ่   หมายถึง   การจะทำอะไร ๆ  ก็ปรารภตนเองเป็นใหญ่  ปรารภตนเป็นที่ตั้ง  เช่น  เห็นว่าตนเองขัดสนในชาตินี้ก็เลยทำบุญเพื่อจะให้ได้ประสบสุขในภพหน้า
                . โลกธิปเตยยะ  ความมีโลกเป็นใหญ่   หมายถึง  การกระทำที่ปรารภโลกเป็นใหญ่ (ทำตามอย่างคนพวกมากเช่น  เราไม่อยากจะทำบุญแต่เห็นชนส่วนมากหรือเพื่อนร่วมงานเขาพากันทำหมด  ครั้นจะไม่ทำก็เกรงเขาติเตียน  บางทีเรียกว่า  ประชาธิปไตย  การถือเอาความคิดคนส่วนมากเป็นเกณฑ์ถึงแม้จะเป็นการกระทำที่ไม่ดี
                . ธัมมาธิปเตยยะ  ความมีธรรมเป็นใหญ่   หมายถึง  การกระทำที่ถือธรรมเป็นหลัก  ถือความถูกต้อง  ทำเพื่อให้คนอื่นมีความสุข  ถึงแม้จะไม่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
อภิสังขาร ๓  (สภาพที่ปรุงแต่งผลแห่งการกระทำของสัตว์)
                . ปุญญาภิสังขาร  อภิสังขารคือบุญ   หมายถึง  สภาวะของความดีที่ปรุงแต่งชีวิตสัตว์ให้ดี  เพราะกรรมอันเป็นฝ่ายอกุศล  อันได้แก่กุศลเจตนาฝ่ายกามาวจร ๓  และฝ่ายรูปาวจร  ๕
                . อปุญญาภิสังขาร อภิสังขารคือบาป หมายถึง  สภาวะของความชั่วที่ปรุงแต่งให้สัตว์เลว  ได้แก่  อกุศลเจตนาอันเป็นฝ่ายกามาวจรทั้ง  ๑๒  ทำให้สัตว์เป็นไปตามแรงกรรมที่ตนได้กระทำไว้ก่อไว้ในอดีต  เช่น  ทำให้เกิดในตระกูลขัดสน  ไม่หล่อ  ไม่สวย  เป็นต้น
                . อเนญชาภิสังขาร  อภิสังขารคือเนญชา หมายถึง ภาวะที่มั่นคงไม่หวั่นไหว ได้แก่ กุศลเจตนาที่เป็นอรูปาวจร  ๔  ไปจนถึงอรูปฌาน  ๔
อาสวะ ๓  (สิ่งที่หมักหมมอยู่ในสันดานสัตว์)
                . กามาสวะ  อาสวะเป็นเหตุอยากได้  ได้แก่  ความใคร่ในรูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  ที่ใจตนกำหนดว่า  น่าใคร่  น่าปรารถนา  น่าพอใจ
                . ภวาสวะ  อาสวะเป็นเหตุอยากเป็น ได้แก่ ความชื่นชมยินดีในความมีความเป็นต่าง ๆ  ที่ตนกำหนดว่า  น่ายินดี  น่าปรารถนา  เช่น  ต้องการอยากเป็นเศรษฐี  ต้องการอยากมีการงานสูง ๆ
                . อวิชชาสวะ อาสวะคือความเขลา ได้แก่  ความไม่รู้ตามความเป็นจริงของสิ่งเหล่านั้น ๆ  ว่าเป็นอย่างไร  เช่น  คนไม่เข้าใจหลักสมดุลธรรมชาติที่คน พืช สัตว์ ต้องพึ่งพาอาศัยกัน  เมื่อไม่เข้าใจก็ย่อมจำทำลายธรรมชาติ
กรรม ๓  (การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา)
                . กายกรรม  การกระทำทางกาย   ถ้าเป็นกรรมดีก็เป็นกายสุจริต  เช่น  ไม่ฆ่าสัตว์  ไม่ลักทรัพย์  ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เป็นกายทุจริต  เช่น  ฆ่าสัตว์  ลักทรัพย์  เป็นต้น 
                . วจีกรรม  การกระทำทางวาจา   ถ้าเป็นกรรมดีก็เป็นวจีสุจริต  เช่น  ไม่พูดเท็จ  ไม่พูดคำหยาบ  เป็นต้น  แต่ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เป็นวจีทุจริต  เช่น  พูดเท็จ  พูดคำหยาบ  เป็นต้น
                . มโนกรรม  การกระทำทางใจ   ถ้าเป็นกรรมฝ่ายดีก็เป็นมโนสุจริต เช่น ไม่โลภอยากได้ของคนอื่น ไม่พยาบาทปองร้ายคนอื่น ถ้าเป็นกรรมชั่วก็เป็นมโนทุจริต เช่นโลภอยากได้ของของคนอื่น พยาบาทคนอื่นเป็นต้น


ทวาร ๓  (ช่องทางที่ทำกรรม)
                . กายทวาร  ทวารคือกาย  ได้แก่  กายเป็นที่ตั้งแห่งการกระทำ  คือการกระทำเป็นกายทวาร  ผลเป็นกายกรรม  เป็นได้ทั้งดีและชั่ว
                . วจีทวาร  ทวารคือวาจา  ได้แก่  การกล่าวด้วยวาจา  จัดเป็นวจีทวาร  คำพูดที่ออกมาจัดเป็นวจีกรรม  เป็นได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว
                . มโนทวาร  ทวารคือใจ  ได้แก่  จิตที่คิดรำพึงถึงสิ่งที่ตนปรารถนา  เป็นมโนทวาร  ผลที่คิดเป็นมโนกรรม  เป็นได้ทั้งฝ่ายดี ฝ่ายชั่ว
ตัณหา ๓  (ความทะยานอยาก)
                . กามตัณหา  ความทะยานอยากในกาม  ได้แก่  อยากได้อารมณ์อันน่ารักใคร่  น่าปรารถนา  ต้องการพัวพันอยู่ในกามารมณ์
                . ภวตัณหา  ความทะยานอยากในภพ  ได้แก่  การอยากเป็นนั่น  อยากเป็นนี่  หรือไม่ต้องการพลัดพรากจากภพหรือสถานที่อยู่ของตน รวมถึงความต้องการเป็นคนมีอำนาจ  มีชื่อเสียง  มีฐานะดี  เป็นต้น
                . วิภวตัณหา ความทะยานอยากในการไปจากภพ ได้แก่  ความต้องการพ้นจากความเป็นอยู่จากความเป็นตัวตนอย่างใดอย่างหนึ่ง  อยากดับสูญให้หมด
ทิฏฐิ ๓  (ความเห็น, ทฤษฏี)
                . อกิริยทิฏฐิ  ความเห็นว่าไม่เป็นอันทำ  หมายถึง  ความเห็นว่าการกระทำแล้วไม่ชื่อว่าทำ เช่น เห็นว่าทานที่ให้ไปแล้วไม่เป็นผล  ผลวิบากของกรรมที่สัตว์ทำแล้วไม่มี  เป็นต้น
                . อเหตุกทิฏฐิ  ความเห็นว่าหาเหตุมิได้  หมายถึง การเห็นว่าสรรพสิ่งไม่มีเหตุปัจจัย  ทิฏฐินี้แสดงว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนๆนั้นไม่ว่าจะเป็นความสุขความทุกข์เป็นต้นล้วนเกิดขึ้นมาเองโดยไม่มีเหตุปัจจัย
                . นัตถิกทิฏฐิ  ความเห็นว่าไม่มี หมายถึง ความเห็นที่ปฏิเสธทุกอย่าง โดยสรุปว่า บุญ บาปไม่มี โลกหน้าไม่มี  สัตว์ทั้งหลายสิ้นสุดลงที่ความตาย  เป็นต้น
                ทิฏฐิทั้ง  ๓  อย่างนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิ   เป็นความเห็นขัดแย้งกับทางพระพุทธศาสนา
ปาฏิหาริย์ ๓  (การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์)
                . อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์เป็นอัศจรรย์  หมายถึง  การแสดงที่พ้นวิสัยของสามัญชนธรรมดา  เช่น  หายตัวได้  ดำดินได้  เหาะได้  เป็นต้น
                . อาเทศนาปาฏิหาริย์  ทายใจเป็นอัศจรรย์  หมายถึง  การทายใจของคนอื่นได้ถูกต้อง ไม่ว่าเขาจะคิดไปอย่างไร  จะดีหรือเลว  ญาณที่ทำให้รู้ใจผู้อื่นนี้ คือ  เจโตปริยญาณ
                . อนุสาสนีปาฏิหาริย์  คำสอนเป็นอัศจรรย์  หมายถึง  คำสอนที่เป็นจริง  สอนให้เห็นผลจริง  คนผู้นำไปปฏิบัติสามารถทำให้ได้ผลสมจริงได้โดยไม่เลือกเวลา  สถานที่  ผู้ปฏิบัติจะรู้ได้ด้วยตัวเอง
                คำสอนทั้ง ๓ นี้พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญอนุสสาสนีปาฏิหาริย์ เพราะอาจสามารถดำรงศาสนาไว้ได้
ปิฏก ๓  (คัมภีร์ที่รวบรวมคำสอนทางพระพุทธศาสนา)
                . พระวินัยปิฎก หมวดพระวินัย ได้แก่การประมวลเอาพุทธบัญญัติระเบียบแบบแผนที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ให้พุทธบริษัทปฏิบัติตาม เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่คณะ  แบ่งเป็น ๒ หมวด ๕ คัมภีร์มีพระไตรปิฎก  ๘  เล่ม
                . พระสุตตันตปิฎก หมวดพระสูตร  ได้แก่หมวดที่ประมวลเอาพระธรรมเทศนา หรือ คำบรรยายธรรมและเรื่องราวต่าง ๆ  ที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงไว้เข้าเป็นหมวดหมู่มี ๕ นิกาย มีพระไตรปิฎก  ๒๕ เล่ม
                . พระอภิธรรมปิฎก หมวดอภิธรรม  ได้แก่การประมวลหลักธรรมและคำอธิบายล้วน ๆ ท่านเน้นหนักในเรื่องปรมัตถธรรม  อันได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน มี ๗ คัมภีร์ พระไตรปิฎก  ๑๒  เล่ม
พุทธจริยา ๓  (จริยาวัตรของพระพุทธเจ้า)
                . โลกัตถจริยา ทรงประพฤติเพื่อเป็นประโยชน์แก่โลก หมายถึง การที่พระพุทธเจ้าทรงอาศัยพระมหากรุณาธิคุณเสด็จไปโปรดชาวโลกด้วยการนำเอาคำสอนไปประกาศชี้แจงแสดง เพื่อให้เป็นประโยชน์สุขแก่มหาชนในแคว้นต่างๆ เป็นต้นมา  และทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เพื่อประโยชน์แก่มหาชนภายหลังด้วย
                . ญาตัตถจริยา ทรงประพฤติเพื่อเป็นประโยชน์แก่พระญาติ  ได้แก่  การที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระบิดา  และเสด็จไปห้ามพระญาติที่วิวาทแย่งน้ำกัน  เป็นต้น
                . พุทธัตถจริยา  ทรงประพฤติเพื่อเป็นประโยชน์ในฐานะเป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่การที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดเวไนยสัตว์ให้รู้ตามธรรมที่พระองค์ได้ตรัสรู้ ทรงบัญญัติพระวินัย เพื่อบริหารหมู่สาวกเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย  และทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืนมาตราบทุกวันนี้  เป็นต้น
โลก ๓  (โลกคือหมู่สัตว์, สัตว์โลก)
                . มนุษย์โลก โลกที่เราอาศัยอยู่นี้  ได้แก่  โลกที่เป็นผืนแผ่นดินอันเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์หรือสัตว์
                . เทวโลก  สวรรค์ชั้นกามาวจร ๖ ชั้น  ได้แก่  ที่อยู่ของเทพยดา๖ ชั้นซึ่งยังเพลิดเพลินอยู่ในกามคุณ
                . พรหมโลก  สวรรค์ชั้นรูปพรหม ๑๖ ชั้น  ได้แก่  ที่อยู่ของพรหม ๆ  นั้นเกิดขึ้นด้วยกำลังฌาน
สังขตลักษณะ ๓  (ลักษณะของสิ่งที่มีปัจจัยปรุงแต่ง)
                . ความเกิดขึ้นปรากฏ  (อุปปา  ปัญญายติ)
                . ความดับสลายปรากฏ  (วโย  ปัญญายติ)
                . เมื่อตั้งอยู่ความแปรปรวนปรากฏ  (ฐิตัสมิ  อัญญัตตัง  ปัญญายติ)


สิกขา ๓  (ข้อปฏิบัติที่จะต้องศึกษา)
                . อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง หมายถึง การปฏิบัติสำหรับฝึกไม่ให้ฝ่าฝืนในข้อบัญญัติแม้เล็กน้อยไม่ให้ด่างพร้อย
                . อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง หมายถึง  การฝึกปรืออบรมจิตใจของคนเองด้วยระบบของสมถกรรมฐาน  ทำจิตให้สงบจากกามารมณ์
                . อธิปัญญาสิกขา  สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง หมายถึง  การปฏิบัติสำหรับอบรมปัญญาให้เกิดความรู้แจ้งอย่างสูง  คือ  ให้รู้ถึงความเกิด  ความดับ  ว่านี้ทุกข์  นี้เหตุทำให้เกิดทุกข์  นี้คือความดับทุกข์  นี้เป็นทางปฏิบัติเพื่อให้ดับทุกข์และให้รู้ว่า  นี้คืออาสวะ  ฯลฯ   นี้คือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ

จตุกกะ  หมวด 
อบาย ๔  (สถานที่อันปราศจากความเจริญ)
                . นิริยะ (นรกหมายถึง  ภูมิหรือสถานที่เสวยทุกข์ของคนหรือสัตว์ผู้ทำบาป  เมื่อตายไปแล้วก็ไปเกิดในที่นั้น  และแล้วก็ได้รับทุกขเวทนาต่าง ๆ  ตามแต่กรรมที่คนได้ทำไว้
                . ติรัจฉาน (กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน) หมายถึง  สัตว์ดิรัจฉานที่เราพบอยู่ทุกวันนี้เอง  เช่น  ช้าง  ม้า  วัว  ควาย เป็นต้น  ได้ชื่อว่าเป็นอบาย  คือ หาความเจริญไม่ได้  ไม่สามารถพัฒนาให้มีความก้าวหน้า  บรรพบุรุษเคยเป็นอยู่อย่างไร  ก็เป็นอยู่อย่างนั้นไม่เปลี่ยนแปลง  หรือถ้าเปลี่ยนแปลงก็เปลี่ยนแปลงเล็กน้อย
                . ปิตติวิสัย  (ภูมิแห่งเปรต) หมายถึง  สถานเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์จำพวกหนึ่งที่ว่ากันว่ามีรูปร่างพิกลต่าง ๆ เช่น  ตัวสูงโย่งยาวเท่าต้นตาล  มีปากเท่ารูเข็ม  กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร  เป็นต้น
                . อสุรกาย  (พวกอสูรหมายถึง  สัตว์ที่เกิดในอบายภูมิพวกหนึ่ง  ชอบเที่ยวหลอกหลอนคนคู่กับเปรต  แต่เปรตไม่เหมือนอสุรกาย(ผี) เป็นแต่คนไปพบเอง
อัปปมัญญา ๔  (ธรรมที่แผ่ไปไม่มีประมาณ)
                . เมตตา  ความรักใคร่  ได้แก่  ปรารถนาจะให้คนอื่นมีความสุข  แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้าสม่ำเสมอกันหมดโดยไม่จำกัดขอบเขต  ผู้เจริญย่อมกำจัดความพยาบาทเสียได้
                . กรุณา  ความสงสาร ได้แก่  ความคิดที่จะช่วยให้คนอื่นพ้นทุกข์ภัยพิบัติต่าง ๆ  ที่เขากำลังประสบอยู่  ผู้เจริญย่อมกำจัดวิหิงสาเสียได้   
                . มุทิตา ความพลอยยินดี ได้แก่  เมื่อผู้อื่นได้ดีก็มีความสุขแช่มชื่นเบิกบานใจด้วย  ผู้เจริญย่อมกำจัดอคติและริษยาเสียได้
                . อุเบกขา  ความวางเฉย ได้แก่  การมีใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปด้วยความชอบหรือความชัง ในเมื่อไม่สามารถจะช่วยเหลือได้  โดยพิจารณาเป็นกลางว่าเขามีกรรมเป็นของตนเอง  เมื่อทำดังนี้จิตก็จะสงบ   ผู้เจริญย่อมกำจัดปฏิฆะเสียได้
                พรหมวิหาร  ๔  แผ่ไปจำเพาะเจาะจง  แต่อัปปมัญญา  ๔  แผ่ไปไม่มีประมาณ  ไม่จำกัดว่าเป็นใคร
อุปาทาน ๔  (ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส)
                . กามุปาทาน ความยึดมั่นในกาม ได้แก่ การเข้าไปยึดมั่นถือมั่นในกาม  คือสิ่งที่ตนคิดว่าน่าปรารถนา  น่าพอใจ  หมกมุ่นอยู่ว่านั่นของเรา  จึงเป็นเหตุให้เกิดการหึงหวงกันขึ้น  เป็นต้น
                . ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นทิฏฐิ  ได้แก่ การยึดมั่นถือมั่นในลัทธิหรือหลักคำสอนต่างๆ ของฝ่ายตน  โดยเห็นผู้อื่นผิดหมดเมื่อเข้าใจกันไม่ได้  จึงก่อให้เกิดสงครามระหว่างศาสนา หรือลัทธิต่างกันขึ้น  เช่น  สงครามในเลบานอน  หรือแม้ศาสนาเดียวกันก็ฆ่ากันได้  เพราะความเห็นขัดแย้งกัน
                . สีลัพพตุปาทาน  ถือมั่นศีลพรต ได้แก่  การยึดถือเอาสิ่งที่ตนประพฤติปฏิบัติอย่างงมงายว่าขลัง  ว่าศักดิ์สิทธิ์  มิได้เป็นด้วยความรู้ความเข้าใจด้วยตามหลักเหตุผล
                . อัตตวาทุปาทาน  ถือมั่นวาทะว่าตน  ได้แก่  ความสำคัญ หมายว่า  นี้คือเรา  นี้ของเรา  นั่นของเรา  จนเป็นเหตุให้แบ่งแยกเป็นพรรคเป็นพวกขึ้น  จนถึงกับยึดถือว่าตัวตนที่เที่ยงแท้อยู่
โอฆะ ๔  (กิเลสดุจน้ำท่วมใจสัตว์)
                . กาโมฆะ โอฆะคือกาม หมายเอาวัตถุกามและกิเลสกามที่จะทำให้คนหลงยึดติดอยู่กับความเพลิดเพลิน
                . ภโวฆะ  โอฆะคือภพ  หมายเอากิเลสที่หมักหมมอยู่ในสันดานสัตว์  ทำให้อยากเป็น  อยากมี
                . ทิฏโฐฆะ  โอฆะคือทิฏฐิ  หมายเอามิจฉาทิฏฐิที่ท่วมทับใจสัตว์  ทำให้ยึดถือในสิ่งที่ผิด
                . อวิชโชฆะ  โอฆะคืออวิชชา  หมายเอาความไม่รู้ทั่วไป  คือไม่รู้วิชชา  ๔  หรือวิชชา  ๖
ทักขิณาวิสุทธิ ๔  (ความบริสุทธิ์แห่งทักษิณา (ของที่ทำบุญ)
                . ผู้ให้เป็นผู้ถือศีลมีกัลยาณธรรม  แต่ผู้รับทุศีล  มีบาปธรรม  มีผลเพียงกึ่งเดียว  เหมือนหว่านพืชพันธุ์ดีลงในนาที่ขาดปุ๋ย
                 . ผู้ให้เป็นทุศีล  มีบาปธรรม  แต่ผู้รับเป็นผู้มีศีลกัลยาณธรรม  มีผลเพียงกึ่งเดียวเช่นกัน  เหมือนพืชไม่ดีหว่านลงในนาดี
                . ทั้ง  ๒  ฝ่ายไม่มีศีล  มีบาปธรรม หวังผลได้น้อย  เหมือนหว่านพืชชนิดเลวลงในนาที่ขาดปุ๋ย
                . ทั้ง  ๒  ฝ่ายต่างก็สมบูรณ์ด้วยศีลและกัลยาณธรรม  มีผลมาก  เหมือนหว่านพืชพันธุ์ดีลงในนาที่อุดมด้วยปุ๋ยฉะนั้น
บริษัท ๔  (พุทธศาสนิกชน)
                . ภิกษุบริษัท  คือ  ชายที่บวชเป็นพระในพุทธศาสนา  ถือศีล  ๒๒๗  ข้อ
                . ภิกษุณีบริษัท คือ  หญิงที่บวชเป็นพระในพระพุทธศาสนา ถือศีล ๓๑๑ ข้อ (ในปัจจุบันไม่มีแล้ว)
                . อุบาสกบริษัท  คือ  คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง  ถือศีล  ๕  หรือศีล  ๘
                . อุบาสิกาบริษัท  คือ  คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง  ถือศีล  ๕  หรือศีล  ๘
บุคคล ๔  (ประเภทของบุคคล)
                . อุคฆฏิตัญญู หมายถึง ผู้มีไหวพริบปฏิภาณดี  สามารถฟังธรรมที่เขาแสดงเพียงเล็กน้อยก็เข้าใจและบรรลุได้เปรียบเหมือนดอกบัวที่พ้นน้ำแล้ว  พอได้รับแสงอาทิตย์ก็บานได้เลย
                . วิปจิตัญญู หมายถึง  ผู้รู้ต่อเมื่อขยายความแล้ว เปรียบเหมือนดอกบัวที่อยู่เสมอน้ำอีก  ๒-๓ วันก็บานได้
                . เนยยะ  หมายถึง  ผู้พอจะแนะนำได้  คือมีปัญญาค่อนข้างน้อย  ถ้าสอบบ่อย ๆ  ก็จะสามารถเข้าใจได้  เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ  อีกไม่นานก็จะขึ้นพ้นน้ำแล้ว
                . ปทปรมะ  หมายถึง  ผู้มีปัญญาน้อยมาก ฟังแล้วก็สักแต่ว่าฟัง  ไม่สามารถจะเข้าใจความได้  เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังอยู่ในตม  มีแต่จะเป็นอาหารของปลาและเต่า
ปฏิปทา ๔  (แนวทางปฏิบัติให้ถึงความหลุดพ้น)
                . ทุกขาปฏิปทา ทันธาภิญญา  ปฏิบัติลำบาก ทั้งรู้ได้ช้า  หมายถึง  ผู้ปฏิบัติที่มีกิเลสมาก  แต่มีอินทรีย์อ่อน
                . ทุกขาปฏิา ขิปปาภิญญา  ปฏิบัติลำบาก แต่รู้ได้เร็ว  หมายถึง  ผู้ปฏิบัติที่มีกิเลสมาก  แต่มีอินทรีย์แก่กล้า
                . สุขาปฏิปทา ทันธาภิญญา  ปฏิบัติสบาย แต่รู้ได้ช้าหมายถึงผู้ปฏิบัติที่มีกิเลสน้อยแต่มีอินทรีย์อ่อน
                .สุขาปฏิปทา ขิปปาภิญญา  ปฏิบัติสบาย และรู้ได้เร็ว  หมายถึง ผู้ปฏิบัติที่มีกิเลสน้อยและมีอินทรีย์แก่กล้า
โยนิ ๔  (กำเนิด, แบบหรือชนิดของการเกิด)
                . ชลาพุชะ ได้แก่  สัตว์ที่ถือปฏิสนธิและเจริญเติบโต  เมื่อถึงกำหนดก็คลอดออกจากครรภ์มารดา  เช่น  มนุษย์และสัตว์ดิรัจฉานบางประเภท
                . อัณฑชะ ได้แก่ สัตว์ที่ออกไข่มาเป็นฟองก่อนแล้วจึงฟักออกมาเป็นตัวภายหลัง เช่น เป็ด ไก่ นก  เป็นต้น
                . สังเสทชะ  ได้แก่  สัตว์ที่เกิดในของเน่าเปื่อย  ซากสัตว์เน่า  เช่น  หนอน  เชื้อโรค  เป็นต้น
                . โอปปาติกะ  ได้แก่  สัตว์ที่เกิดขึ้นมาเป็นตัวเลย  เมื่อตายก็ไม่ทอดทิ้งสรีระไว้  เช่น  เทวดา  สัตว์นรก  พรหม  เปรตบางพวก  เป็นต้น
วิบัติ ๔  (ความผิดพลาด, ความเสียหาย)
                . สีลวิบัติ  ความวิบัติแห่งศีล  ได้แก่  ผู้มีศีลวิบัติ มีการย่อหย่อนไม่ประพฤติปฏิบัติตามหลักของศีล
                . อาจารวิบัติ  ความวิบัติแห่งมารยาท  ได้แก่  ความเสียหายทางความประพฤติจรรยามารยาทไม่ดี  หรือไม่เหมาะสมแก่ภาวะของตน
                . ทิฏฐิวิบัติ  ความวิบัติแห่งทิฏฐิ  ได้แก่  ความเห็นที่คลาดเคลื่อนไปจากความเดิม  คือมีความเห็นที่ขัดแย้งต่อความเป็นจริง  เช่น  เห็นว่าการทำบุญไม่ได้บุญ  เป็นต้น
                . อาชีววิบัติ  ความวิบัติแห่งอาชีวะ  ได้แก่  การหาเลี้ยงชีพในทางที่ผิด เรียกว่า มิจฉาชีพ


ปัญจกะ  หมวด 
อนุปุพพีกถา ๕  (เรื่องที่กล่าวไปตามลำดับ)
                . ทานกถา กล่าวถึงทาน ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะสอบธรรมแก่ผู้ที่มีอุปนิสัยที่พอจะบรรลุธรรมได้  พระพุทธเจ้าจะสอนเรื่องการเสียสละเสียก่อน เพื่อให้เขาละความเห็นแก่ตัวความตระหนี่เสียก่อน จึงจะสอนอย่างอื่น
                . สีลกถา กล่าวถึงศีล ในลำดับต่อจากทานกถา  ก็ทรงแสดงคุณค่าของศีลเพื่อให้บุคคลตระหนักที่จะควบคุมกาย  วาจา  ของตนให้ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับตนและคนอื่น
                . สัคคกถา  กล่าวถึงสวรรค์  จากนั้นก็ทรงแสดงผลดีงามที่เกิดขึ้นจากการให้ทานและรักษาศีล
                . กามาทีนวกถา  กล่าวถึงโทษแห่งกาม  จากนั้นก็ทรงแสดงถึงส่วนเสีย ข้อเสียของกาม พร้อมทั้งผลร้ายที่จะมีมาแต่กาม  อันมนุษย์ไม่ควรหลงไหลหมกมุ่นมัวเมา  จนถึงรู้จักพยายามถอนตนออกจากกามเสีย
                . เนกขัมมานิสังสกถา  กล่าวถึงอานิสงฆ์ของการออกจากกาม  คือ  การกล่าวสรรเสริญผลดีของการไม่หมกมุ่นเพลิดเพลินอยู่ในกามและให้มีฉันทะในการที่จะแสวงหาความดีงามความสงบสุขที่ดีกว่านั้น
กามคุณ ๕  (ส่วนที่น่าปรารถนา, น่าใคร่)
                . รูป  ของที่ปรากฏแก่สายตา  อันเป็นรูปร่างลักษณะที่สวยงาม  อันเป็นสิ่งที่น่าปรารถนา
                . เสียง สิ่งที่ได้ยินด้วยหู อันเป็นที่น่าใคร่ เช่น เสียงเพราะของสตรี  เสียงเพลง  เสียงดนตรี  เป็นต้น
                . กลิ่น  สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก  เช่น  กลิ่นหอมของแป้ง  กลิ่นน้ำหอม  เป็นต้น
                . รส  สิ่งที่รู้ได้ด้วยลิ้น  เช่น  เปรี้ยว  หวาน  มัน  เค็ม  เป็นต้น
                . โผฏฐัพพะ  สิ่งที่มาถูกต้องกาย  คือ  สิ่งที่นุ่ม  ร้อน  เย็น  อ่อน  แข็ง  เป็นต้น
                ทั้ง  ๕  อย่างนี้  ส่วนที่ปรารถนา  น่าใคร่  น่าพอใจเท่านั้น  จึงจัดเป็นกามคุณ
มัจฉริยะ ๕  (ความตระหนี่)
                . อาวาสมัจฉริยะ  ตระหนี่ที่อยู่  ได้แก่  ความหวงไม่ให้บุคคลมาอยู่ในบ้านของคน หรือในประเทศของตน
                . กุลมัจฉริยะ  ตระหนี่ตระกูล  ได้แก่  การหวงตระกูล ถือว่าตระกูลของตนดีกว่าคนอื่น
                . ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ  ได้แก่  คนที่หวงไม่ยินดีที่จะอนุเคราะห์บุคคลอื่นด้วยวัตถุของตน
                . วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ  ได้แก่ คนที่หวงไม่ต้องการให้คนอื่นมีชื่อเสียงเท่าเทียมตนเป็นต้น
                . ธัมมมัจฉริยะ  ตระหนี่ธรรม  ได้แก่  หวงวิชาความรู้ที่ตนมี ไม่สอนให้ผู้อื่นรู้ตามด้วย
                ความตระหนี่  ๕  อย่างนี้  ท่านจัดเป็นมลทิน  เมื่อมีอยู่ในผู้ใดย่อมทำให้ผู้นั้นมัวหมอง
วิญญาณ ๕ (ความรู้ที่เกิดขึ้น  เมื่ออายตนะภายในและภายนอกกระทบกัน)
                . เมื่อเห็นรูปด้วยตา  เกิดความรู้ขึ้น  เรียกว่า  จักขุวิญญาณ
                . เมื่อได้ยินเสียงด้วยหู  เกิดความรู้ขึ้น  เรียกว่า  โสตวิญญาณ
                . เมื่อสูดดมกลิ่นด้วยจมูก  จะเป็นกลิ่นหอม กลิ่นเหม็นก็ตาม  ความรู้นั้น  เรียกว่า  ฆานวิญญาณ
                . เมื่อลิ้นได้สัมผัสกับรสชาติอย่างใดอย่างหนึ่ง  เกิดความรู้ขึ้น  เรียกว่า  ชิวหาวิญญาณ
                . เมื่อกายไปกระทบกับเย็น  ร้อน  อ่อน  แข็งต่าง ๆ  เกิดความรู้นั้นขึ้นมา  เรียกว่า  กายวิญญาณ
วิมุตติ ๕  (ความหลุดพ้น)
                . วิกขัมภนวิมุตติ พ้นด้วยการข่มไว้ คือ ความพ้นจากกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ย่อมสามารถข่มนิวรณ์ไว้ได้  ไม่ให้ฟุ้งซ่านในจิต  แต่เมื่อออกจากฌานแล้วนิวรณ์ก็สามารถครอบงำจิตได้ดังเดิม  ท่านเปรียบเหมือนหินทับหญ้า  เมื่อเอาหินออกแล้วหญ้าก็กลับงอกขึ้นได้ดังเดิม
                . ตทังควิมุตติ  พ้นได้ด้วยการสะกดไว้  คือ การทำจิตของตนให้หลุดพ้นจากอำนาจของกิเลสได้ชั่วคราว  เช่น  มีเรื่องชวนให้โกรธ แต่พิจารณาเห็นโทษของความโกรธ การทะเลาะวิวาทกันแล้วห้ามใจไม่ให้ทำตามความโกรธที่เกิดขึ้น
                . สมุจเฉทวิมุตติ  พันได้เด็ดขาด  คือ  ความพ้นจากกิเลสได้เด็ดขาดสิ้นเชิง  ด้วยโลกุตตรมรรค
                . ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พันด้วยสงบระงับ คือการหลุดพันด้วยโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับหมดแล้ว
                . นิสสรณวิมุตติ  พันด้วยสลัดออกได้  คือ การหลุดพันด้วยการดับกิเลสเสร็จสิ้นเชิง  ได้แก่  การดำรงอยู่ในพระนิพพานนั่นเอง
                ปหานะ ๕, วิมุตติ ๕, วิเวก ๕, วิราคะ๕ และโวสสัคคะ๕ ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน
เวทนา ๕  (การเสวยอารมณ์)
                . ความสุข  หมายเอา  ความสบายทางกาย
                . ความทุกข์  หมายเอา  ความไม่สบายกาย  ความเจ็บปวดทางกาย
                . โสมนัส  ความแช่มชื่น  หมายเอา  ความสบายใจ  ความสุขใจ
                . โทมนัส  ความเสียใจ  หมายเอา  ความทุกข์ทางใจ
                . อุเบกขา  ได้แก่  ความรู้สึกเฉย ๆ  ไม่แสดงออกมาในรูปของความดีใจ  เสียใจ
สุทธาวาส    (ภพที่อยู่ของท่านผู้บริสุทธิ์)
หมายถึง  ภพของท่านผู้เป็นพระอนาคามีจะไปเกิด มี ๕ คือ
                . อวิหา  ภพของท่านผู้ไม่ละฐานะของตน  ได้แก่  ภพที่ผู้มีศรัทธาแก่กล้าจะไปเกิดในภพนี้
                . อตัปปา  ภพของท่านผู้ไม่ทำความเดือดร้อนให้ใคร  ได้แก่  ภพที่เป็นทีอยู่ของผู้มีวิริยะแก่กล้า
                . สุทัสสา  ภพของท่านผู้งดงามน่าทัศนา  ได้แก่  ภพที่เป็นอยู่ของผู้มีสติแก่กล้า
                . สุทัสสี  ภพของท่านผู้ปรากฏเห็นชัดเจน  ได้แก่  ภพที่เป็นที่อยู่ของผู้มีสมาธิแก่กล้า
                . อกนิฏฐา  ภพของท่านผู้ไม่น้อยกว่าภพอื่น  ได้แก่  ภพของผู้ที่มีปัญญาแก่กล้า
สังวร ๕ (ความสำรวม)
                . สีลสังวร  สำรวมระวังในศีล  ได้แก่  การสำรวมทางการกระทำ  การพูด  การคิด  อันจะเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายขึ้นได้  โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ(ศีลเช่น  ศีล ๕  ศีล ๘  ศีล ๑๐ และศีล ๒๒๗  และกฎหมายบ้านเมืองนั้น ๆ
                . สติสังวร  สำรวมระวังด้วยสติ  ได้แก่  การสำรวมด้วยอินทรีย์  มีจักษุ  เป็นต้น  ระวังมิให้อกุศลธรรมเกิดขึ้นครอบงำได้  หรือคอยระวังก่อนแต่จะทำ  พูด  คิด  และขณะทำ  เป็นต้น
                . ญาณสังวร  สำรวมระวังด้วยญาณ  ได้แก่  การสำรวมด้วยปัญญาในเวลา  ทำ  พูด  คิด  ให้รู้จักว่าสิ่งที่ทำลงไปนั้นเป็นความผิดหรือถูก แล้วยึดเอาแต่ทางดี ทางถูกต้องต่อไป
                . ขันติสังวร  สำรวมระวังด้วยขันติ  ได้แก่  การอดทนต่อความหนาว  ความร้อน  ความหิวกระหาย  หรืออดทนต่อถ้อยคำหยาบ  คำด่า  และอดทนต่อทุกขเวทนาต่าง ๆ  ในเมื่อประสบเข้า
                . วิริยสังวร  สำรวมระวังด้วยความเพียร  ได้แก่  การเพียรพยายามขับไล่  กำจัดอกุศลวิตก  ที่เกิดขึ้นและให้หมดไป เป็นต้น  หรือเพียรละมิจฉาชีพ การเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด
ธรรมขันธ์ ๕
(หมวดธรรม  รวบรวมหัวข้อธรรมที่มีลักษณะเหมือนกันเข้ามาไว้ในหมวดเดียวกัน)
                . สีลขันธ์  หมวดศีล  ได้แก่  การประมวลเอาหมวดธรรมที่มีลักษณะเป็นศีล  เข้ามารวมไว้ในหมวดเดียว  เช่น  อปจายนมัย  ปาติโมกขสังวร  กายสุจริต  สัมมวาจา  สัมมากัมมันตะ  สัมมาอาชีวะ  เป็นต้น
                . สมาธิขันธ์  หมวดสมาธิ  ได้แก่  การรวบรวมเอาธรรมอันเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับสมาธิ อันจะพึงสงเคราะห์เข้าหมวดกันได้  เช่น  ชาคริยานุโยค  กายคตาสติ  สัมมาสติ สัมมาสมาธิ  เป็นต้น
                . ปัญญาขันธ์  หมวดปัญญา  ได้แก่  การรวบรวมธรรมอันเป็นไปในลักษณะเดียวกันกับปัญญา  อันจะพึงสงเคราะห์เข้าหมวดกันได้  เช่น ธัมมวิจยะ  วิมังสา  ปฏิสัมภิทา  สัมมาทิฏฐิ  สัมมาสังกัปปะ  เป็นต้น
                . วิมุตติขันธ์  หมวดวิมุตติ  ได้แก่  การประมวลเอาธรรมที่มีลักษณะเป็นความหลุดพ้น  เช่น  ปทานะ  วิราคะ  วิโมกข์  วิสุทธิ  นิโรธ  นิพพาน  เป็นต้น
                . วิมุตติญาณวิทัสสนาขันธ์  หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ  ได้แก่  การประมวลเอาธรรมเกี่ยวกับการเห็นในวิมุตติเข้าด้วยกัน  เช่น  ผลญาณ  ปัจจเวกขณญาณ  เป็นต้น




ฉักกะ  หมวด 
อภิญญา ๖
(ความรู้อย่างยิ่งยวด  หรือ  ความรู้ที่ได้จากการเจริญกรรมฐาน)
                . อิทธิวิธี  แสดงฤทธิ์ได้  หมายถึง  แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ ได้  เช่น  เหาะได้  หายตัวได้  เป็นต้น
                . ทิพพโสต  หูทิพย์  หมายถึง  สามารถจะฟังเสียงที่อยู่ใกล้ ๆ  ได้  เมื่อกำหนดจะฟัง
                . เจโตปริยญาณ  รู้จักใจผู้อื่น  หมายถึง  กำหนดรู้จักใจของคนอื่นว่าคิดอย่างไรได้
                . ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ  ระลึกชาติได้  หมายถึง  สามารถระลึกถึงชาติหนหลัง ๆ ได้
                . ทิพพจักขุ  ตาทิพย์  หมายถึง  สามารถมองเห็นการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดในสถานที่แห่งหนึ่งและมองเห็นสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปตามกรรม ที่ตนเองทำไว้
                . อาสวักขยญาณ  รู้จักทำอาสวะให้สิ้นไป  หมายถึง  สามารถทำให้กิเลส ตัณหาสิ้นไปจากสันดานของตนได้  ซึ่งทำให้บรรลุอรหัตตผล  สิ้นกิเลสนิพพาน
                อภิญญานี้  ๕  อย่างแรกเป็นเพียงโลกียะสามารถจะเสื่อมได้  ถ้าผู้นั้นมีจิตตกไปในทางอกุศล  ส่วนข้อ  ๖  เป็นโลกุตตรธรรมไม่มีทางเสื่อมได้
อภิฐาน ๖ (คือ กรรมที่หนักยิ่งกว่ากรรมอื่นๆ)
                . มาตุฆาต  ฆ่ามารดา  หมายถึง  บุคคลที่สามารถฆ่ามารดาของคน  ซึ่งถือเป็นผู้ให้ชีวิตและให้ทุกสิ่งทุกอย่าง  ชื่อว่าเป็นการทำกรรมอันหนัก(อนันตริยกรรม) มีทุคติเป็นที่หวัง
                . ปิตุฆาต  ฆ่าบิดา  เหมือนข้อที่ ๑
                . อรหันตฆาต  ฆ่าพระอรหันต์  หมายถึง คนที่ฆ่าพระอรหันต์ผู้ซึ่งมีจิตใจบริสุทธิ์ ไม่ได้คิดร้ายต่อใครและเป็นที่นับถือของคนทั่วไป  ผู้ที่ฆ่าบุคคลเช่นนี้ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนักยิ่ง
                . โลหิตุปบาท  ทำร้ายพระพุทธเจ้าเพียงแต่ทำให้พระโลหิตห้อขึ้น  หมายถึง  ผู้ที่ทำร้ายพระพุทธเจ้าซึ่งถือว่ามีพระคุณอันยิ่งใหญ่  ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนัก
                . สังฆเภท  ยุยงสงฆ์ให้แตกกัน  หมายถึง  ยุยงสงฆ์แยกจากกันเป็นพรรคเป็นพวก  คือ  ฝ่ายละ ๔ รูปขึ้นไป  ก็ถือว่าเป็นกรรมอันหนัก
                . อัญญสัตถุทเทส ถือศาสนาอื่น หมายถึง พระภิกษุสามเณรที่หันเหไปนับถือศาสนาอื่นทั้งที่บวชอยู่
จริต ๖ (ความประพฤติ, อุปนิสัย, พื้นเพของจิตใจ)
                . ราคจริต  มีราคะเป็นปกติ  คือ  เป็นพฤติกรรมของผู้ที่รักสวยรักงาม  ติดอยู่ในอารมณ์ที่สวยงาม ใช้อสุภะ  ๑๐  และกายคตาสติแก้
                . โทสจริต  มีโทสะเป็นปกติ  คือ  ผู้ที่มีโทสะเกิดขึ้นเสมอ ๆ  ใจร้อนหงุดหงิดง่าย  แก้ด้วยการเจริญพรหมวิหารและกสิณ  โดยเฉพาะวรรณกสิณ
                . โมหจริต  มีโมหะเป็นปกติ  ได้แก่ ผู้ที่หลงไปในทางอวิชชา  คือการไม่รู้อะไรเป็นบุญ อะไรเป็นบาป  อุบายที่จะกำจัด  คือ  เจริญอานาปานสติ  และจำต้องหมั่นศึกษาในทุกแง่ที่จะเพิ่มความรู้
                . สัทธาจริต  มีศรัทธาเป็นปกติ  ได้แก่  ผู้ที่มีความเชื่ออย่างแน่นแฟ้น  ยากที่จุถอนความยึดถือนั้นออกได้ต้องแก้ด้วยอนุสสติ  ๖
                . วิตักกจริต  มีวิตกเป็นปกติ  ได้แก่  ผู้ที่ประพฤติหนักไปในทางนึกคิดจับจด  ฟุ้งซ่าน  คิดเกินความจำเป็นเกินพอดี  ต้องแก้ด้วยการสะกดอารมณ์  เช่น  เพ่งกสิณ  หรือเจริญอานาปานสติกัมมัฏฐาน
                . พุทธิจริต  มีความรู้เป็นปกติ  ได้แก่  ผู้ที่ประพฤติหนักไปในทางใช้ความคิด  การพิจารณา  ต้องแนะนำให้คิดในทางที่ถูก
ธรรมคุณ    (คือ คุณของพระธรรม)
                . สวากขาโต  ภควตา  ธัมโม  พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว  เป็นคำสอนที่สมบูรณ์ด้วยอรรถและพยัญชนะ  มีความงามทั้งเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุด
                . สันทิฏฐิโก  หมายความว่า  การจะทำอะไรก็แล้วแต่  คนที่ทำด้วยตัวเองนั่นแหละถึงจะรู้เป็นยังไงเหมือนกับเราบริโภค ของที่มีรสขม  คนที่กินก็รู้เองว่ามีรสเป็นเช่นไร
                . อกาลิโก  ไม่ขึ้นอยู่กับกาล  หมายถึง  พระธรรมไม่ล้าสมัย  บุคคลจะนำมาประพฤติเมื่อไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องรอว่าต้องทำวันไหน  ปีไหน  หรือต้องทำตอนแก่
                . เอหิปัสสิโก  ควรเรียกให้มาดู  หมายถึง พระธรรมที่แสดงไว้นั้นสามารถที่จะให้พิสูจน์ได้ทุกเวลาและนำไปประพฤติ ปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน
                . โอปนยิโก  ควรน้อมเข้าใส่คน  หมายถึง  ควรน้อมกาย ใจของคนเข้าไปหาในสิ่งที่ดีงาม  ที่เป็นมงคลแก่ชีวิต
                . ปัจจัตตัง  เวทิตัพโพ  วิญญูหิติ  วิญญูชนพึงรู้ได้เฉพาะตน  หมายถึง  ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามจนถึงที่สุดแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตัวเอง  คนอื่นจะรู้ด้วยไม่ได้
สวรรค์ ๖
(สวรรค์ชั้นกามาวจร  คือชั้นที่มีการเกี่ยวข้องด้วยกามารมณ์อยู่)
                . ชั้นจาตุมมหาราชิกา  เป็นสวรรค์ชั้นที่ต่ำที่สุดในบรรดาสวรรค์ ๖ ชั้นนั้น  ซึ่งมีท้าวมหาราชทั้ง ๔  เป็นผู้ดูแลและปกครอง  คือ  ท้าวธตรฐ  ท้าววิรุฬหก  ท้าววิรูปักข์  ท้าวกุเวร
                . ชั้นดาวดึงส์  เป็นที่อยู่ของเทพบุตร  ๓๓  ตน  ซึ่งมีท้าวสักกะหรือพระอินทร์ปกครอง  ในชั้นนี้มีพวกเทวดากับพวกอสูร  ส่วนใหญ่จะทำการต่อสู้กันตลอดระหว่างเทวดากับอสูร  ผลที่สุดอสูรก็พ่ายแพ้จึงถูกขับไล่
                . ชั้นยามา  เป็นที่อยู่ของเทวดามีท้าวสุยามปกครองชั้นนี้อยู่
                . ชั้นดุสิต  เป็นที่อยู่ของเทพผู้ปราศจากทุกข์  อันมีท้าวสันดุสิตเป็นผู้ปกครอง  และสวรรค์ชั้นนี้ยังเป็นที่อุบัติของพระโพธิสัตว์และพระพุทธมารดาด้วย
                . ชั้นนิมมานรดี  เป็นที่อยู่ของเทพมีท้าวสุนิมนิมิตเป็นผู้ปกครอง  เทวดาชั้นนี้เมื่อต้องการสิ่งไรก็เนรมิตเอาสิ่งนั้นตามปรารถนา
                . ชั้นปรนิมมิตวสวัตตี  เป็นที่อยู่ของเทพมีท้าวนิมมิตวสวัตตีปกครอง  เทวดาที่อาศัยอยู่ในชั้นนี้เสวยสมบัติที่เทวดาอื่นเนรมิตให้

สัตตกะ  หมวด 
อนุสัย หรือ สังโยชน์ ๗ (กิเลสที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน  เป็นกิเลสอย่างละเอียด)
                . กามราคะ  ความกำหนัดในราคะ  ได้แก่  สิ่งที่มาปรุงแต่งจิต  ให้กำหนัดรักใคร่พอใจในวัตถุกาม
                . ปฏิฆะ  ความขัดใจ  ได้แก่  ความหงุดหงิด  ไม่พอใจ  ขัดเคืองใจ  ด้วยอำนาจโทสะ
                . ทิฏฐิ  ความเห็น  ได้แก่  ความเห็นผิดเช่น  เห็นว่าทำดีไม่ได้ดี  มารดา บิดาไม่มีคุณ  เป็นต้น
                . วิจิกิจฉา  ความลังเล  ได้แก่  การที่จะลงมือทำกิจการอะไรก็ไม่กล้าทำ  เพราะกลัวจะไม่ดีบ้าง  กลัวจะผิดบ้าง  เลยไม่กล้าตัดสินใจอะไรแน่นอน
                . มานะ  ความถือตัว  ได้แก่  ความคิดที่เย่อหยิ่งถือตัว  เห็นว่าตัวเองเหนือกว่าผู้อื่นทั้งหมด
                . ภวราคะ  ความอยากได้ อยากเป็น  ได้แก่  ความต้องการในวัตถุสิ่งของต่าง ๆ  ต้องการความมีอำนาจ  ต้องการเป็นใหญ่
                . อวิชชา  ความไม่รู้จริง  ได้แก่  ความไม่รู้แจ้งเห็นจริงในการทำลายกิเลสตัณหา
                กิเลสแต่ละอย่างจะมีอำนาจไปคนละทาง  แต่ละอย่างจะทำให้หลงไปทางนั้นๆ  เหมือนกับพาหนะที่นำโรคมาสู่เราได้หลายทาง เช่น ยุงลายนำเชื้อไข้เลือดออกมา เป็นต้น  พระอรหัตตมรรคขึ้นไปเท่านั้นที่ละอนุสัยได้ทั้งหมด
วิญญาณฐิติ ๗ (ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)
                . สัตว์บางพวก  มีกายต่างกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่นพวกมนุษย์ เทพบางพวก วินิปาติกะบางพวก
                . สัตว์บางพวก  มีกายต่างกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
                . สัตว์บางพวก  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาต่างกัน  เช่น  พวกเทพอาภัสสร
                . สัตว์บางพวก  มีกายอย่างเดียวกัน  มีสัญญาอย่างเดียวกัน  เช่น  พวกเทพสุภกิณหะ
               . สัตว์บางพวก  ผู้เข้าถึงชั้น  อากาสานัญจายตนะ
                . สัตว์บางพวก  ผู้เข้าถึงชั้น  วิญญานัญจายตนะ
                . สัตว์บางพวก  ผู้เข้าถึงชั้น  อากิญจัญญายตนะ
วิสุทธิ    คือ  ความบริสุทธิ์  ความหมดจด
                . สีลวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งศีล คือ การรักษาศีลของตนให้หมดจด ตามสมควรแก่ฐานะของตน
                . จิตตวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งจิต  คือ จิตที่เข้าถึงความบริสุทธิ์จากนิวรณ์ทั้ง ๕
                . ทิฏฐิวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งทิฏฐิ  คือ ความรู้ ความเห็นตามความเป็นจริง รู้จักแยกแยะถูกผิด
                . กังขาวิตรวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องข้ามพ้นความสงสัย คือความรู้ที่สามารถกำหนดรู้เหตุเกิดและเหตุดับแห่งนามรูปได้  จนเป็นเหตุให้สิ้นความสงสัยในนามรูป ตรงกับคำว่า ธรรมฐิติญาณ  หรือ ยถาภูตญาณ  หรือสัมมาทัสสนะ
                . มัคคามัคคญาณทัสสนะวิสุทธิ ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางและมิใช่ทาง  คือ  ความรู้ที่สืบทอดมาจากการเจริญวิปัสสนา  ด้วยการพิจารณาให้เห็นความเกิดขึ้นและความเลื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลายเห็นว่าวิปัสสนูปกิเลสมิใช่ทาง  ส่วนวิปัสสนานั่นแลเป็นทางที่ถูกต้อง  จึงเตรียมที่จะประคองจิตไว้ในวิถีนั้น
                . ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน  คือ  ประกอบความเพียรในวิปัสสนาญาณทั้งหลาย  เริ่มตั้งแต่อุทยัพพยยานุปัสสนาญาณที่พ้นจากอุปกิเลส   ดำเนินเข้าสู่วิถีทางนั้นเป็นต้นไป จนถึงสัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณอันเป็นที่สุดแห่งวิปัสสนา  ต่อแต่นี้เกิดโคตรภูตญาณคั่นระหว่างวิสุทธิข้อนี้กับข้อสุดท้าย เป็นหัวต่อแห่งความเป็นปุถุชน กับความเป็นอริยบุคคล  โดยสรุปวิสุทธิข้อนี้ก็คือ วิปัสสนาญาณ
                . ญาณทัสสนวิสุทธิ  ความหมดจดแห่งญาณทัสสนะ  คือ  ความรู้ในอริยมรรค ๔ หรือ มรรคญาณอันเกิดจากโคตรภูตญาณ เป็นต้นไป  เมื่อมรรคเกิดขึ้นแล้ว  ผลจิตแต่ละอย่างย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆความเป็นพระอริยบุคคลย่อมเกิดเพราะวิสุทธิข้อนี้  เป็นอันบรรลุที่หมายสูงสุดแห่งไตรสิกขา
                วิสุทธิ  ๗  ข้อนี้มีผลตั้งแต่ข้อแรกสืบกันเรื่อย ๆ  จนถึงข้อสุดท้าย  จึงทำให้ผู้ปฏิบัติบรรลุนิพพานได้

อัฏฐกะ  หมวด ๘
อริยบุคคล ๘ (ผู้บรรลุธรรมวิเศษ ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคขึ้นไป)
. โสดาปัตติมรรค             พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค
. โสดาปัตติผล                 พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล
(ละสังโยชน์ ๓ ประการ คือ สักกายทิฎฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส)
. สกทาคามิมรรค            พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค
.  สกทาคามิผล                พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล
(ละสังโยชน์ ๓ ประการได้ และทำราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลงด้วย)
. อนาคามิมรรค               พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค
. พระอนาคามิผล            พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล
(มีศีล  สมาธิบริบูรณ์ และละสังโยชน์ได้อีก ๒ คือ กามราคะและปฏิฆะ)
. อรหัตตมรรค                 พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค
.พระอรหัตตผล               พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล
(พระอรหันต์ มีศีล สมาธิ ปัญญา บริบูรณ์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ประการได้)
อวิชชา ๘  (ความไม่รู้แจ้ง, ความไม่รู้จริง)
. ความไม่เข้าใจเรื่องทุกข์  คือ ไม่เข้าใจในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ว่ามาจากสาเหตุอะไร
. ความไม่รู้ในเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์  คือไม่เข้าใจในสาเหตุของทุกข์ที่เกิดจากตัณหา และอุปาทาน
. ความไม่รู้ในความดับทุกข์  คือ ไม่รู้ว่า เมื่อเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาดับไป ความทุกข์จึงดับไป
.ความไม่รู้ในข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์คือไม่รู้ว่าจะดับทุกข์ด้วยวิธีไหนเพราะไม่เข้าใจในมรรค
. ไม่รู้จักอดีต คือ ไม่รู้จักสาเหตุที่ทำให้เกิดผลในปัจจุบัน เช่น คนตัดไม้ทำลายป่าจนหมด ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ ตามมา เช่นฝนแล้งเป็นต้น คนไม่รู้สาเหตุก็เชื่อว่าเป็นเพราะเทพเจ้าลงโทษ  ซึ่งเป็นความเชื่อที่ไร้สาระ
. ไม่รู้จักอนาคต คือไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำไปขณะนี้ จะเป็นผลกระทบต่อลูกหลานในภายหน้าอย่างไรบ้าง
. ไม่รู้จักทั้งในอดีตและในอนาคต  คือไม่รู้ไม่เข้าใจถึงเหตุและผลอันเป็นมาจากอดีตจนส่งผลไปถึงอนาคต
. ไม่รู้จักปฎิจจสุปบาท  คือไม่เข้าถึงหมู่ธรรมหรือกลุ่มธรรม  ที่เกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของกันและกัน เช่น  ไม่รู้ว่าสิ่งนี้มีได้ ก็เพราะสิ่งนี้เป็นปัจจัย  เพราะเหตุนั้น  สภาวธรรมที่เกิดขึ้นโดยเป็นปัจจัยของกันและกันจึงเรียกชื่อว่า  ปฏิจจสมุปบาท
อวิชชา  ๘  นั้น จะดับไปได้ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติตามมรรคมีองค์ ๘ ประการให้ต่อเนื่องกัน.
วิชชา ๘ (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ)
. วิปัสสนาญาณ  ได้แก่ ความรู้ที่นับเข้าในวิปัสสนา คือ ปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขาร คือ นามรูปโดยเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา เป็นต้น
. มโนมยิทธิ  ฤทธิ์ทางใจ ได้แก่ สามารถนิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ได้เพียงแต่นึกเท่านั้น เปรียบเหมือนชักดาบออกจากฝัก คิดสิ่งใด ก็สามารถสำเร็จได้ตามความคิดทุกประการ
. อิทธิวิธิ  แสดงฤทธิ์ได้ เช่น แสดงตนให้เป็นหลายคนได้ หายตัวได้ ดำดินได้ เป็นต้น
. ทิพพโสต  มีหูทิพย์ คือ สามารถที่จะฟังเสียงได้ทั้งไกลและใกล้ ซึ่งสามัญชนไม่สามารถได้ยิน
. เจโตปริยญาณ  รู้จักกำหนดใจผู้อื่น คือ สามารถที่จะทายใจผู้อื่นได้ว่าคิดยังไง
. เพนิวาสานุสสติญาณระลึกชาติในหนหลังได้คือ สามารถระลึกได้ว่า ในชาติที่ผ่านมาตนเป็นใคร
. ทิพพจักษุ  ตาทิพย์ คือ สามารถมองได้ในที่ไกลเมื่อกำหนดจะมอง หรือมองกรรมของสัตว์
. อาสวักขยญาณ  ญาณที่ทำให้สิ้นอาสวะ คือ ความรู้ในอริยสัจ ๔ ที่สามารถทำให้สิ้นอาสวะได้.
วิชชาทั้ง ๘ นี้ ๗ ประการเบื้องต้นเป็นฝ่ายโลกิยะ ส่วนข้อที่ ๘ เป็นโลกุตตระ.

สมาบัติ ๘ การบรรลุธรรมชั้นสูง ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง
รูปฌาน ๔                                                                             อรูปฌาน ๔         
. ปฐมฌาน                                                                         . อากาสานัญจายตนะ
. ทุติยะฌาน                                                                      . วิญญาณัญจายตะ
. ตติยฌาน                                                                         . อากิญจัญยายตนะ
. จตุตถฌาน                                                                      . เนวสัญญานาสัญญายตนะ

นวกะ  หมวด ๙
พุทธคุณ ๙  (คุณความดีของพระพุทธเจ้า)
. อรหํ  เป็นพระอรหันต์ หมายถึง พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลส เป็นผู้ควรแก่การสั่งสอนผู้อื่น ควรแก่การได้รับความเคารพบูชา
. สมฺมาสมฺพุทฺโธ  เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ หมายถึง ตรัสรู้อริยสัจได้ด้วยพระองค์เอง
. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน  เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ  หมายถึง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาความรู้และจรณะความประพฤติ
. สุคโต เป็นเสด็จไปดีแล้ว  หมายถึง พระองค์ทรงดำเนินพุทธจริยาให้เกิดผลประโยชน์แก่สรรสัตว์ด้วยดี และแม้ปรินิพพานแล้วก็ได้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา
. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก หมายถึง ทรงทราบสภาวะอันเป็นความจริงของสิ่งทั้งปวง
. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกบุรุษ ไม่มีใครยิ่งกว่า หมายถึง เป็นผู้ฝึกคนอื่นได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียบเท่า ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นใคร สอนตั้งแต่มหาโจร คนสามัญ เจ้าลัทธิศาสนา จนถึงกษัตริย์
. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย หมายถึง ทรงเป็นครูสอนทั้งเทวดาและมนุษย์ให้บรรลุคุณธรรม
. พุทฺโธ  เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว หมายถึงทรงเป็นผู้ตื่นจากการปฏิบัติที่นับถือกันมาแบบผิดๆ
. ภควา ทรงเป็นผู้มีโชค หมายถึง ไม่ว่าพระองค์จะทำอะไรก็ตาม ล้วนแต่ประสบผลสำเร็จทุกประการ เช่น ทรงหวังโพธิญาณก็สำเร็จ แม้ถึงมีผู้คิดร้ายก็ไม่อาจทำอันตรายได้.
พระพุทธคุณทั้ง ๙ ประการนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า   นวารหาทิคุณ.
มานะ ๙  (ความถือตัว)
. เป็นผู้เลิศกว่าเขา          สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
. เป็นผู้เลิศกว่าเขา         สำคัญตัวว่าเสมอเขา
. เป็นผู้เลิศกว่าเขา          สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
. เป็นผู้เสมอเขา            สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
. เป็นผู้เสมอเขา            สำคัญตัวว่าเสมอเขา
. เป็นผู้เสมอเขา             สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
. เป็นผู้เลวกว่าเขา          สำคัญตัวว่าเลิศกว่าเขา
. เป็นผู้เลวกว่าเขา          สำคัญตัวว่าเสมอเขา
. เป็นผู้เลวกว่าเขา           สำคัญตัวว่าเลวกว่าเขา
ข้อ  ๑, ,๗ มีความหมายถึงลักษณะของผู้มีความทะนงตัวว่า ตนเองนี้ไม่มีใครเสมอเหมือน
ข้อ ๒,,๘ เป็นเหตุให้ตีตนเสมอคนอื่น และเป็นการยกตนข่มท่าน พร้อมทั้งสร้างความตกต่ำให้ตัวเอง
ข้อ ๓,,๙ เป็นลักษณะของบุคคลที่ถ่อมตัวหรือคนดูถูกตัวเอง ทำให้ขาดความเชื่อมั่นในตัวเอง.
โลกุตตรธรรม ๙  (สภาวธรรมพ้นจากโลก)
. โสดาปัตติมรรค                                             โสดาปัตติผล
. สกทาคามิมรรค                                             สกทาคามิผล
. อนาคามิมรรค                                               อนาคามิผล
. อรหัตตมรรค                                                 อรหัตตผล
วิปัสสนาญาณ ๙ (ญาณในวิปัสสนา)
. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณอันตามเห็นความเกิดและความดับ หมายถึงมีความรู้พิจารณาเห็นการเกิดขึ้นและความดับไปของขันธ์ ๕ และพิจารณาเห็นไปจนถึงว่า สิ่งทั้งหลายก็มีการเกิดการดับไปด้วยทุกอย่าง
. ภังคานุปัสสณาญาณ ญาณอันตามเห็นความดับ หมายถึงรู้เห็นชัดซึ่งความไม่เที่ยงแท้ของสภาวธรรมทั้งปวงว่าต้องมี เสื่อมสลายไปทุกอย่าง
. ภยตูปัสสนาญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว หมายถึงได้พิจารณาเห็นว่าสังขารทั้งหลายทั้งปวงที่มีปรากฏขึ้น ล้วนแต่มีการแตกสลายไปในที่สุดทั้งนั้น  ไม่มีสิ่งใดยั่งยืนถาวรได้เลย เมื่อรู้อย่างนี้จึงเกิดความกลัว
. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงถึงการเห็นโทษ หมายถึง เมื่อพิจารณาเห็นสภาวะความเป็นไปของสังขารดังข้อ ๓ นั้นแล้ว ก็เห็นโทษของการเกิดอีก ซึ่งมีความทุกข์ร่ำไป ไม่รู้สร่าง
. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นว่า สังขารเป็นโทษนั้นแล้วก็เกิดความเบื่อหน่าย ไม่ยินดีเพลิดเพลินอีกต่อไป
. มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย หมายถึง เมื่อเห็นความเป็นไปของสังขารดังที่กล่าวแล้ว จึงหาทางที่จะพ้นไปเสีย จึงกำหนดหาอุบายที่จะทำตนให้พ้นไป ด้วยการพิจารณาด้วยหลักไตรลักษณ์
. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อได้พิจารณาสังขารโดยละเอียดแล้ว ก็ได้ความจริงว่า ธรรมดาของสังขารย่อมเป็นเช่นนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้ายแล้วมุ่งปฏิบัติไปสู่พระนิพพาน เพราะเห็นว่านิพพานนั้นเป็นที่สงบ
. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ หมายถึง เมื่อไม่ใฝ่ใจยึดติดในสังขารทั้งหลายแล้ว ญาณย่อมพิจารณามุ่งตรงไปหานิพพาน
วิปัสสนาญาณเหล่านี้  จะมีเหตุต่อเนื่องถึงกันไปตั้งแต่ต้น จนถึงสุดท้ายตามลำดับ คือ
ครั้งแรกได้เห็นเหตุคือความเกิดและดับของสังขาร ต่อไปก็เห็นความสลาย - เกิดความกลัว - เห็นโทษ - แล้วเบื่อหน่าย - ใคร่อยากจะพ้น - หาทางพ้น - ปลงใจได้ - แล้วหยั่งรู้อริยสัจ.

สังฆคุณ ๙ (คุณของพระสงฆ์)
. สุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทาและปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
. อุชุปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง คือ ไม่หลอกผู้อื่นเลี้ยงชีพ ไม่มีมายาสาไถย
. ญายปฏิปันโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง คือ ปฏิบัติเพื่อความรู้ในธรรม เพื่อออกจากทุกข์
.สามีจิปฏิปันโนเป็นผู้ปฏิบัติสมควรคือปฏิบัติชอบน่านับถือสมควรแก่สามีจิกรรมของมหาชทั่วไป
(๔ ข้อ ข้างต้นนี้จัดเป็น อัตตหิตคุณ คือเป็นข้อปฏิบัติดีที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติได้รับผล)
. อาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่การคำนับ คือ ท่านเป็นผู้ควรจะได้รับการสักการะต่างๆ ที่เขานำมาถวาย
. ปาหุเนยโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ คือ เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ เพราะท่านปฏิบัติดีงาม
. ทักขิเณยโย เป็นผู้ควรแก่ของทำบุญ คือ สมควรที่จะได้รับของที่เขานำมาถวาย
. อัญชลีกรณีโยเป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลีคือท่านเป็นผู้มีคุณธรรมสูงทำให้ผู้กราบไหว้มีความสุขใจ
. อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญของโลก คือ คนที่ทำบุญกับท่านจะมีผลมาก.
(๕ ข้อหลังนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจาก๔ข้อข้างต้นเพราะเมื่อ๔ข้อต้นบริสุทธิ์ท่านจึงจะได้ผลเหล่านี้มา)

ทสกะ หมวด ๑๐

บารมี ๑๐ (คุณความดีที่ได้บำเพ็ญมาอย่างยิ่งยวด เพื่อจุดหมายสูงสุด)
. ทานบารมี หมายถึง การให้เสียสละวัตถุ สิ่งของ เฉลี่ยแบ่งปันคนอื่น เพื่อกำจัดความตระหนี่ถี่เหนียวให้หมดไปจากใจ (พระพุทธเจ้าทำในชาติ  เป็นพระเวสสันดร)
. ศีลบารมี หมายถึง การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย มีความประพฤติดีงามถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่เบียดเบียนผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน (ทำในชาติ เป็นภูริทัตต์ )
. เนกขัมมบารมี หมายถึง การออกบวช การพรากตนออกจากกาม คือ ความหมกมุ่นในกามารมณ์ต่าง ๆ (ทำในชาติ เป็นเตมีย์)
. ปัญญาบารมี หมายถึง ความรอบรู้เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง พร้อมทั้งคุณและโทษ (ทำในชาติ  เป็นมโหสถ)
. วิริยบารมี หมายถึง ความเพียรพยายามบากบั่น ไม่ท้อถอย ไม่เกรงกลัวต่ออุปสรรคใดๆ เมื่อตั้งใจแล้วไม่เสร็จไม่เลิก (ทำในชาติ  เป็นมหาชนก)
. ขันติบารมี หมายถึง อดทนต่อความลำบากตรากตรำ อดทนต่อคำกล่าวเสียดสี คำติเตียนต่างๆ (ทำในชาติ  เป็นจันทรกุมาร)
. สัจจบารมี หมายถึง มีความสัตย์จริง เมื่อพูดแล้วต้องทำจริง ๆ จริงใจต่อสิ่งที่ได้ลั่นวาจาไว้แล้ว รักษาคำพูด แม้ตัวจะตายก็ยอม (ทำในชาติ  เป็นวิทูรย์)
. อธิษฐานบารมี หมายถึง ความตั้งใจมั่นในสัจจาอธิษฐาน ทำตามจุดหมาย ของตนที่ได้วางเอาไว้ (ทำในชาติ  เป็นเนมิราช)
. เมตตาบารมี หมายถึง ความรักใคร่ ปรารถนาดีต่อเพื่อนร่วมโลกทั้งหมด ขอให้เขามีความสุข กายสบายใจทุกตัวตน (ทำในชาติ เป็นสุวรรณสาม)
๑๐. อุเบกขาบารมี หมายถึง ความวางใจเป็นกลาง สม่ำเสมอ ไม่เอนเอียงไปด้วย ความรัก ความหลง ความชัง ความโกรธ ความกลัว (ทำในชาติ  เป็นนารทะ)
บารมี ๑๐ มี ๓ ระดับ (บารมี, อุปบารมี, และปรมัตถบารมี)
สัมมัตตะ ๑๐ ความเป็นของถูกต้องดีงาม
. สัมมาทิฎฐิ  ความเห็นชอบ ได้แก่ การเห็นอริยสัจ ๔ ประการ
. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ได้แก่ คิดไปในทางดี
. สัมมาวาจา วาจาชอบ ได้แก่ เว้นจากวจีทุจริต ๔  อย่าง มีการพูดเท็จ เป็นต้น
. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ ได้แก่  การละเว้นจากกายทุจริต ๓ มีการฆ่าสัตว์ เป็นต้น
. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ ได้แก่  ละการเลี้ยงชีวิตในทางผิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม
. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ได้แก่ พยายามไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นในจิตใจของตน
. สัมมาสติ ระลึกชอบ ได้แก่ ระลึกถึงแต่ความดี ที่ทำให้จิตใจตัวเองผ่องใสอยู่เสมอ
. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ ได้แก่ การตั้งใจบำเพ็ญเพียร ตามหลักสมถกรรมฐาน
. สัมมาญาณ ความรู้ที่ชอบ ได้แก่ สัจจญาณ, กิจจญาณ, กตญาณ หรือรู้ว่าอะไรถูกอะไรผิด
๑๐. สัมมาวิมุตติ ความหลุดพ้นชอบ ได้แก่ การเป็นพระอรหันต์ หมดกิเลสาสวะ.
สังโยชน์ ๑๐ (กิเลสอันผูกมัดใจสัตว์ไว้กับทุกข์)
. สักกายทิฏฐิ ความเห็นที่เป็นเหตุให้ถือตัว ได้แก่ เห็นว่าอัตภาพร่างกายนี้เป็นตัวตน เป็นตัวกู
. วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจ ได้แก่ ไม่แน่ใจว่าจะเชื่อศาสนาไหนดี จะเชื่อคำสอนของใครดี ลังเลอยู่ ไม่รู้ว่าจะเอาศาสนาไหน มัวแต่สงสัยอยู่ เลยหาที่พึ่งทางใจไม่ได้
. สีลัพพตปรามาส ความถือมั่นศีลพรตโดยสักว่าทำตาม ๆ กันไปอย่างงมงาย ได้แก่ การอ้อนวอนขอพรพระเจ้าที่ทำสืบๆ กันมา โดยที่ไม่รู้เลยว่าพระเจ้าเป็นใครมาจากไหน เป็นต้น
. กามราคะ ติดในรสของกาม ได้แก่ การยึดติดสิ่งของที่เห็นว่าสวยงาม เสียงไพเราะ เป็นต้น
. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งทางจิต ได้แก่ ความหงุดหงิด ความขัดเคืองภายในใจ
           สังโยชน์ ๕ ข้อนี้เป็นกิเลสเบื้องต่ำ มีชื่อเรียกว่า โอรัมภาคิยสังโยชน์ ใน ๕ ข้อนี้ ข้อ ๑, ๒ และ ๓ พระโสดาบันตัดได้ ข้อที่ ๔ และ ๕ พระสกทาคามี ทำให้เบาบางลงได้ แต่พระอนาคามีสามารถตัดได้
. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรม ได้แก่ ความติดในรูปธรรมอันประณีตที่มีได้ด้วยอารมณ์แห่งรูปฌาน
. อรูปราคะ ความติดใจในอารมณ์อรูปธรรม ได้แก่ ความติดใจในอรูปฌาน หรือติดใจในอรูปภพ
. มานะ  ความถือตัว  ได้แก่ มานะทั้ง ๙ อย่าง
. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน ได้แก่ ความคิดไปเรื่อย ๆหาสาระมิได้ เป็นการสร้างวิมานในอากาศ
๑๐. อวิชชา   ความไม่รู้  ได้แก่ ความไม่รู้ในอริยสัจ๔ ถือเป็นอันสำคัญที่สุดในสังโยชน์ ๑๐
สังโยชน์ข้อที่ ๖, , , ๙ และ ๑๐  จัดเป็นกิเลสเบื้องสูง มีชื่อเรียกว่า อุทธัมภาคิยสังโยชน์ ๆ นี้พระอรหันต์สามารถตัดได้โดยสิ้นเชิง.

ทวาทสกะ  หมวด ๑๒
กรรม ๑๒
การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ดีก็ตามชั่วก็ตามในที่นี้หมายเอากรรมแต่ละประเภทที่ให้ผลต่างกัน
หมวดที่ ๑ ให้ผลตามกาลเวลา
. ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม  กรรมที่ให้ผลในชาตินี้
. อุปัชชเวทนียกรรม  กรรมที่ให้ผลในชาติหน้า
. อปราปรเวทนียกรรม  กรรมที่ให้ผลในชาติต่อ ๆ ไป
. อโหสิกรรม  กรรมที่เลิกให้ผลแล้ว ไม่มีผลอีก
หมวดที่ ๒ ให้ผลตามกิจ คือ ตามหน้าที่ของตนๆ
. ชนกกรรม กรรมแต่งให้เกิด กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด
. อุปัตถกรรม กรรมที่มาสนับสนุนซ้ำเติมต่อจากชนกกรรม
. อุปปีฬกกรรม กรรมบีบคั้น ตัดผลดีที่พอจะได้เสีย
. อุปปฆาตกรรม กรรมตัดรอนให้เสียผลประโยชน์ เช่น เป็นลูกเศรษฐี มีปัญญาดี แต่อายุสั้น
หมวดที่ ๓ กรรมให้ผลตามลำดับ คือ ความหนักเบาของกรรมนั้น
. ครุกรรม  กรรมที่ให้ผลหนักที่สุด ได้แก่ อนันตริยกรรม
๑๐. พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม  กรรมที่ทำมามากให้ผลรองลงมาจากครุกรรม
๑๑. อาสันนกรรม  กรรมที่ทำเมื่อจวนเจียนเวลาจะตาย ยังติดตาติดใจใหม่ ๆ อยู่
๑๒. กตัตตากรรม  กรรมที่ทำเพียงสักว่าทำ เพราะไม่มีเจตนาหรือมีน้อย เช่น เราเดินทางเหยียบมดดำ มดแดง ตายโดยไม่รู้ตัว เมื่อไม่มีกรรมอื่นให้ผลจริงๆ กรรมนี้ก็จะให้ผล.

เตรสกะ  หมวด ๑๓
ธุดงค์ ๑๓
(ข้อปฏิบัติประพฤติวัตรที่ผู้สมัครใจสมาทานประพฤติ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส)
หมวดที่ ๑ เกี่ยวกับจีวร
. บังสุกูลิกังคะ ผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร คือ การไม่ยอมรับจีวรที่เขาถวาย ชอบเที่ยวแสวงหาเอาผ้าบังสุกุล คือ เศษผ้า ผ้าห่อศพ ท่านจะไปเก็บเอามาซักแล้วเย็บทำเป็นจีวร คำสมาทานว่าดังนี้  คหปติจีวรํ
ปฏิกฺขิปามิ, ปสุกูลิกงฺคํ สมาทิยามิ
. เตจีวริกังคะ ผู้ถือเพียงไตรจีวรเป็นวัตร คือ การใช้ผ้าไตรจีวรของตน ๓ ผืนเท่านั้น มีคำสมาทานว่า จตุตฺตถจีวรํ ปฏิกฺขิปามิ, เตจีวรีกงฺคํ สมาทิยามิ
หมวดที่ ๒ เกี่ยวกับบิณฑบาต
. ปิณฑปาติกังคะ ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ  การไม่ยอมรับกิจนิมนต์ไปฉันตามบ้านฉันเฉพาะอาหารบิณฑบาตเท่านั้น สมาทานว่า  อติเรกลาภํ ปฏิกฺขามิ ปิณฺฑปาติกงฺคํ สมาทิยามิ
. สปาทานจาริกังคะ ผู้ถือการบิณฑบาตไปตามลำดับบ้านเป็นวัตร คือ การไม่เที่ยวบิณฑบาตไปที่โน้นบ้างที่นี้บ้างตามชอบใจ มีคำสมาทานว่า โลลุปฺปจารํ ปฏิกฺขิปามิ, สปทานจาริกงฺคํ สมาทิยามิ
. เอกาสนิกังคะ  ถือการนั่งฉันครั้งเดียวเป็นวัตร คือฉันวันละครั้ง ถ้าได้ลุกจากอาสนะแล้วจะไม่ฉันอีก มีคำสมาทานว่า นานาสนโภชนํ ปฎิกฺขิปามิ,เอกาสนกงฺคํ สมาทิยามิ
. ปัตตปิณฑิกังคะ ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร คือ มีอาหารหวานคาวก็เอาใส่ในบาตรแล้วก็ฉันไม่ต้องใส่ถ้วยจานให้ยาก มีคำสมาทานว่า ทุติยภาชนํ ปฏิกฺขิปามิ,ปตฺตปิณฺฑิกงฺคํ สมาทิยามิ
. ขลปัจฉาภัตติกังคะ ถือการไม่รับภัตที่เขานำมาถวายภายหลัง  คือ เมื่อตั้งใจจะลงมือฉันแล้วเมื่อมีคนเอาอาหารมาเพิ่มอีก จะไม่รับ มีคำสมาทานว่า อติริตฺตโภชนํ ปฎิกฺขิปามิ,ขลฺปจฺฉาภตฺติกงฺคํ สมาทิยามิ
หมวดที่ ๓ เกี่ยวเสนาสนะ
. อารัญญิกังคะ ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร คือ การอยู่ในป่าห่างจากบ้าน ๒๕ เส้น มีคำสมาทานว่า คามนฺตเสนาสนํ ปฏิกฺขิปามิ,การญญิกงฺคํ สมาทิยามิ
. รุกขมูลิกังคะ  ถือการอยู่โคนต้นไม้เป็นวัตร คือ ฝนจะตก แดดจะออก ก็ขออยู่โคนต้นไม้ไม่เข้าไปอยู่ในกุฎิวิหาร มีคำสมาทานว่า ฉนนํ ปฎิกฺขิปามิ,รุกฺขมูลิกํ สมาทิยามิ
๑๐. อัพโภกาสิกังคะ ถือการอยู่ที่แจ้งเป็นวัตร คือการไม่เข้าร่มไม้ชายคาที่มุมบัง มีคำสมาทานว่า ฉนฺนญฺจ รุกฺขมูลญฺจ ปฏิกฺขิปามิ, อพโภกาสิกงฺคํ สมาทิยามิ
๑๑. โสสานิกังคะ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร คือ อยู่เฉพาะในป่าช้า ไม่อยู่ที่อื่น มีคำสมาทานว่า อสุสานํ  ปฏิกฺขิปามิ, โสสานิกงฺคํ สมาทิยามิ
๑๒. ยถาสันถติกังคะ ถือการอยู่ในเสนาสนะแล้วแต่เขาจะจัดให้ คือเขาจัดให้อยู่ดีก็อยู่ จัดให้ไม่ดีก็อยู่อย่างนั้นไม่ว่า แล้วแต่คนจัดมีคำสมาทานว่า เสนาสนโลลุปฺปํ ปฏิกฺขิปามิ, ยถาสนฺถิตกงฺคํ สมาทิยามิ
หมวดที่ ๔ เกี่ยวกับความเพียร
๑๓. เนสัชชิกังคะ ผู้ถือการนั่งเป็นวัตร คือ ไม่นอนเลย อยู่ด้วยการยืน เดิน นั่ง ๓ อิริยาบถนี้เท่านั้น มีคำสมาทานว่า เสยฺยํ ปฏิกฺขิปามิ, เนสชฺชิกงฺคํ  สมาทิยามิ
    ธุดงควัตรนี้ มีส่วนช่วยให้เกิดความมักน้อยสันโดษยินดีที่สงัด ช่วยเพิ่มพูนอริยมรรค คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะ ให้สูงขึ้น.

ปัณณรสกะ หมวด ๑๕

จรณะ ๑๕ (ข้อปฏิบัติอันเป็นทางให้บรรลุถึงวิชชา หรือ พระนิพพาน)
. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ ความประพฤติถูกต้องดีงาม มีมารยาทเรียบร้อย
. อินทริยสัมปทา ถึงพร้อมด้วยอินทรีย์ คือ การสำรวม ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความกำหนัดขัดเคืองลุ่มหลงมัวเมาในอินทรีย์เหล่านั้น
. โภชเนมัตตัญญุตา รู้จักพอดีในการบริโภคอาหาร คือไม่ทานมากเกินไป ไม่น้อยเกินไป บริโภคพอให้มีกำลังในการประกอบการงาน และปฏิบัติธรรมได้
. ชาคริยานุโยค ประกอบความเพียรของผู้ตื่นอยู่  คือ ไม่เห็นแก่นอนมากเกินไป ไม่ยอมให้ความง่วงนอนเข้าครอบงำ
. สัทธา ความเชื่อ คือ เชื่อความมีอยู่ของกรรม เชื่อผลของกรรม
. หิริ ความละอายแก่ใจ คือ ละอายในการทำบาปทั้งในที่แจ้งทั้งในที่ลับ ทั้งที่เป็นวจีทุจริต มโนทุจริต และกายทุจริต
. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อบาป ความกลัวต่อการกระทำชั่วทุกอย่าง
. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ฟังมาก คือได้รับการศึกษามามาก ได้ยินได้ฟังมามาก ทรงจำ พิจารณาและแทงตลอดถึงปัญหาด้วยปัญญาของตนเองได้
. วิริยะ ความเพียร คือ ความขยันหมั่นเพียรทั้งที่เป็นไปทางกายและทางจิต เพียรละบาปอกุศล เพียรทำกุศล
๑๐.สติ ความระลึกได้คือสามารถระลึกถึงเรื่องที่ทำคำพูดทั้งในขณะก่อนทำ หลังทำ ก่อนพูด หลังพูด
๑๑. ปัญญา ความรอบรู้ คือ ความรอบรู้ในกองสังขารตามความเป็นจริง รู้เหตุปัจจัยแห่งความเกิดดับของสังขาร สามารถทำลายกิเลส ทำให้ตนหลุดพ้นจากทุกข์ได้
๑๒. ปฐมญาน มีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตา
๑๓. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ คือ ปิติ สุข เอกัคคตา
๑๔. ตติยฌาน มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
๑๕. จตุตถฌาน  มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตา
จรณะทั้ง ๑๕ ประการนี้ ในบาลีท่านว่าเป็นเสขปฏิปทา คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นทางดำเนินของพระเสขะ.                    




























ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น